นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานพิธีลงนามโครงการนำร่องพัฒนาการบริการเดินรถไฟกรุงเทพฯ-หัวหิน ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการลงนามดังกล่าวเป็นความร่วมมือปรับปรุงสภาพสถานีหัวหินให้มีความทันสมัยเพิ่มขึ้นแต่ยังคงรักษาความงดงามของสถาปัตยกรรมแบบเดิมไว้ ขณะเดียวกัน จะมีการออกแบบขบวนรถให้มีความสวยงามน่าเดินทาง ซึ่งงานตกแต่งพื้นที่ทั้งหมดคณะสถาปัตยกรรม จุฬาฯ จะเป็นผู้ดูแลการดำเนินการ
นายโสภณ กล่าวว่า การลงนามวันนี้ถือเป็นโครงการที่สำคัญต่อการพัฒนากิจการรถไฟไทย โดยเบื้องต้นจะนำร่องปรับปรุงสถานีหัวหิน ซึ่งเป็นเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินและเป็นที่ตั้งของพระราชวังไกลกังวล การตกแต่งให้สถานีมีความสวยงามทันสมัยก็จะเป็นการนำร่องก่อนขยายไปยังสถานีอื่นทั่วทุกภูมิภาค โดยกระทรวงคมนาคมมีนโยบายชัดเจนว่าขอให้ รฟท.ปรับปรุงงานบริการและภาพลักษณ์ให้ทันสมัย จากเดิม รฟท.อาจติดภาพลักษณ์ไม่ทันสมัย การเดินทางไม่คุ้มทุน และการพัฒนาที่เป็นไปอย่างล่าช้า แต่หลังจากนี้ขอให้ฝ่ายบริหารเร่งเดินหน้าปรับปรุงกิจการให้มีความทันสมัยมากขึ้นโดยต้องอาศัยทุกฝ่ายถือเป็นการพัฒนากิจการรถไฟเพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมยังกล่าวถึงแนวทางแก้ไขปัญหารถไฟ เช่น ปัญหาจุดตัดทางรถไฟ โดยกระทรวงคมนาคมเห็ชอบตามที่ฝ่ายบริหารและคณะกรรมการ รฟท.เสนอมา โดยจะมีการจัดสรรงบประมาณเร่งด่วนจากโครงการไทยเข้มแข็งวงเงิน 400 ล้านบาท เพื่อสร้างเครื่องกั้นในจุดตัดถนนกับรางรถไฟกว่า 100 จุดทั่วประเทศ ที่เคยมีรายงานด้านอุบัติเหตุ เมื่อกระทรวงคมนาคมเห็นชอบก็จะเสนอให้สำนักงบประมาณและ สศช.พิจารณาความเหมาะสมต่อไป ส่วนการเดินรถให้ตรงตามเวลานั้น เสนอแผนจัดซื้อหัวรถจักรอีก 8 คัน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอรัฐบาล เชื่อว่าโครงการเหล่านี้จะช่วยพัฒนากิจการรถไฟให้ทันสมัยและมีคุณภาพมากขึ้น
นายโสภณ กล่าวว่า การลงนามวันนี้ถือเป็นโครงการที่สำคัญต่อการพัฒนากิจการรถไฟไทย โดยเบื้องต้นจะนำร่องปรับปรุงสถานีหัวหิน ซึ่งเป็นเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินและเป็นที่ตั้งของพระราชวังไกลกังวล การตกแต่งให้สถานีมีความสวยงามทันสมัยก็จะเป็นการนำร่องก่อนขยายไปยังสถานีอื่นทั่วทุกภูมิภาค โดยกระทรวงคมนาคมมีนโยบายชัดเจนว่าขอให้ รฟท.ปรับปรุงงานบริการและภาพลักษณ์ให้ทันสมัย จากเดิม รฟท.อาจติดภาพลักษณ์ไม่ทันสมัย การเดินทางไม่คุ้มทุน และการพัฒนาที่เป็นไปอย่างล่าช้า แต่หลังจากนี้ขอให้ฝ่ายบริหารเร่งเดินหน้าปรับปรุงกิจการให้มีความทันสมัยมากขึ้นโดยต้องอาศัยทุกฝ่ายถือเป็นการพัฒนากิจการรถไฟเพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมยังกล่าวถึงแนวทางแก้ไขปัญหารถไฟ เช่น ปัญหาจุดตัดทางรถไฟ โดยกระทรวงคมนาคมเห็ชอบตามที่ฝ่ายบริหารและคณะกรรมการ รฟท.เสนอมา โดยจะมีการจัดสรรงบประมาณเร่งด่วนจากโครงการไทยเข้มแข็งวงเงิน 400 ล้านบาท เพื่อสร้างเครื่องกั้นในจุดตัดถนนกับรางรถไฟกว่า 100 จุดทั่วประเทศ ที่เคยมีรายงานด้านอุบัติเหตุ เมื่อกระทรวงคมนาคมเห็นชอบก็จะเสนอให้สำนักงบประมาณและ สศช.พิจารณาความเหมาะสมต่อไป ส่วนการเดินรถให้ตรงตามเวลานั้น เสนอแผนจัดซื้อหัวรถจักรอีก 8 คัน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอรัฐบาล เชื่อว่าโครงการเหล่านี้จะช่วยพัฒนากิจการรถไฟให้ทันสมัยและมีคุณภาพมากขึ้น