ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึงและกลุ่มอนุรักษ์บ้านกรูดประมาณ 120 คน นำโดยนางจินตนา แก้วขาว แกนนำกลุ่มอนุรักษ์บ้านกรูด นายวิฑูรย์ บัวโรย ประธานกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง นายสุพจน์ ส่งเสียง รองประธานกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง เดินทางมาที่ศูนย์บริหารจัดการและส่งเสริมสิ่งแวดล้อม และศูนย์ประสานงานและรับเรื่องร้องเรียน เครือสหวิริยา หมู่ 4 บ้านท่าขาม ต.แม่รำพึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยยื่นหนังสือขอให้ผู้บริหารศูนย์บริหารจัดการและส่งเสริมสิ่งแวดล้อมในเครือสหวิริยา ตอบข้อข้องใจของชาวบ้านที่มีส่วนได้เสียโดยรอบโครงการโรงถลุงเหล็กจำนวน 8 ข้อ ภายใน 15 วัน
สำหรับข้อสงสัยของชาวบ้านจำนวน 8 ข้อ ประกอบด้วย 1. การบุกรุกที่สาธารณะของโรงงานเดิม 2. กรณีปัญหาน้ำท่วมซึ่งเกิดจากถนนเส้นท่าเรือที่ตัดเข้ามาโรงงาน 3. ขอให้เปิดเผยการใช้เชื้อเพลิงของโรงงานเดิม และสารเคมีต่างๆ ที่ต้องใช้ในโรงงานใหม่ 4. กองเครื่องจักรเก่าบริเวณบ้านท่าขามและวนอุทยานคืออะไร 5.การมีพนักงานของเครือเข้าไปเป็นแกนนำคัดค้านพื้นที่ชุ่มน้ำ 6. การที่ชาวบ้านถูกแจ้งความข้อหาลักทรัพย์เพราะนำน้ำทิ้งของโรงงานไปให้นักวิชาการตรวจสอบ 7. กรณีคราบเขม่าสีดำที่นักท่องเที่ยวถ่ายได้บริเวณท่าเรือน้ำลึก และ 8. แนวทางการจัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังและช่วยเหลือสัตว์ทะเลหายาก วิธีการจัดตั้ง เป้าหมาย และบุคคลที่มีสิทธิรับเลือกซึ่งไม่มีความจำเป็น เพราะปัจจุบันมีเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเล
นายปกรณ์ ปุริมอติกานต์ รองประธานคณะกรรมการศูนย์บริหารจัดการและส่งเสริมสิ่งแวดล้อม เครือสหวิริยา กล่าวว่า นับเป็นนิมิตหมายที่ดีที่กลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึงได้เข้ามานำเสนอประเด็นที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรงงานและโครงการใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งต่อจากนี้ทางเครือสหวิริยาจะเร่งทำความเข้าใจและตอบหนังสือกลับไปยังกลุ่มชาวบ้านเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งอยากเห็นภาพการพูดคุยด้วยสันติวิธีเช่นนี้ไปตลอด และต้องการพัฒนาให้ไปสู่เวทีของการรับฟังความคิดเห็นที่มีหน่วยงานภาครัฐ เครือสหวิริยา และกลุ่มชาวบ้าน เข้ามาร่วมกันตรวจสอบโรงงาน
รองประธานคณะกรรมการศูนย์บริหารจัดการและส่งเสริมสิ่งแวดล้อม เครือสหวิริยา กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทางเครือสหวิริยาได้มีการทำความเข้าใจกับชาวบ้านมาโดยตลอดทั้งในการประชุมหมู่บ้าน และการลงไปพูดคุย โดยศูนย์ฯ สิ่งแวดล้อม และทีมมวลชนสัมพันธ์ แต่ก็ยอมรับว่ายังมีชาวบ้านบางส่วนที่ยังคงขาดความเข้าใจซึ่งจะได้เร่งตอบข้อสงสัยและทำความเข้าใจที่ดีต่อไปเพื่อร่วมแก้ไขด้วยกัน
สำหรับข้อสงสัยของชาวบ้านจำนวน 8 ข้อ ประกอบด้วย 1. การบุกรุกที่สาธารณะของโรงงานเดิม 2. กรณีปัญหาน้ำท่วมซึ่งเกิดจากถนนเส้นท่าเรือที่ตัดเข้ามาโรงงาน 3. ขอให้เปิดเผยการใช้เชื้อเพลิงของโรงงานเดิม และสารเคมีต่างๆ ที่ต้องใช้ในโรงงานใหม่ 4. กองเครื่องจักรเก่าบริเวณบ้านท่าขามและวนอุทยานคืออะไร 5.การมีพนักงานของเครือเข้าไปเป็นแกนนำคัดค้านพื้นที่ชุ่มน้ำ 6. การที่ชาวบ้านถูกแจ้งความข้อหาลักทรัพย์เพราะนำน้ำทิ้งของโรงงานไปให้นักวิชาการตรวจสอบ 7. กรณีคราบเขม่าสีดำที่นักท่องเที่ยวถ่ายได้บริเวณท่าเรือน้ำลึก และ 8. แนวทางการจัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังและช่วยเหลือสัตว์ทะเลหายาก วิธีการจัดตั้ง เป้าหมาย และบุคคลที่มีสิทธิรับเลือกซึ่งไม่มีความจำเป็น เพราะปัจจุบันมีเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเล
นายปกรณ์ ปุริมอติกานต์ รองประธานคณะกรรมการศูนย์บริหารจัดการและส่งเสริมสิ่งแวดล้อม เครือสหวิริยา กล่าวว่า นับเป็นนิมิตหมายที่ดีที่กลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึงได้เข้ามานำเสนอประเด็นที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรงงานและโครงการใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งต่อจากนี้ทางเครือสหวิริยาจะเร่งทำความเข้าใจและตอบหนังสือกลับไปยังกลุ่มชาวบ้านเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งอยากเห็นภาพการพูดคุยด้วยสันติวิธีเช่นนี้ไปตลอด และต้องการพัฒนาให้ไปสู่เวทีของการรับฟังความคิดเห็นที่มีหน่วยงานภาครัฐ เครือสหวิริยา และกลุ่มชาวบ้าน เข้ามาร่วมกันตรวจสอบโรงงาน
รองประธานคณะกรรมการศูนย์บริหารจัดการและส่งเสริมสิ่งแวดล้อม เครือสหวิริยา กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทางเครือสหวิริยาได้มีการทำความเข้าใจกับชาวบ้านมาโดยตลอดทั้งในการประชุมหมู่บ้าน และการลงไปพูดคุย โดยศูนย์ฯ สิ่งแวดล้อม และทีมมวลชนสัมพันธ์ แต่ก็ยอมรับว่ายังมีชาวบ้านบางส่วนที่ยังคงขาดความเข้าใจซึ่งจะได้เร่งตอบข้อสงสัยและทำความเข้าใจที่ดีต่อไปเพื่อร่วมแก้ไขด้วยกัน