โครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะทางสังคม (มีเดียมอนิเตอร์) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แถลงผลการศึกษาบทบาทสื่อฟรีทีวี การรายงานข่าวเศรษฐกิจในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ โดยนายธาม เชื้อสถาปนศิริ ผู้จัดการกลุ่มงานวิชาการ โครงการศึกษาฯ กล่าวว่า ผลสำรวจสัดส่วนรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาด้านเศรษฐกิจในฟรีทีวีทั้ง 6 ช่อง ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 2552 พบว่า มีรายการด้านเศรษฐกิจออกอากาศ 34 รายการ รวมเวลาออกอากาศ 32 ชั่วโมง 12 นาที ต่อสัปดาห์ เพิ่มขึ้นจากปี 2551 เป็น 1.7 เท่า
นอกจากนี้ ยังพบว่าการนำเสนอรายการเศรษฐกิจของทุกช่อง เน้นให้ข้อมูลข่าวสารในเนื้อหา 3 ประเภท คือ 1.ให้ข้อมูลข่าวสารผู้บริโภคเน้นการใช้เงินให้คุ้มค่า 2.ให้แนวทางหารายได้เน้นเฉพาะผู้ที่ประสบความสำเร็จ แต่ไม่เน้นการให้ความรู้ ทางรอดทางธุรกิจ และ 3.ชี้แจงนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล
นายธาม กล่าวว่า ผลการสำรวจยังพบว่ารูปแบบรายการเศรษฐกิจทางฟรีทีวีของไทยไม่เจาะลึก แต่จะใช้วิธีดึงข่าวจากต่างประเทศ ขาดการวิเคราะห์เศรษฐกิจระดับล่าง หลายช่อง เช่น ช่อง 3 ช่อง 5 และช่อง 7 ขาดความลึกทั้งข้อมูลและเนื้อหา ผู้ประกาศส่วนใหญ่สวมบทเป็นผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจเอง ขาดความเห็นจากนักวิชาการ และเป็นรายการข่าวเศรษฐกิจแบบฉาบฉวย
นอกจากนี้ ยังเน้นความหมายของเศรษฐกิจไปแค่เพียงผู้ผลิต ประกอบการหรือนักธุรกิจ ทั้งที่หน่วยเศรษฐกิจยังมีภาคส่วนอื่นๆ เช่น ผู้บริโภค แรงงานทั้งในและนอกระบบ ซึ่งปัจจุบันไม่มีพื้นที่ไร้อำนาจการต่อรอง แต่กลับเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบในวงกว้าง
สำหรับรายการที่เป็นกรณีการเล่าข่าว ไม่ควรวิเคราะห์โดยใช้ความรู้สึกหรือข่าวลือ ควรลดภาษาข่าวที่หวือหวาตื่นเต้นลง และเรียงลำดับเหตุการณ์หรือความสำคัญให้เหมาะสม เพราะข่าวเศรษฐกิจเป็นประเด็นที่มีผลกระทบต่อราคาสินค้าหรือชุมชน จำเป็นต้องระมัดระวังในการให้ข้อมูล ซึ่งการวิเคราะห์โดยใช้ความรู้สึกจะทำให้กลุ่มคนระดับรากหญ้า ความรู้น้อย เชื่อโดยไม่มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลที่แท้จริง และจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี
นอกจากนี้ ยังพบว่าการนำเสนอรายการเศรษฐกิจของทุกช่อง เน้นให้ข้อมูลข่าวสารในเนื้อหา 3 ประเภท คือ 1.ให้ข้อมูลข่าวสารผู้บริโภคเน้นการใช้เงินให้คุ้มค่า 2.ให้แนวทางหารายได้เน้นเฉพาะผู้ที่ประสบความสำเร็จ แต่ไม่เน้นการให้ความรู้ ทางรอดทางธุรกิจ และ 3.ชี้แจงนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล
นายธาม กล่าวว่า ผลการสำรวจยังพบว่ารูปแบบรายการเศรษฐกิจทางฟรีทีวีของไทยไม่เจาะลึก แต่จะใช้วิธีดึงข่าวจากต่างประเทศ ขาดการวิเคราะห์เศรษฐกิจระดับล่าง หลายช่อง เช่น ช่อง 3 ช่อง 5 และช่อง 7 ขาดความลึกทั้งข้อมูลและเนื้อหา ผู้ประกาศส่วนใหญ่สวมบทเป็นผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจเอง ขาดความเห็นจากนักวิชาการ และเป็นรายการข่าวเศรษฐกิจแบบฉาบฉวย
นอกจากนี้ ยังเน้นความหมายของเศรษฐกิจไปแค่เพียงผู้ผลิต ประกอบการหรือนักธุรกิจ ทั้งที่หน่วยเศรษฐกิจยังมีภาคส่วนอื่นๆ เช่น ผู้บริโภค แรงงานทั้งในและนอกระบบ ซึ่งปัจจุบันไม่มีพื้นที่ไร้อำนาจการต่อรอง แต่กลับเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบในวงกว้าง
สำหรับรายการที่เป็นกรณีการเล่าข่าว ไม่ควรวิเคราะห์โดยใช้ความรู้สึกหรือข่าวลือ ควรลดภาษาข่าวที่หวือหวาตื่นเต้นลง และเรียงลำดับเหตุการณ์หรือความสำคัญให้เหมาะสม เพราะข่าวเศรษฐกิจเป็นประเด็นที่มีผลกระทบต่อราคาสินค้าหรือชุมชน จำเป็นต้องระมัดระวังในการให้ข้อมูล ซึ่งการวิเคราะห์โดยใช้ความรู้สึกจะทำให้กลุ่มคนระดับรากหญ้า ความรู้น้อย เชื่อโดยไม่มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลที่แท้จริง และจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี