มีเดียมอนิเตอร์ ชี้ ช่อง 5 วางผังไม่ตรงกับพันธกิจ ช่อง 7 ยอมรายได้หด เพิ่มสัดส่วนรายการข่าว ลดไทอิน ลูกค้าหนีไปลงช่องอื่นแทน ส่งผลช่อง 3 คว้ารายได้จากโฆษณาสูงสุด ทิ้งช่อง 7มาตั้งแต่เดือนพ.ย.ปีก่อน แม้คนส่วนใหญ่ยังจ้องหน้าจอ 7 สีมากสุด
วานนี้(10มิ.ย.) สำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กับโครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม (มีเดียมอนิเตอร์) ได้มีการเผยผลการสำรวจผังรายการฟรีทีวี ตั้งแต่ช่วงเดือนก.พ.-เม.ย. 2552 เกี่ยวกับความถูกต้องกับการวิเคราะห์เนื้อหารายการโทรทัศน์ พิจารณารายการโทรทัศน์นั้นๆ ว่ามีรูปแบบรายการใด กลุ่มเป้าผู้ชมเป็นใคร มีกลุ่มประเภทเนื้อหาอย่างไร
นายธาม เชื้อสถาปนศิริ ผู้จัดการกลุ่มวิชาการ โครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม (มีเดียมอนิเตอร์) เปิดเผยว่า จากผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า กลุ่มเนื้อหารายการ ในส่วนของรายการข่าว พบมากสุดคือ ช่อง 11 มี 40.8% เฉลี่ย 9.2 ช.ม.ต่อวัน และลดรายการบันเทิงลงกว่าครึ่ง รองลงมาคือ ช่อง 3 มี 36.6% อันดับสาม คือช่องทีวีไทยมี 32% อันดับสี่ คือ ช่อง 9 มี 27.8 % โดยเป็นช่องเดียวที่มีรายการวิเคราะห์ข้าวอย่างแท้จริง อันดับห้า คือ ช่อง 7 มี 24.5% ซึ่งช่อง 7 มีการเพิ่มเวลาข่าวถึง 500 นาทีต่อสัปดาห์ด้วย และสุดท้ายคือ ช่อง 5 มี 20.8% ประมาณ 5ช.ม. ต่อวัน
ทั้งนี้จะเห็นว่า เมื่อดูถึงผังรายการและวัตถุประสงค์ของแต่ละช่องแล้ว ช่อง 3 และช่อง 7 เป็นช่องที่วางผังรายการได้ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ กับการเป็นสถานีโทรทัศน์เชิงพาณิชย์ ส่วนช่อง 9 ทำได้ดีในฐานะเป็นช่องรัฐวิสาหกิจ กับเรื่องของสังคมอุดมปัญญา ในการตอบสมองพลเมืองเชิงเศรษฐกิจ ส่วนช่องทีวีไทย ถือเป็นอีกช่องที่ยังมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้ตรงกับกฎหมายที่บัญญัติไว้ สำหรับช่อง 11 ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนถ่าย ถือว่าทำได้ดีกับรายการข่าวแม้จะถูกแทรกแซงจากการเมืองไปบ้าง
แต่ที่ผิดไปจากเป้าหมายที่วางไว้มากสุด คือ ช่อง 5 จะเห็นว่าผังรายการมีสัดส่วนรายการที่ไม่สอดคล้องกับพันธะกิจที่วางไว้ มุ่งไปทางบันเทิงจนเกินไป มองผู้ชมแบบเชิงพาณิชย์จนเกินไป ซึ่งในความเป็นจริงจะต้องทำหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนเป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม เมื่อมองถึงเม็ดเงินโฆษณาแล้ว ตั้งแต่เดือนก.พ.-เม.ย.ที่ผ่านมา ช่อง 3 กลับมีสัดส่วนรายได้โฆษณาเป็นอันดับหนึ่ง ประมาณ 30% รองลงมาคือ ช่อง 7 ที่มีสัดส่วนเกือบ 30% และอันดับสาม คือ ช่อง 5 มีประมาณ 20% ซึ่งช่อง 3 เริ่มมีรายได้โฆษณามากกว่าช่อง 7 ตั้งแต่ช่วงเดือนพ.ย.ปีที่ผ่านมา ติดต่อกันจนถึงเดือนปัจจุบัน แม้ว่าฐานผู้ชมจะมีน้อยกว่าช่อง 7 ซึ่งมีฐานผู้ชมสูงสุดก็ตาม
ด้านนางปิยรัตน์ บุณยะรัตเวช ผู้ช่วยผู้จัดการ ฝ่ายรายการ ตัวแทนจากสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 กล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้ช่อง 7 มีสัดส่วนรายได้โฆษณาที่ลดลงนั้น มาจาก 3 ปัจจัยหลัก คือ 1.ข้อกำหนดของภาครัฐในเรื่องของการวางสัดส่วนรายการ และช่วงเวลาในการนำเสนอ 2.นโยบายเป้าหมายของทางสถานี และ3.ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ และสังคมในปัจจุบัน ซึ่งมองว่าเป็นเรื่องของเศรษฐกิจเป็นหลัก ที่ส่งผลให้ช่อง 7 มีรายได้โฆษณาลดลง อีกทั้งผู้ใหญ่ทางสถานีฯ ก็ได้นำเอาข้อเสนอแนะจากหลายๆฝ่ายมาปรับใช้กับผังรายการใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเพิ่มรายการข่าว ลดรายการบันเทิงลง หรือเรื่องของการควบคุมโฆษณาแฝงในหลายๆรายการ ส่งผลให้ลูกค้าไม่พอใจและถอดโฆษณาออกไปใช้กับช่องอื่นแทน
วานนี้(10มิ.ย.) สำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กับโครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม (มีเดียมอนิเตอร์) ได้มีการเผยผลการสำรวจผังรายการฟรีทีวี ตั้งแต่ช่วงเดือนก.พ.-เม.ย. 2552 เกี่ยวกับความถูกต้องกับการวิเคราะห์เนื้อหารายการโทรทัศน์ พิจารณารายการโทรทัศน์นั้นๆ ว่ามีรูปแบบรายการใด กลุ่มเป้าผู้ชมเป็นใคร มีกลุ่มประเภทเนื้อหาอย่างไร
นายธาม เชื้อสถาปนศิริ ผู้จัดการกลุ่มวิชาการ โครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม (มีเดียมอนิเตอร์) เปิดเผยว่า จากผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า กลุ่มเนื้อหารายการ ในส่วนของรายการข่าว พบมากสุดคือ ช่อง 11 มี 40.8% เฉลี่ย 9.2 ช.ม.ต่อวัน และลดรายการบันเทิงลงกว่าครึ่ง รองลงมาคือ ช่อง 3 มี 36.6% อันดับสาม คือช่องทีวีไทยมี 32% อันดับสี่ คือ ช่อง 9 มี 27.8 % โดยเป็นช่องเดียวที่มีรายการวิเคราะห์ข้าวอย่างแท้จริง อันดับห้า คือ ช่อง 7 มี 24.5% ซึ่งช่อง 7 มีการเพิ่มเวลาข่าวถึง 500 นาทีต่อสัปดาห์ด้วย และสุดท้ายคือ ช่อง 5 มี 20.8% ประมาณ 5ช.ม. ต่อวัน
ทั้งนี้จะเห็นว่า เมื่อดูถึงผังรายการและวัตถุประสงค์ของแต่ละช่องแล้ว ช่อง 3 และช่อง 7 เป็นช่องที่วางผังรายการได้ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ กับการเป็นสถานีโทรทัศน์เชิงพาณิชย์ ส่วนช่อง 9 ทำได้ดีในฐานะเป็นช่องรัฐวิสาหกิจ กับเรื่องของสังคมอุดมปัญญา ในการตอบสมองพลเมืองเชิงเศรษฐกิจ ส่วนช่องทีวีไทย ถือเป็นอีกช่องที่ยังมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้ตรงกับกฎหมายที่บัญญัติไว้ สำหรับช่อง 11 ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนถ่าย ถือว่าทำได้ดีกับรายการข่าวแม้จะถูกแทรกแซงจากการเมืองไปบ้าง
แต่ที่ผิดไปจากเป้าหมายที่วางไว้มากสุด คือ ช่อง 5 จะเห็นว่าผังรายการมีสัดส่วนรายการที่ไม่สอดคล้องกับพันธะกิจที่วางไว้ มุ่งไปทางบันเทิงจนเกินไป มองผู้ชมแบบเชิงพาณิชย์จนเกินไป ซึ่งในความเป็นจริงจะต้องทำหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนเป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม เมื่อมองถึงเม็ดเงินโฆษณาแล้ว ตั้งแต่เดือนก.พ.-เม.ย.ที่ผ่านมา ช่อง 3 กลับมีสัดส่วนรายได้โฆษณาเป็นอันดับหนึ่ง ประมาณ 30% รองลงมาคือ ช่อง 7 ที่มีสัดส่วนเกือบ 30% และอันดับสาม คือ ช่อง 5 มีประมาณ 20% ซึ่งช่อง 3 เริ่มมีรายได้โฆษณามากกว่าช่อง 7 ตั้งแต่ช่วงเดือนพ.ย.ปีที่ผ่านมา ติดต่อกันจนถึงเดือนปัจจุบัน แม้ว่าฐานผู้ชมจะมีน้อยกว่าช่อง 7 ซึ่งมีฐานผู้ชมสูงสุดก็ตาม
ด้านนางปิยรัตน์ บุณยะรัตเวช ผู้ช่วยผู้จัดการ ฝ่ายรายการ ตัวแทนจากสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 กล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้ช่อง 7 มีสัดส่วนรายได้โฆษณาที่ลดลงนั้น มาจาก 3 ปัจจัยหลัก คือ 1.ข้อกำหนดของภาครัฐในเรื่องของการวางสัดส่วนรายการ และช่วงเวลาในการนำเสนอ 2.นโยบายเป้าหมายของทางสถานี และ3.ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ และสังคมในปัจจุบัน ซึ่งมองว่าเป็นเรื่องของเศรษฐกิจเป็นหลัก ที่ส่งผลให้ช่อง 7 มีรายได้โฆษณาลดลง อีกทั้งผู้ใหญ่ทางสถานีฯ ก็ได้นำเอาข้อเสนอแนะจากหลายๆฝ่ายมาปรับใช้กับผังรายการใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเพิ่มรายการข่าว ลดรายการบันเทิงลง หรือเรื่องของการควบคุมโฆษณาแฝงในหลายๆรายการ ส่งผลให้ลูกค้าไม่พอใจและถอดโฆษณาออกไปใช้กับช่องอื่นแทน