สหรัฐฯ ระบุในวันอังคาร (2) ว่าต้องการเดินหน้าอย่างแข็งกร้าวมากขึ้นเพื่อสะสางข้อขัดแย้งทางการค้ากับจีน ทั้งยังเตือนด้วยว่าจะไม่ลังเลใจหากต้องดึงยักษ์ใหญ่ของเอเชียเข้าไปตกลงกันในเวทีองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ)
รอน เคิร์ก ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ กล่าวในที่ประชุมสภาธุรกิจสหรัฐฯ-จีน ซึ่งมีตัวแทนจากบริษัทอเมริกันที่เข้าไปทำธุรกิจในจีนราว 250 แห่งเข้าร่วมงาน ว่าสหรัฐฯ จะเดินหน้าเจรจากับจีนก็ต่อเมื่อเห็นว่าเป็น "วิธีการที่เร็วที่สุด ดีที่สุด และมั่นใจได้มากที่สุด" ว่าจะแก้ปัญหาขัดแย้งทางการค้าระหว่างกันได้
"แต่ถ้าหากแนวทางที่เราต้องการใช้ใช้ไม่ได้ผลแล้ว เราจะไม่ลังเลใจที่จะใช้วิธีการอื่นๆ เช่น การใช้กลไกยุติข้อพิพาท เพื่อบังคับใช้ตามระเบียบข้อบังคับที่เป็นลายลักษณ์อักษร" เคิร์กกล่าว
"หากจำเป็นต้องร้องต่อดับเบิลยูทีโอ เราก็จะดำเนินการเช่นกัน" เคิร์กเสริมและอ้างถึงข้อขัดแย้งหลักๆ ระดับทวิภาคี 7 กรณีที่สหรัฐฯ ได้ร้องต่อดับเบิลยูทีโอไปแล้วด้วย
เคิร์กบอกอีกว่ามีหลายกรณีที่นโยบายด้านอุตสาหกรรมและการจัดซื้อจัดจ้างของจีน ตลอดจนกระบวนการเรื่องมาตรฐานและการออกใบอนุญาต โน้มเอียงเข้าข้างกิจการภายในประเทศหรือรัฐวิสาหกิจของจีน และกีดกันบริษัทต่างชาติ
นอกจากนั้นเขายังเสนอว่าจีนควรจะ "ปรับปรุงในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา และมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนด้านแรงงาน และความปลอดภัยของสินค้า" ด้วย
ทั้งนี้สหรัฐฯ ได้แสดงความวิตกอยู่บ่อยครั้งเกี่ยวกับปัญหาการเข้าถึงตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยสหรัฐฯ นั้นหวังที่จะลดปริมาณการขาดดุลกับจีนที่สะสมมาเป็นมูลค่ามหาศาล ส่วนพวก ส.ส. ก็กล่าวหาจีนมาเป็นเวลานานแล้วเรื่องการทำให้ค่าเงินหยวนต่ำกว่าความเป็นจริงเพื่อให้จีนส่งออกสินค้าได้ในราคาถูกกว่าสินค้าของสหรัฐฯ
รอน เคิร์ก ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ กล่าวในที่ประชุมสภาธุรกิจสหรัฐฯ-จีน ซึ่งมีตัวแทนจากบริษัทอเมริกันที่เข้าไปทำธุรกิจในจีนราว 250 แห่งเข้าร่วมงาน ว่าสหรัฐฯ จะเดินหน้าเจรจากับจีนก็ต่อเมื่อเห็นว่าเป็น "วิธีการที่เร็วที่สุด ดีที่สุด และมั่นใจได้มากที่สุด" ว่าจะแก้ปัญหาขัดแย้งทางการค้าระหว่างกันได้
"แต่ถ้าหากแนวทางที่เราต้องการใช้ใช้ไม่ได้ผลแล้ว เราจะไม่ลังเลใจที่จะใช้วิธีการอื่นๆ เช่น การใช้กลไกยุติข้อพิพาท เพื่อบังคับใช้ตามระเบียบข้อบังคับที่เป็นลายลักษณ์อักษร" เคิร์กกล่าว
"หากจำเป็นต้องร้องต่อดับเบิลยูทีโอ เราก็จะดำเนินการเช่นกัน" เคิร์กเสริมและอ้างถึงข้อขัดแย้งหลักๆ ระดับทวิภาคี 7 กรณีที่สหรัฐฯ ได้ร้องต่อดับเบิลยูทีโอไปแล้วด้วย
เคิร์กบอกอีกว่ามีหลายกรณีที่นโยบายด้านอุตสาหกรรมและการจัดซื้อจัดจ้างของจีน ตลอดจนกระบวนการเรื่องมาตรฐานและการออกใบอนุญาต โน้มเอียงเข้าข้างกิจการภายในประเทศหรือรัฐวิสาหกิจของจีน และกีดกันบริษัทต่างชาติ
นอกจากนั้นเขายังเสนอว่าจีนควรจะ "ปรับปรุงในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา และมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนด้านแรงงาน และความปลอดภัยของสินค้า" ด้วย
ทั้งนี้สหรัฐฯ ได้แสดงความวิตกอยู่บ่อยครั้งเกี่ยวกับปัญหาการเข้าถึงตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยสหรัฐฯ นั้นหวังที่จะลดปริมาณการขาดดุลกับจีนที่สะสมมาเป็นมูลค่ามหาศาล ส่วนพวก ส.ส. ก็กล่าวหาจีนมาเป็นเวลานานแล้วเรื่องการทำให้ค่าเงินหยวนต่ำกว่าความเป็นจริงเพื่อให้จีนส่งออกสินค้าได้ในราคาถูกกว่าสินค้าของสหรัฐฯ