วันนี้ (3 มิ.ย.) เมื่อเวลา 10.00 น. มีการประชุมคณะกรรมการสมานฉันท์ เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมีนายดิเรก ถึงฝั่ง เป็นประธาน ซึ่งที่ประชุมได้รับทราบผลการประชุมของคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางการปฏิรูปการเมือง โดยนายประเสริฐ ชิตพงษ์ ประธานคณะอนุกรรมการฯ รายงานว่า คณะอนุกรรมการฯ เสนอให้เพิ่มตัวแทนภาคประชาชนอย่างน้อย 2 คน เข้ามาเป็นคณะกรรมการสรรหาองค์กรตามรัฐธรรมนูญ เพราะปัจจุบันกรรมการสรรหาส่วนใหญ่อยู่วงการผู้หลักผู้ใหญ่ และต้องมีกลไกตรวจสอบกรรมการสรรหาได้
นอกจากนี้ อนุกรรมการฯ ยังเสนอว่า กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ควรยุติบทบาททันที เพราะเป็นการแต่งตั้งของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ไม่ได้มีการโปรดเกล้าฯ
นายประเสริฐ กล่าวว่า ควรมีกระบวนการในการตรวจสอบอำนาจการตัดสินใบแดงใบเหลืองของ กกต. และให้ยื่นให้ศาลเลือกตั้งวินิจฉัย หากพบการทุจริตเลือกตั้ง โดยให้บุคคลนั้นทำหน้าที่ได้ตามปกติจนกว่าศาลจะตัดสิน นอกจากนี้ ต้องเพิ่มให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดเลือกตั้งและตรวจสอบ กกต.ได้ ส่วนการยุบพรรคและตัดสิทธิ์หัวหน้าและกรรมการบริหารพรรค อนุกรรมการฯ เห็นว่า การยุบพรรคทำให้เกิดความอ่อนแอในการพัฒนาไปสู่การเป็นสถาบันการเมือง จึงเสนอว่าไม่ควรยุบพรรค ส่วนจะแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่ ให้คณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องศึกษาต่อไป อย่างไรก็ดี คณะอนุกรรมฯ เห็นว่า ยังควรคงโทษผู้ทำผิดอยู่
นอกจากนี้ ยังเสนอให้ปรับปรุงค่าตอบแทน สวัสดิการ เช่น ค่ารักษาพยาบาล บำเหน็จบำนาญ ของนักการเมืองให้ดำรงชีพอยู่ได้ ไม่ต้องไปประกอบอาชีพ หรือแสวงหาผลประโยชน์ทางอื่น
นอกจากนี้ อนุกรรมการฯ ยังเสนอว่า กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ควรยุติบทบาททันที เพราะเป็นการแต่งตั้งของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ไม่ได้มีการโปรดเกล้าฯ
นายประเสริฐ กล่าวว่า ควรมีกระบวนการในการตรวจสอบอำนาจการตัดสินใบแดงใบเหลืองของ กกต. และให้ยื่นให้ศาลเลือกตั้งวินิจฉัย หากพบการทุจริตเลือกตั้ง โดยให้บุคคลนั้นทำหน้าที่ได้ตามปกติจนกว่าศาลจะตัดสิน นอกจากนี้ ต้องเพิ่มให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดเลือกตั้งและตรวจสอบ กกต.ได้ ส่วนการยุบพรรคและตัดสิทธิ์หัวหน้าและกรรมการบริหารพรรค อนุกรรมการฯ เห็นว่า การยุบพรรคทำให้เกิดความอ่อนแอในการพัฒนาไปสู่การเป็นสถาบันการเมือง จึงเสนอว่าไม่ควรยุบพรรค ส่วนจะแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่ ให้คณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องศึกษาต่อไป อย่างไรก็ดี คณะอนุกรรมฯ เห็นว่า ยังควรคงโทษผู้ทำผิดอยู่
นอกจากนี้ ยังเสนอให้ปรับปรุงค่าตอบแทน สวัสดิการ เช่น ค่ารักษาพยาบาล บำเหน็จบำนาญ ของนักการเมืองให้ดำรงชีพอยู่ได้ ไม่ต้องไปประกอบอาชีพ หรือแสวงหาผลประโยชน์ทางอื่น