คณะกรรมการสมานฉันท์ เพื่อการปฏิรูปการเมือง และศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ สรุปกรอบแนวทางการสร้างความสมานฉันท์ ตามที่ นายตวง อันทะไชย ประอนุกรรมการสมานฉันท์เสนอ โดยมอบหมายให้รัฐสภาเป็นผู้ประสานงานกับสื่อมวลชน ให้เป็นเครือข่ายภาคีลดการเสนอข่าวความขัดแย้ง เพื่อประคับประคองประเทศ ให้เข้าสู่ภาวะปกติ ภายใต้หัวข้อ สื่อมวลชนในพื้นที่ สร้างความสมานฉันท์ และเวทีสร้างความสมานฉันท์ทางอากาศ และขณะนี้กำลังพิจารณาในข้อเสนอ ของการเจรจาเพื่อสันติ
ก่อนหน้านี้นายตวงเห็นว่า การดำเนินการควรประสานไปยังสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (เอ็นบีที) เพื่อถ่ายทอดสดการสัมมนา ระดมความเห็นจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนันผู้ใหญ่บ้าน นักวิชาการ และสมัชชาวิชาชีพต่างๆ พร้อมเปิดรับฟังความคิดเห็นทางเอสเอ็มเอส และทางโทรศัพท์ หลังจากนั้นจะนำความเห็นทั้งหมด มาประมวลเป็นข้อสรุป เพื่อใช้เป็นแนวทางการสร้างความสมานฉันท์ในสังคม
ขณะเดียวกันก็มีความคืบหน้า ในการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีการชุมนุมทางการเมือง โดยอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง การชุมนุมที่กระทรวงมหาดไทย และศาลรัฐธรรมนูญ ได้เชิญ นายสุธี มากบุญ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย เข้าชี้แจงเหตุการณ์ ซึ่งเนื้อหาส่วนหนึ่งระบุว่า ในวันเกิดเหตุมีกลุ่มผู้ชุมนุม ล้อมบริเวณประตูของกระทรวงประมาณ 1,200-1,500 คน และการเข้า-ออกต้องผ่านการตรวจค้นจากผู้ชุมนุม
ส่วนประเด็นที่นายกรัฐมนตรีอยู่ในรถประจำตำแหน่งที่ถูกทุบหรือไม่ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ปฏิเสธที่จะชี้แจง โดยอ้างว่า ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ แต่ยอมรับว่า เห็นนายกรัฐมนตรีขึ้นรถประจำตำแหน่งจริง และรถคันดังกล่าว ได้พุ่งชนประตูออกจากกระทรวงไป พร้อมย้ำให้พิจารณาข้อเท็จจริง ได้ในเทปบันทึกภาพจากกล้องวงจรปิดของกระทรวง
สำหรับกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ ทางอนุกรรมการได้เชิญ ผู้อำนวยการสำนักกิจการศาลรัฐธรรมนูญเข้าชี้แจง
คณะอนุกรรมการชุดนี้ ยังคงประชุมพิจารณาดังกล่าวอยู่ ซึ่งจนถึงขณะนี้ ยังไม่ได้ข้อสรุป แต่อนุกรรมการให้ความสนใจ ที่จะค้นหาชนวนเหตุของการก่อเหตุในศาลรัฐธรรมนูญ และระหว่างการปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาผู้แทนราษฎร ได้มีการเรียกประชุมกรรมาธิการ เพื่อติดตามตรวจสอบฝ่ายบริการหลายคณะ อาทิ คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ ซึ่ง นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น ในฐานะประธาน เตรียมหารือกรรมาธิการในคณะ เพื่อวางกรอบการทำงาน โดยเฉพาะการติดตามตรวจสอบนโยบายการต่างประเทศของรัฐบาล ทั้งกรณีท่าทีของรัฐบาลต่อประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ปัญหาเขาพระวิหารกับประเทศกัมพูชา และปัญหาการเมืองในประเทศพม่า รวมถึงนโยบายการให้หนังสือเดินทาง หรือ พาสปอร์ตที่รัฐบาลอนุญาต และยกเลิกกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งแตกต่างจากสิทธิของประชาชนทั่วไป
ส่วนคณะกรรมาธิการการเงินการคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน ซึ่งมี นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล เป็นประธานนั้น วาระของการพิจารณาวันนี้ อยู่ทีปัญหาของพนักงานธนาคารพาณิชย์ยักยอก และมีผลกระทบต่อลูกค้าผู้ฝากเงิน จะมีการเชิญตัวแทนของธนาคาราของรัฐ เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความเห็น เพื่อเตรียมวางมาตรการป้องกันในอนาคต
ก่อนหน้านี้นายตวงเห็นว่า การดำเนินการควรประสานไปยังสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (เอ็นบีที) เพื่อถ่ายทอดสดการสัมมนา ระดมความเห็นจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนันผู้ใหญ่บ้าน นักวิชาการ และสมัชชาวิชาชีพต่างๆ พร้อมเปิดรับฟังความคิดเห็นทางเอสเอ็มเอส และทางโทรศัพท์ หลังจากนั้นจะนำความเห็นทั้งหมด มาประมวลเป็นข้อสรุป เพื่อใช้เป็นแนวทางการสร้างความสมานฉันท์ในสังคม
ขณะเดียวกันก็มีความคืบหน้า ในการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีการชุมนุมทางการเมือง โดยอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง การชุมนุมที่กระทรวงมหาดไทย และศาลรัฐธรรมนูญ ได้เชิญ นายสุธี มากบุญ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย เข้าชี้แจงเหตุการณ์ ซึ่งเนื้อหาส่วนหนึ่งระบุว่า ในวันเกิดเหตุมีกลุ่มผู้ชุมนุม ล้อมบริเวณประตูของกระทรวงประมาณ 1,200-1,500 คน และการเข้า-ออกต้องผ่านการตรวจค้นจากผู้ชุมนุม
ส่วนประเด็นที่นายกรัฐมนตรีอยู่ในรถประจำตำแหน่งที่ถูกทุบหรือไม่ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ปฏิเสธที่จะชี้แจง โดยอ้างว่า ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ แต่ยอมรับว่า เห็นนายกรัฐมนตรีขึ้นรถประจำตำแหน่งจริง และรถคันดังกล่าว ได้พุ่งชนประตูออกจากกระทรวงไป พร้อมย้ำให้พิจารณาข้อเท็จจริง ได้ในเทปบันทึกภาพจากกล้องวงจรปิดของกระทรวง
สำหรับกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ ทางอนุกรรมการได้เชิญ ผู้อำนวยการสำนักกิจการศาลรัฐธรรมนูญเข้าชี้แจง
คณะอนุกรรมการชุดนี้ ยังคงประชุมพิจารณาดังกล่าวอยู่ ซึ่งจนถึงขณะนี้ ยังไม่ได้ข้อสรุป แต่อนุกรรมการให้ความสนใจ ที่จะค้นหาชนวนเหตุของการก่อเหตุในศาลรัฐธรรมนูญ และระหว่างการปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาผู้แทนราษฎร ได้มีการเรียกประชุมกรรมาธิการ เพื่อติดตามตรวจสอบฝ่ายบริการหลายคณะ อาทิ คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ ซึ่ง นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น ในฐานะประธาน เตรียมหารือกรรมาธิการในคณะ เพื่อวางกรอบการทำงาน โดยเฉพาะการติดตามตรวจสอบนโยบายการต่างประเทศของรัฐบาล ทั้งกรณีท่าทีของรัฐบาลต่อประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ปัญหาเขาพระวิหารกับประเทศกัมพูชา และปัญหาการเมืองในประเทศพม่า รวมถึงนโยบายการให้หนังสือเดินทาง หรือ พาสปอร์ตที่รัฐบาลอนุญาต และยกเลิกกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งแตกต่างจากสิทธิของประชาชนทั่วไป
ส่วนคณะกรรมาธิการการเงินการคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน ซึ่งมี นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล เป็นประธานนั้น วาระของการพิจารณาวันนี้ อยู่ทีปัญหาของพนักงานธนาคารพาณิชย์ยักยอก และมีผลกระทบต่อลูกค้าผู้ฝากเงิน จะมีการเชิญตัวแทนของธนาคาราของรัฐ เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความเห็น เพื่อเตรียมวางมาตรการป้องกันในอนาคต