นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถา "ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจไทยก้าวต่อไปอย่างไรในภาวะตลาดทุนผันผวน" ว่า ขณะนี้รัฐบาลเร่งจัดทำงบประมาณประจำปี 2553 ให้แล้วเสร็จภายในรัฐบาลนี้ ดังนั้น เรื่องเสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาลจึงมีความสำคัญมาก หากต้องยุบสภา ภายใน 1-2 เดือน การจัดทำงบประมาณและงบกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 จะไม่สำเร็จ และทำให้เกิดภาวะสุญญากาศ เม็ดเงินต่างๆ ที่จะออกสู่ระบบเศรษฐกิจจะไม่เป็นไปตามคาดหมาย จากที่คาดว่าจะออกสู่ระบบเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน ต้องเลื่อนเป็นเดือนเมษายน 2553 ซึ่งจะมีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยแน่นอน ดังนั้น รัฐบาลต้องจัดทำงบประมาณให้เสร็จเพื่อรองรับรัฐบาลใหม่ให้มีเงินกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไปได้ นอกจากนี้ การที่งบประมาณปี 2553 ถูกตัด 250,000 ล้านบาท เหลือ 1.7 ล้านล้านบาท ถือเป็นวงเงินที่น้อยกว่าปกติอยู่แล้ว ยืนยันว่าโครงการที่เกี่ยวกับปากท้องประชาชนจะไม่ถูกตัดแน่ ไม่ว่าเบี้ยยังชีพ เบี้ย อสม. โครงการรักษาฟรี และโครงการเศรษฐกิจพอเพียง
นายกอร์ปศักดิ์ กล่าวว่า หากรัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจก็จะมีการจัดงบลงทุนปีละ 500,000 ล้านบาท หากเม็ดเงินลงทุนเริ่มเข้าสู่ระบบไตรมาส 4 ปีนี้เศรษฐกิจไทยจะดีขึ้น เนื่องจากนโยบายการคลังมีข้อจำกัดในเรื่องกฎระเบียบและเม็ดเงินที่ลดลง ดังนั้น นโยบายการเงินควรเข้มข้นเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะต้องดูแลไม่ให้มีความผันผวน เคลื่อนไหวสอดคล้องกับเงินสกุลภูมิภาค เพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศคู่ค้าได้ โดย ธปท.จะต้องเปรียบเทียบอัตราแลกเปลี่ยนตลอดเวลา หากจะเข้าไปแทรกแซงจะต้องระมัดระวังดูให้รอบคอบ
ด้านนายก้องเกียรติ โอภาสวงการ นายกสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า สิ่งที่รัฐบาลควรเร่งทำคือ อย่าให้เกิดปัญหาคลื่นใต้น้ำ หากปล่อยไว้นานจะเกิดปัญหา ดังนั้นรัฐบาลมีภาพลักษณ์ที่ดีเป็นจังหวะดีที่จะให้เกิดประโยชน์ นอกจากนี้ รัฐบาลจะต้องเป็นผู้นำในการลงทุนต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่น ดูแลให้มีความนิ่งทางการเมือง เพื่อกระตุ้นให้เอกชนลงทุนตาม เพราะยังมีทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาที่มีเงินสดพร้อมลงทุน โดยมีเงินฝากในระบบธนาคารสูงถึง 7 ล้านล้านบาท เพียงรอสัญญาณชัดเจนจากรัฐบาลเท่านั้น
นายกอร์ปศักดิ์ กล่าวว่า หากรัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจก็จะมีการจัดงบลงทุนปีละ 500,000 ล้านบาท หากเม็ดเงินลงทุนเริ่มเข้าสู่ระบบไตรมาส 4 ปีนี้เศรษฐกิจไทยจะดีขึ้น เนื่องจากนโยบายการคลังมีข้อจำกัดในเรื่องกฎระเบียบและเม็ดเงินที่ลดลง ดังนั้น นโยบายการเงินควรเข้มข้นเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะต้องดูแลไม่ให้มีความผันผวน เคลื่อนไหวสอดคล้องกับเงินสกุลภูมิภาค เพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศคู่ค้าได้ โดย ธปท.จะต้องเปรียบเทียบอัตราแลกเปลี่ยนตลอดเวลา หากจะเข้าไปแทรกแซงจะต้องระมัดระวังดูให้รอบคอบ
ด้านนายก้องเกียรติ โอภาสวงการ นายกสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า สิ่งที่รัฐบาลควรเร่งทำคือ อย่าให้เกิดปัญหาคลื่นใต้น้ำ หากปล่อยไว้นานจะเกิดปัญหา ดังนั้นรัฐบาลมีภาพลักษณ์ที่ดีเป็นจังหวะดีที่จะให้เกิดประโยชน์ นอกจากนี้ รัฐบาลจะต้องเป็นผู้นำในการลงทุนต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่น ดูแลให้มีความนิ่งทางการเมือง เพื่อกระตุ้นให้เอกชนลงทุนตาม เพราะยังมีทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาที่มีเงินสดพร้อมลงทุน โดยมีเงินฝากในระบบธนาคารสูงถึง 7 ล้านล้านบาท เพียงรอสัญญาณชัดเจนจากรัฐบาลเท่านั้น