นายวิรัช อัศวสุขสันต์ ประธานหอการค้า จ.ยะลา กล่าวว่า หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลแล้ว ตนเองอยากให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการดูแลการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ลงพื้นที่พบปะประชาชนให้มากขึ้น ซึ่งเรื่องสำคัญที่ประชาชนในพื้นที่ต้องการให้ช่วยเหลือ คือปัญหาควาไมม่สงบ โดยจะเห็นได้ว่าปัญหายังคงมีเพิ่มขึ้น ประชาชนในพื้นที่รอคอยการแก้ไขปัญหามาหลายรัฐบาลแล้ว ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลามากกว่า 5 ปี ยังไม่มีการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม ส่วนอีกปัญหา คือ ปัญหาที่หอการค้า หรือสภาอุตสาหกรรม ได้เสนอไปยังจังหวัด และ ศอ.บต. เกี่ยวกับเรื่องเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ที่ขอขยายเวลาออกไปอีก 10 ปี ยังไม่มีการตัดสินใจจากภาครัฐแต่อย่างใด ส่วนเรื่องที่ 3 เป็นเรื่องที่พูดคุยกันมานาน คือปัญหาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หรือซอฟท์โลน ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้กับผู้ประกอบการในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.5 และจะครบกำหนดอายุในปีหน้า ซึ่งผู้ประกอบการต้องการให้ต่อมาตรการนี้ออกไปอีก แต่ไม่ได้รับคำตอบจากรัฐบาล
สำหรับการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาความไม่สงบของเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ เช่น หน่วยงานด้านความมั่นคง ตนเองอยากให้ทำงานด้านความมั่นคงอย่างจริงจัง ประสานงานประชาชนในพื้นที่ให้มีส่วนร่วม ส่วนผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจนั้น ได้ส่งผลกระทบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดที่จะลดลง เพราะภาวะเศรษฐกิจของ จ.ยะลา ที่มีต่อภาคการเกษตร เป็นอันดับที่ 1 รองลงมาคือ การค้าปลีกค้าส่ง และอุตสาหกรรม เท่าที่ได้พูดคุยกับผู้ประกอบการ ต่างได้รับผลกระทบทั้งสิ้น อยากให้ภาครัฐทุ่มงบประมาณในการพัฒนาการลงทุนในจังหวัดมากขึ้น
ประธานหอการค้า จ.ยะลา กล่าวอีกว่า ขณะนี้ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความคาดหวังกับการแก้ปัญหาของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์มาก ประชาชนมีความมั่นใจและเชื่อใจพรรคประชาธิปัตย์ และอยากให้รัฐบาลที่มีความรู้ความเข้าใจพื้นที่ภาคใต้ ลงมาสัมผัสประชาชนในพื้นที่มากขึ้น เพื่อรับข้อมูลโดยตรง ที่ผ่านมา 3 เดือน ยังมองว่าการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังเป็นนโยบายหรือแนวคิดมากกว่า ซึ่งอยากให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
สำหรับการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาความไม่สงบของเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ เช่น หน่วยงานด้านความมั่นคง ตนเองอยากให้ทำงานด้านความมั่นคงอย่างจริงจัง ประสานงานประชาชนในพื้นที่ให้มีส่วนร่วม ส่วนผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจนั้น ได้ส่งผลกระทบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดที่จะลดลง เพราะภาวะเศรษฐกิจของ จ.ยะลา ที่มีต่อภาคการเกษตร เป็นอันดับที่ 1 รองลงมาคือ การค้าปลีกค้าส่ง และอุตสาหกรรม เท่าที่ได้พูดคุยกับผู้ประกอบการ ต่างได้รับผลกระทบทั้งสิ้น อยากให้ภาครัฐทุ่มงบประมาณในการพัฒนาการลงทุนในจังหวัดมากขึ้น
ประธานหอการค้า จ.ยะลา กล่าวอีกว่า ขณะนี้ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความคาดหวังกับการแก้ปัญหาของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์มาก ประชาชนมีความมั่นใจและเชื่อใจพรรคประชาธิปัตย์ และอยากให้รัฐบาลที่มีความรู้ความเข้าใจพื้นที่ภาคใต้ ลงมาสัมผัสประชาชนในพื้นที่มากขึ้น เพื่อรับข้อมูลโดยตรง ที่ผ่านมา 3 เดือน ยังมองว่าการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังเป็นนโยบายหรือแนวคิดมากกว่า ซึ่งอยากให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น