บรรยากาศในงาน 90 ปีการสาธารณสุขไทยเพื่อคนไทยสุขภาพดี ที่จัดขึ้นที่ อิมแพค เมืองทองธานีระหว่างวันที่ 20-23 มีนาคม 2552 ประชาชนทั่วไปให้ความสนใจกับการเดินทางมาใช้บริการภายในงานเป็นจำนวนมาก ทั้งการตรวจจอประสาทตาด้วยเครื่องดิจิตัล บริการการนวดแพทย์แผนไทย การสอนทำโยคะอาสนะ การวัดความโลหิต ตรวจเลือดหาไขมันและคอเรสเตอรอล การวัดดัชนีมวลกาย พร้อมให้คำแนะนำดูแลสุขภาพ รวมถึงการตรวจหามะเร็งเต้านม และการตรวจวัดจุดกดเจ็บด้วยเครื่องมือ ซึ่งจะเป็นการวัดภายหลังจากใช้บริการการนวด เพื่อดูว่าความเมื่อยหรือความเจ็บปวดจากกล้ามเนื้อลดลงหรือไม่ นอกจากนี้ ยังมีการจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ ทั้งแพทย์แผนไทยจากโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ การจำหน่ายสินค้าและให้คำแนะนำด้านยาจากองค์กรเภสัชกรรม
การเสวนาในหัวข้อเรื่อง "เหลียวหลังแลหน้าสู่การพัฒนาการแพทย์ฉุกเฉิน" มี ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานอำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ร่วมในการเสวนา กล่าวว่า สภาวการณ์ในปัจจุบัน อุณหภูมิโลกร้อนซึ่งเป็นผลมาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ที่เพิ่มขึ้นและการละลายตัวของน้ำแข็ง โดยคาดการณ์ว่าปี 2643 ทั่วโลกจะมีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์สูงขึ้น 2 เท่า หรือประมาณ 278 ล้านส่วน และมีอุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 1.5 -4.5 องศาเซสเซียส ซึ่งเมื่อน้ำแข็งจากขั้วโลกมีการละลาย จะส่งผลให้หลายพื้นที่เกิดอุทกภัย แต่ในอนาคตระยะยาว คาดการณ์ว่าปัญหาน้ำท่วมจะทำให้กรุงเทพมหานครหายไป ดังนั้นอาจจะต้องนั่งเรือไปจังหวัดสุราษฏร์ธานี สิ่งที่หลายฝ่ายและนักวิชาการต่อต้านตนว่า พายุสตอมเซิร์จไม่อาจเกิดขึ้นได้ แต่ความจริงอยากชี้แจงว่าไม่ควรประมาทธรรมชาติ เพราะในอดีตก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ และเคยมีตัวอย่างมาแล้วในปี 2505 ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหาจะต้องมีการสร้างเขื่อนกั้นริมปากอ่าวไทย ตั้งแต่แม่น้ำท่าจีน บางปะกง จนถึงชะอำ ป้องกันไม่ให้น้ำทะเลไหลทะลักเข้าสู่กรุงเทพฯ จนถึงเข้าสู่ระบบประปา จนทำให้น้ำมีรสชาติกร่อย
ดร.สมิทธ กล่าวอีกว่า พื้นที่ในกรุงเทพฯ เช่น สวนหลวง รามคำแหง มีปัญหาดินทรุดตัวปีละ 4 เซนติเมตร ซึ่งจากการคาดการณ์น้ำทะเลอาจเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพฯ อาจทำให้พื้นที่ของกรุงเทพฯ ใน 10 ปีข้างหน้า อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลถึง 1.90 เมตร เพราะอนาคตน้ำทะเลจะสูงถึง 1.5 เมตร ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขควรอบรมให้ประชาชนรู้จักวิธีป้องกันดูแลตนเอง และควรปรับระบบสาธารณูปโภคที่อยู่พื้นที่จุดเสี่ยง โดยอาจจัดทำปลั๊กไฟให้สูงขึ้น กรณีหากมีน้ำท่วมขัง เพื่อเตรียมรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้น
การเสวนาในหัวข้อเรื่อง "เหลียวหลังแลหน้าสู่การพัฒนาการแพทย์ฉุกเฉิน" มี ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานอำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ร่วมในการเสวนา กล่าวว่า สภาวการณ์ในปัจจุบัน อุณหภูมิโลกร้อนซึ่งเป็นผลมาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ที่เพิ่มขึ้นและการละลายตัวของน้ำแข็ง โดยคาดการณ์ว่าปี 2643 ทั่วโลกจะมีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์สูงขึ้น 2 เท่า หรือประมาณ 278 ล้านส่วน และมีอุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 1.5 -4.5 องศาเซสเซียส ซึ่งเมื่อน้ำแข็งจากขั้วโลกมีการละลาย จะส่งผลให้หลายพื้นที่เกิดอุทกภัย แต่ในอนาคตระยะยาว คาดการณ์ว่าปัญหาน้ำท่วมจะทำให้กรุงเทพมหานครหายไป ดังนั้นอาจจะต้องนั่งเรือไปจังหวัดสุราษฏร์ธานี สิ่งที่หลายฝ่ายและนักวิชาการต่อต้านตนว่า พายุสตอมเซิร์จไม่อาจเกิดขึ้นได้ แต่ความจริงอยากชี้แจงว่าไม่ควรประมาทธรรมชาติ เพราะในอดีตก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ และเคยมีตัวอย่างมาแล้วในปี 2505 ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหาจะต้องมีการสร้างเขื่อนกั้นริมปากอ่าวไทย ตั้งแต่แม่น้ำท่าจีน บางปะกง จนถึงชะอำ ป้องกันไม่ให้น้ำทะเลไหลทะลักเข้าสู่กรุงเทพฯ จนถึงเข้าสู่ระบบประปา จนทำให้น้ำมีรสชาติกร่อย
ดร.สมิทธ กล่าวอีกว่า พื้นที่ในกรุงเทพฯ เช่น สวนหลวง รามคำแหง มีปัญหาดินทรุดตัวปีละ 4 เซนติเมตร ซึ่งจากการคาดการณ์น้ำทะเลอาจเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพฯ อาจทำให้พื้นที่ของกรุงเทพฯ ใน 10 ปีข้างหน้า อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลถึง 1.90 เมตร เพราะอนาคตน้ำทะเลจะสูงถึง 1.5 เมตร ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขควรอบรมให้ประชาชนรู้จักวิธีป้องกันดูแลตนเอง และควรปรับระบบสาธารณูปโภคที่อยู่พื้นที่จุดเสี่ยง โดยอาจจัดทำปลั๊กไฟให้สูงขึ้น กรณีหากมีน้ำท่วมขัง เพื่อเตรียมรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้น