นายรังษี เหลืองวารินกุล ประธานคณะผังเมืองและนิคมอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรม เปิดเผยในงานสัมมานา "แผนพัฒนาภาคใต้ทำอย่างไร? ไม่ให้ซ้ำรอยมาบตาพุด" ว่า โครงการพัฒนาขนาดใหญ่คงเกิดขึ้นได้ยากในพื้นที่ภาคใต้ เพราะยังขาดแรงจูงใจในการดึงดูดทรัพยากรธรรมชาติที่จะนำไปพัฒนา โดยเฉพาะผู้ลงทุนหรือผู้ประกอบการมองว่าหากมี แลนด์บริดจ์เกิดขึ้นจึงจะสามารถดึงดูดนักลงทุนได้
อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อว่า อุตสาหกรรมโรงถลุงเหล็กและปิโตรเคมียังมีโอกาสจะเดินหน้าต่อไปได้ เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ส่วนกรณีที่มาบตาพุดมองว่าภาคอุตสาหกรรมได้เข้าไปแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างรวดเร็วแล้ว แต่ที่เกิดปัญหาเนื่องจากผู้ประกอบการยังขาดความเข้าใจในการเข้าไปจัดการกับความรู้สึกของมวลชน
นายสุวัฒน์ วาณีสุบุตร ที่ปรึกษาด้านนโยบายพลังงานและแผนงาน สำนักงานคณะกรรมการสภาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า ขณะนี้แผนพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ หรือ เซาเทิร์น ซีบอร์ด (Southern Seaboard) เป็นแผนที่สภาพัฒน์จะเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด โดยได้ว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งลงไปศึกษาขอบเขตของคำว่า "การมีส่วนร่วมของประชาชน" ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในอีก 6 เดือนข้างหน้า โดยหลักสำคัญของแผนพัฒนาจะศึกษาว่าพื้นที่นั้นๆ มีศักยภาพในการพัฒนาด้านใด เพื่อที่จะมีการพัฒนาให้สอดคล้องกับพื้นที่
นายสาวิตต์ โพธิวิหค ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แนวทางการพัฒนาแบบเก่าคงถึงทางตัน เนื่องจากก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างภาครัฐ นักลงทุน และชาวบ้านในพื้นที่ เห็นได้จากกรณีมาบตาพุดรวมถึงการชะลอแผนพัฒนา โครงการด้านน้ำมันและปิโตรเคมี ตนมองว่าจากนี้ไปแผนพัฒนาต่างๆ ต้องให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้น หรือให้ประชนเป็นเจ้าของแผน
อย่างไรก็ตาม ประชาชนก็ต้องเข้าใจความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นที่ว่าพื้นที่ทำกินนั้นมีเท่าเดิมสวนทางกลับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น และทรัพยากรธรรมชาติที่ลดลง หากไม่มีการพัฒนาใดๆ เกิดขึ้นเลยลูกหลานในอนาคตจะอยู่อย่างไร เพราะการพัฒนาจะนำไปสู่การจ้างงาน
นายแพทย์อำพล จินดาวัฒน์ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวว่า การจัดทำแผนพัฒนาภาคใต้เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและศักยภาพของภาคใต้นั้น ทุกฝ่ายต้องช่วยกันคิด ช่วยกันมองอย่างรอบด้าน โดยให้ความสำคัญกับมิติด้านสุขภาวะด้วย เนื่องจากมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากมายทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อว่า อุตสาหกรรมโรงถลุงเหล็กและปิโตรเคมียังมีโอกาสจะเดินหน้าต่อไปได้ เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ส่วนกรณีที่มาบตาพุดมองว่าภาคอุตสาหกรรมได้เข้าไปแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างรวดเร็วแล้ว แต่ที่เกิดปัญหาเนื่องจากผู้ประกอบการยังขาดความเข้าใจในการเข้าไปจัดการกับความรู้สึกของมวลชน
นายสุวัฒน์ วาณีสุบุตร ที่ปรึกษาด้านนโยบายพลังงานและแผนงาน สำนักงานคณะกรรมการสภาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า ขณะนี้แผนพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ หรือ เซาเทิร์น ซีบอร์ด (Southern Seaboard) เป็นแผนที่สภาพัฒน์จะเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด โดยได้ว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งลงไปศึกษาขอบเขตของคำว่า "การมีส่วนร่วมของประชาชน" ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในอีก 6 เดือนข้างหน้า โดยหลักสำคัญของแผนพัฒนาจะศึกษาว่าพื้นที่นั้นๆ มีศักยภาพในการพัฒนาด้านใด เพื่อที่จะมีการพัฒนาให้สอดคล้องกับพื้นที่
นายสาวิตต์ โพธิวิหค ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แนวทางการพัฒนาแบบเก่าคงถึงทางตัน เนื่องจากก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างภาครัฐ นักลงทุน และชาวบ้านในพื้นที่ เห็นได้จากกรณีมาบตาพุดรวมถึงการชะลอแผนพัฒนา โครงการด้านน้ำมันและปิโตรเคมี ตนมองว่าจากนี้ไปแผนพัฒนาต่างๆ ต้องให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้น หรือให้ประชนเป็นเจ้าของแผน
อย่างไรก็ตาม ประชาชนก็ต้องเข้าใจความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นที่ว่าพื้นที่ทำกินนั้นมีเท่าเดิมสวนทางกลับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น และทรัพยากรธรรมชาติที่ลดลง หากไม่มีการพัฒนาใดๆ เกิดขึ้นเลยลูกหลานในอนาคตจะอยู่อย่างไร เพราะการพัฒนาจะนำไปสู่การจ้างงาน
นายแพทย์อำพล จินดาวัฒน์ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวว่า การจัดทำแผนพัฒนาภาคใต้เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและศักยภาพของภาคใต้นั้น ทุกฝ่ายต้องช่วยกันคิด ช่วยกันมองอย่างรอบด้าน โดยให้ความสำคัญกับมิติด้านสุขภาวะด้วย เนื่องจากมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากมายทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม