นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ลดลงจากระดับ 68.3 เหลือ 67.2 ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 3 เดือน หลังจากมีรัฐบาลใหม่ เนื่องจากประชาชนวิตกกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจไทย และต่างประเทศ
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับการหางาน และดัชนีรายได้ในอนาคตยังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ คือ 66.5 และ 88.5 เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ยังส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มที่ประชาชนชะลอการจับจ่ายในไตรมาสที่ 2 แต่ขณะเดียวกันเชื่อว่า จะสามารถฟื้นตัวได้ในไตรมาส 3 ปีนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นนี้ยังสะท้อนว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐบาล ที่ใช้งบประมาณกว่า 1 แสนล้านบาท สามารถพยุงเศรษฐกิจได้เพียงระยะสั้นเท่านั้น ดังนั้นรัฐบาลต้องเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่เน้นการสร้างงานเช่น การเบิกจ่ายงบประมาณค้างจ่าย งบประมาณท้องถิ่นและเร่งรัดการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า การประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ สะท้อนให้เห็นว่า วิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งนี้เลวร้ายกว่าคาดการณ์ ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่น
นอกจากนี้สภาหอการค้าไทย ยังได้ติดตามการติดสภาวะการส่งออกของไทยในเดือนกุมภาพันธ์ พบว่า มูลค่าการส่งออกลดลง จากเดือนที่แล้วร้อยละ 12 คิดเป็นมูลค่ากว่า 81,000 ล้านบาท โดยมูลค่าสินค้าที่ลดลงมากที่สุดคือ ข้าวร้อยละ 59 รองลงมาคือ สิ่งปรุงแต่งที่ใช้หล่อลื่น และรองเท้า
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับการหางาน และดัชนีรายได้ในอนาคตยังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ คือ 66.5 และ 88.5 เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ยังส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มที่ประชาชนชะลอการจับจ่ายในไตรมาสที่ 2 แต่ขณะเดียวกันเชื่อว่า จะสามารถฟื้นตัวได้ในไตรมาส 3 ปีนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นนี้ยังสะท้อนว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐบาล ที่ใช้งบประมาณกว่า 1 แสนล้านบาท สามารถพยุงเศรษฐกิจได้เพียงระยะสั้นเท่านั้น ดังนั้นรัฐบาลต้องเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่เน้นการสร้างงานเช่น การเบิกจ่ายงบประมาณค้างจ่าย งบประมาณท้องถิ่นและเร่งรัดการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า การประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ สะท้อนให้เห็นว่า วิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งนี้เลวร้ายกว่าคาดการณ์ ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่น
นอกจากนี้สภาหอการค้าไทย ยังได้ติดตามการติดสภาวะการส่งออกของไทยในเดือนกุมภาพันธ์ พบว่า มูลค่าการส่งออกลดลง จากเดือนที่แล้วร้อยละ 12 คิดเป็นมูลค่ากว่า 81,000 ล้านบาท โดยมูลค่าสินค้าที่ลดลงมากที่สุดคือ ข้าวร้อยละ 59 รองลงมาคือ สิ่งปรุงแต่งที่ใช้หล่อลื่น และรองเท้า