ในการสัมมนาวิชาการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า จัดขึ้นเพื่อรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน สำหรับเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของ ป.ป.ช. ในการกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ต้องห้ามมิให้ดำเนินกิจการ ตามมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติ ป.ป.ช. หรือกฎหมาย ป.ป.ช.เพิ่มเติมนั้น ป.ป.ช.ได้มีการเปิดร่างกฎหมายที่ประกาศให้ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐ อีก 55 ตำแหน่ง ต้องห้ามมิให้ดำเนินกิจการตามความในมาตรา 100 ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ตำแหน่ง ส.ส., ส.ว. ที่ปรึกษา เลขานุการ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ว่าฯ กทม. นายก อบจ. นายก อบต. ตลอดจนสมาชิกสภาเทศบาล เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริต ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น จากเดิมกฎหมายเก่าเคยกำหนดให้ตำแหน่งต้องห้ามมีเพียง 2 ตำแหน่ง คือ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีพร้อมคู่สมรสเท่านั้น
รศ.ดร.ธีรภัทร เสรีรังสรรค์ อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช แสดงความเห็นว่า ควรขยายประกาศฉบับนี้ให้ครอบคลุมถึงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อาจเข้าไปเกี่ยวข้องประโยชน์ทับซ้อน พร้อมแนะรัฐบาลกำหนดปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อสร้างมาตรฐานของประเทศ
ด้าน ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวสนับสนุนแนวทางขยายร่างประกาศ ป.ป.ช.ให้ครอบคลุมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐ และฝ่ายบริหารระดับสูง ที่ควบคุมดูแลกิจการของรัฐ เช่น สรรพากร ศุลกากร สรรพสามิต ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย รวมทั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พร้อมเห็นว่า ป.ป.ช.จำเป็นต้องทำความเข้าใจกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกฎหมาย และประชาชนอย่างทั่วถึง
ทั้งนี้การจัดเวทีสัมมนาจะจัดขึ้นอีก 8 ครั้ง กระจายไปในส่วนภูมิภาค ก่อนนำข้อเสนอแนะที่ได้มาประกอบการจัดทำร่างประกาศให้มีความสมบูรณ์ ก่อนบังคับใช้ต่อไป
รศ.ดร.ธีรภัทร เสรีรังสรรค์ อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช แสดงความเห็นว่า ควรขยายประกาศฉบับนี้ให้ครอบคลุมถึงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อาจเข้าไปเกี่ยวข้องประโยชน์ทับซ้อน พร้อมแนะรัฐบาลกำหนดปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อสร้างมาตรฐานของประเทศ
ด้าน ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวสนับสนุนแนวทางขยายร่างประกาศ ป.ป.ช.ให้ครอบคลุมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐ และฝ่ายบริหารระดับสูง ที่ควบคุมดูแลกิจการของรัฐ เช่น สรรพากร ศุลกากร สรรพสามิต ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย รวมทั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พร้อมเห็นว่า ป.ป.ช.จำเป็นต้องทำความเข้าใจกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกฎหมาย และประชาชนอย่างทั่วถึง
ทั้งนี้การจัดเวทีสัมมนาจะจัดขึ้นอีก 8 ครั้ง กระจายไปในส่วนภูมิภาค ก่อนนำข้อเสนอแนะที่ได้มาประกอบการจัดทำร่างประกาศให้มีความสมบูรณ์ ก่อนบังคับใช้ต่อไป