น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลใช้วิธีการจ่ายเงิน 2,000 บาท เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพให้กับผู้ประกันตนที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท จำนวน 8.3 ล้านคน โดยการจ่ายเป็นเช็กเงินสด และสามารถนำไปแลกซื้อสินค้าได้ว่า ถือเป็นการตัดสินใจที่ต้องการนำงบประมาณมาช่วยเหลือประชาชน โดยคิดว่าเป็นวิธีที่ประชาชนจะได้ประโยชน์สูงสุด แต่ในฐานะผู้รับมองว่ารัฐบาลไม่ได้คำนึงว่าผู้รับจะได้รับความลำบากมากน้อยเพียงใดกับวิธีการนี้ ในการต้องนำเงินไปขึ้นกับธนาคาร บางพื้นที่ต้องลางาน หรือการนำไปแลกซื้อของตามห้างสรรพสินค้าก็ไม่สามารถสนองความต้องการของประชาชนที่เป็นผู้ใช้แรงงานได้อย่างทั่วถึง เพราะอาจต้องใช้เงินจำนวนนี้ไปจ่ายเป็นค่าเช่าบ้าน หรือค่าน้ำค่าไฟ
นอกจากนี้ ยังสุ่มเสี่ยงกับผลประโยชน์แอบแฝงที่จะตามมาจากห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ โดยขอให้รอดูสถานการณ์ความวุ่นวาย ซึ่งเชื่อว่าจะมีตั้งแต่วันที่เช็กจะถึงมือประชาชน
น.ส.วิไลวรรณ ยังฝากเตือนผู้เกี่ยวข้องเร่งประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินให้ชัดเจน เพราะขณะนี้ได้รับการร้องเรียนจากผู้ใช้แรงงานหลายพื้นที่ เช่น พระนครศรีอยุธยา สระบุรี นครปฐม ว่าไปขอขึ้นทะเบียนรับสิทธิ์ แต่ถูกเจ้าหน้าที่ประกันสังคมบอกว่าไม่มีสิทธิ์ เพราะถูกเลิกจ้างไปแล้ว
นอกจากนี้ ยังสุ่มเสี่ยงกับผลประโยชน์แอบแฝงที่จะตามมาจากห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ โดยขอให้รอดูสถานการณ์ความวุ่นวาย ซึ่งเชื่อว่าจะมีตั้งแต่วันที่เช็กจะถึงมือประชาชน
น.ส.วิไลวรรณ ยังฝากเตือนผู้เกี่ยวข้องเร่งประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินให้ชัดเจน เพราะขณะนี้ได้รับการร้องเรียนจากผู้ใช้แรงงานหลายพื้นที่ เช่น พระนครศรีอยุธยา สระบุรี นครปฐม ว่าไปขอขึ้นทะเบียนรับสิทธิ์ แต่ถูกเจ้าหน้าที่ประกันสังคมบอกว่าไม่มีสิทธิ์ เพราะถูกเลิกจ้างไปแล้ว