นายวิรัตน์ ตันเดชานุรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กล่าวว่า ปีนี้ตั้งเป้าหมายการส่งออกสิ่งทอไทยยังสามารถเติบโตจากปีที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 10 โดยปี 2551 มีมูลค่าส่งออก 7,289 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนปีนี้จะเพิ่มเป็นประมาณ 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนหนึ่งเพราะญี่ปุ่นที่เคยลงทุนในจีน ได้หันมาลงทุนในไทยมากขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมนี้น่าจะขยายตัวได้อีก
นอกจากนี้ การส่งออกสิ่งทอของไทยยังได้รับผลดีจากข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ที่เป็นปัจจัยเอื้ออีกประการ ทำให้ยอดส่งออกสิ่งทอไปญี่ปุ่นเติบโตได้ดี
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป็นห่วงขณะนี้คือการกีดกันการค้าที่ไม่ใช่ภาษี จึงอยากให้รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือขจัดอุปสรรคดังกล่าว ส่วนการเลิกจ้างแรงงานนั้น ยืนยันว่า ในอุตสาหกรรมสิ่งทอไม่น่าเป็นห่วง เพราะหากโรงงานใดปิด แรงงานจะสามารถไปทำงานอีกโรงงานหนึ่งได้ เพราะเป็นแรงงานที่ทักษะอยู่แล้ว ในส่วนการพัฒนาผู้ประกอบการ สถาบันสิ่งทอมีเป้าหมายจะพัฒนาไว้แล้ว เช่น อุตสาหกรรมฟอกย้อม
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมอาหารของไทย เป็นอุตสาหกรรมที่แตกต่างจากอุตสาหกรรมอื่น โดยสภาพการจ้างงานขณะนี้ไม่มีการเลิกจ้าง แต่มีแนวโน้มจ้างงานเพิ่มขึ้น ซึ่งปีนี้คาดการณ์ว่าจะมียอดส่งออกสินค้าอาหาร ประมาณ 724,000 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7 จากปี 2551 เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรที่เป็นวัตถุดิบปรับลดลงถึงร้อยละ 22 ขณะที่อาหารสำเร็จรูปราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรง สาเหตุที่ทำให้มูลค่าส่งออกลดลง เพราะผู้บริโภคประหยัดการใช้จ่าย ส่วนการย้ายแรงงานจากกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นมาทำงานในอุตสาหกรรมอาหารนั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ แต่ต้องใช้เวลาในการจัดเตรียมพอสมควร
นอกจากนี้ การส่งออกสิ่งทอของไทยยังได้รับผลดีจากข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ที่เป็นปัจจัยเอื้ออีกประการ ทำให้ยอดส่งออกสิ่งทอไปญี่ปุ่นเติบโตได้ดี
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป็นห่วงขณะนี้คือการกีดกันการค้าที่ไม่ใช่ภาษี จึงอยากให้รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือขจัดอุปสรรคดังกล่าว ส่วนการเลิกจ้างแรงงานนั้น ยืนยันว่า ในอุตสาหกรรมสิ่งทอไม่น่าเป็นห่วง เพราะหากโรงงานใดปิด แรงงานจะสามารถไปทำงานอีกโรงงานหนึ่งได้ เพราะเป็นแรงงานที่ทักษะอยู่แล้ว ในส่วนการพัฒนาผู้ประกอบการ สถาบันสิ่งทอมีเป้าหมายจะพัฒนาไว้แล้ว เช่น อุตสาหกรรมฟอกย้อม
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมอาหารของไทย เป็นอุตสาหกรรมที่แตกต่างจากอุตสาหกรรมอื่น โดยสภาพการจ้างงานขณะนี้ไม่มีการเลิกจ้าง แต่มีแนวโน้มจ้างงานเพิ่มขึ้น ซึ่งปีนี้คาดการณ์ว่าจะมียอดส่งออกสินค้าอาหาร ประมาณ 724,000 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7 จากปี 2551 เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรที่เป็นวัตถุดิบปรับลดลงถึงร้อยละ 22 ขณะที่อาหารสำเร็จรูปราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรง สาเหตุที่ทำให้มูลค่าส่งออกลดลง เพราะผู้บริโภคประหยัดการใช้จ่าย ส่วนการย้ายแรงงานจากกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นมาทำงานในอุตสาหกรรมอาหารนั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ แต่ต้องใช้เวลาในการจัดเตรียมพอสมควร