นางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านกิจการพรรคการเมือง ยอมรับว่า เอาผิดอดีตกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบ ไปเกี่ยวข้องหรือมีบทบาททางการเมืองยาก เพราะบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายพรรคการเมืองห้ามเฉพาะมีส่วนจัดตั้งพรรค หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคใหม่ ส่วนกรณีนายบรรหาร ศิลปอาชา วิจารณ์การจัดสรรงบประมาณของรัฐบาลนั้น เห็นว่า การแสดงความเห็นสามารถทำได้ แต่ต้องดูว่าเป็นบทบาทอะไร หากเป็นฐานะอดีตนายกรัฐมนตรีหรือประชาชน ก็สามารถทำได้ แต่หากคาบเกี่ยวระหว่างบทบาทกรรมการบริหารพรรค ที่ไปเข้าร่วมประชุมพรรคหรือเป็นสมาชิกพรรคไม่สามารถทำได้
ทั้งนี้ ยอมรับว่ากฎหมายมีช่องโหว่ ซึ่งในอนาคตต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อกำหนดบทบาทของอดีตกรรมการบริหารพรรคเหล่านี้ว่าสามารถยุ่งเกี่ยวการเมืองได้มากน้อยเพียงใด
ส่วนกรณีนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สว.สรรหา ยื่นเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตรวจสอบการทำงานของ กกต. นางสดศรี ยืนยันว่าทำหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง และพร้อมให้ตรวจสอบ
ทั้งนี้ ยอมรับว่ากฎหมายมีช่องโหว่ ซึ่งในอนาคตต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อกำหนดบทบาทของอดีตกรรมการบริหารพรรคเหล่านี้ว่าสามารถยุ่งเกี่ยวการเมืองได้มากน้อยเพียงใด
ส่วนกรณีนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สว.สรรหา ยื่นเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตรวจสอบการทำงานของ กกต. นางสดศรี ยืนยันว่าทำหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง และพร้อมให้ตรวจสอบ