นายทรงธรรม ปิ่นโต ผู้บริหารส่วนเศรษฐกิจมหภาค สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในการสัมมนาเรื่อง "บทบาท ธปท.ในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย" ว่า ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจไทยเป็นผลกระทบสืบเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจโลกตกต่ำ ทั้งเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยุโรป และ ขณะนี้ลุกลามมายังเอเชียและส่งผลกระทบถึงไทย สภาพการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย ขณะที่ไทยก็มีปัญหาภายในประเทศ ทำให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง
นายทรงธรรม กล่าวว่า ปัญหาลักษณะนี้ต้องช่วยกันแก้ไขทั้งรัฐบาลและทุกฝ่าย ดังนั้นในช่วงภาวะเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้น สิ่งที่ต้องดำเนินการ คือ กระตุ้นให้ผู้บริโภคมั่นใจออกมาจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น หันมาลงทุนมากขึ้น รวมถึงนโยบายไทยช่วยไทย ขณะที่นโยบายการคลังก็กระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้นทั้งมาตรการดูแลแรงงานที่ตกงาน ดูแลผู้มีรายได้น้อยและทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยในระดับรากหญ้า นับเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้า
ส่วนนโยบายการเงิน นายทรงธรรม กล่าวว่า หากติดตามจะพบว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) 2 ครั้งที่ผ่านมา ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 1 เมื่อครั้งก่อนหน้า และล่าสุดปรับลดลงอีกร้อยละ 0.75 ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายเหลือเพียงร้อยละ 2 ซึ่งการลดดอกเบี้ยนโยบายลงจะช่วยให้ต้นทุนในการกู้เงินน้อยลง นักลงทุนก็จะกล้าลงทุนมากขึ้น นับเป็นการสร้างบรรยากาศในการลงทุน พร้อมกับกระตุ้นความต้องการสินค้าและบริการต่าง ๆ ในประเทศ สอดคล้องกับมาตรการการคลังที่เร่งเบิกจ่ายงบประมาณ อย่างไรก็ตาม มาตรการทางด้านการคลังจะต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย เพื่อให้การใช้จ่ายเป็นไปอย่างรวดเร็ว
สำหรับเศรษฐกิจไทยปีนี้ ตัวเลขล่าสุดยังประมาณการว่าจะเติบโตร้อยละ 0.5-2.5 และตัวเลขประเมินใหม่ ธปท.จะประกาศอีกครั้งในวันที่ 23 มกราคมนี้ ซึ่งเศรษฐกิจไทยจะไม่ติดลบแน่นอน โดยยังขยายตัวเป็นบวกพอใช้ได้ ด้านอัตราเงินเฟ้อในช่วงที่ผ่านมาลดลง เป็นผลจากราคาน้ำมันที่ลดลงอย่างมาก และเศรษฐกิจชะลอตัวลง ทำให้ เงินเฟ้อลดลง รวมทั้งผลจาก 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อไทยทุกคน
นายทรงธรรม กล่าวว่า ปัญหาลักษณะนี้ต้องช่วยกันแก้ไขทั้งรัฐบาลและทุกฝ่าย ดังนั้นในช่วงภาวะเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้น สิ่งที่ต้องดำเนินการ คือ กระตุ้นให้ผู้บริโภคมั่นใจออกมาจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น หันมาลงทุนมากขึ้น รวมถึงนโยบายไทยช่วยไทย ขณะที่นโยบายการคลังก็กระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้นทั้งมาตรการดูแลแรงงานที่ตกงาน ดูแลผู้มีรายได้น้อยและทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยในระดับรากหญ้า นับเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้า
ส่วนนโยบายการเงิน นายทรงธรรม กล่าวว่า หากติดตามจะพบว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) 2 ครั้งที่ผ่านมา ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 1 เมื่อครั้งก่อนหน้า และล่าสุดปรับลดลงอีกร้อยละ 0.75 ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายเหลือเพียงร้อยละ 2 ซึ่งการลดดอกเบี้ยนโยบายลงจะช่วยให้ต้นทุนในการกู้เงินน้อยลง นักลงทุนก็จะกล้าลงทุนมากขึ้น นับเป็นการสร้างบรรยากาศในการลงทุน พร้อมกับกระตุ้นความต้องการสินค้าและบริการต่าง ๆ ในประเทศ สอดคล้องกับมาตรการการคลังที่เร่งเบิกจ่ายงบประมาณ อย่างไรก็ตาม มาตรการทางด้านการคลังจะต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย เพื่อให้การใช้จ่ายเป็นไปอย่างรวดเร็ว
สำหรับเศรษฐกิจไทยปีนี้ ตัวเลขล่าสุดยังประมาณการว่าจะเติบโตร้อยละ 0.5-2.5 และตัวเลขประเมินใหม่ ธปท.จะประกาศอีกครั้งในวันที่ 23 มกราคมนี้ ซึ่งเศรษฐกิจไทยจะไม่ติดลบแน่นอน โดยยังขยายตัวเป็นบวกพอใช้ได้ ด้านอัตราเงินเฟ้อในช่วงที่ผ่านมาลดลง เป็นผลจากราคาน้ำมันที่ลดลงอย่างมาก และเศรษฐกิจชะลอตัวลง ทำให้ เงินเฟ้อลดลง รวมทั้งผลจาก 6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อไทยทุกคน