สวัสดีปีใหม่ท่านผู้อ่าน ร่วมคิด-ชวนคุยกับ ก.ล.ต. ทุกท่าน ในช่วงปีที่ผ่านมาตลาดทุนไทยของเราต้องเผชิญกับปัญหาทั้งจากภายนอกและภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตทางการเงินของสหรัฐที่ส่งผลลุกลามไปยังเศรษฐกิจและตลาดการเงินทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยที่ส่งผลกระทบให้ภาวะเศรษฐกิจมีการชะลอตัว และภาวะตลาดอยู่ในช่วงขาลง รวมไปถึงปัญหาภายในประเทศที่มาจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งก็หวังว่าหลังจากที่ภาคการเมืองมีความแน่นอนขึ้น ก็คงจะเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้ลงทุนในการลงทุนในปีนี้ได้ในระดับหนึ่ง
ร่วมคิด – ชวนคุย กับ ก.ล.ต. จึงขอนำเรื่องราวเกี่ยวกับแนวโน้มของภาวะตลาดทุนไทยในปีศักราชใหม่ 2552 นี้ และมาตรการใหม่ๆ ที่ ก.ล.ต.จะนำมาใช้เพื่อผลักดันและพัฒนาตลาดทุนไทยที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุน รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมสำหรับการลงทุนในปีนี้ด้วย มาเล่าสู่กันฟัง
ก่อนที่จะไปพูดถึงมาตรการพัฒนาตลาดทุนในปี 2552 เราลองมาย้อนรอยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแวดวงตลาดทุนไทยในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมากันก่อน สืบเนื่องจากวิกฤตการณ์สถาบันการเงินโลก อันเป็นผลพวงมาจากวิกฤตเศรษฐกิจของสหรัฐที่เกิดขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมานั้น ทำให้สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ของโลกหลายรายต้องเผชิญกับปัญหาทางการเงินอย่างหนัก และส่งผลกระทบให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของ ทั่วโลกปรับตัวลดลงไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของไทยด้วย ที่ปรับลดลงถึง 50% การที่มีการปรับลงเช่นนั้นส่วนหนึ่งก็เกิดจากการที่นักลงทุนต่างชาติมีการดึงเม็ดเงินลงทุนต่างประเทศกลับไปเพื่อปรับสภาพคล่องของตนเอง โดยขายหุ้นในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งในส่วนของประเทศไทยคิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.5 แสนล้านบาทเลยทีเดียว
ในช่วงเกิดวิกฤติการณ์นั้น ก.ล.ต. ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยได้ติดตามสถานการณ์เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบต่อตลาดหลักทรัพย์ไทย รวมทั้งสถานะความเสี่ยงของผู้ประกอบการ ได้แก่โบรกเกอร์ และ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน อย่างใกล้ชิด โดยติดตามดูสภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ สภาวะการไถ่ถอนหน่วยลงทุน รวมทั้งการดำรงฐานะการเงินและการให้บริการของผู้ประกอบการ เพื่อพิจารณาออกมาตรการรองรับได้ทันการณ์เมื่อมีเหตุจำเป็น ซึ่งจากการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พบว่า ผลกระทบจากวิกฤตดังกล่าวไม่รุนแรงมากนัก
นอกจากนี้ บริษัทหลักทรัพย์ก็ยังมีความมั่นคงทางการเงินอยู่มาก กล่าวคือ ทั้งระบบมีเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิจำนวนสูงถึง 51,700 ล้านบาท ซึ่งเกินกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้มาก (ข้อมูล ณ วันที่ 18 ธันวาคม 2551) สำหรับธุรกิจจัดการกองทุนนั้น ก็พบว่า กองทุนรวมไทยไม่ได้รับผลกระทบรุนแรงมากนัก เนื่องจากมีการลงทุนในสถาบันการเงินต่างประเทศที่มีปัญหาในสัดส่วนที่น้อยมาก นอกจากนี้ การไถ่ถอนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมก็ยังอยู่ในระดับปกติด้วย
นอกเหนือจากการติดตามสถานการณ์แล้ว ก.ล.ต. ก็ยังมี การออกมาตรการเพื่อช่วยลดความผันผวนและกระตุ้นให้เกิดการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ด้วย ซึ่งโดยหลักการก็เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ลงทุนตลอดจนส่งเสริมให้ผู้ลงทุนมีช่องทางลงทุนในภาวะที่ตลาดซบเซานี้ เช่น ผลักดันให้มีการขยายวงเงินหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้ซื้อกองทุนรวม RMF หรือ LTF จากไม่เกิน 500,000 บาทเป็น 700,000 บาท (สำหรับผู้ที่ซื้อระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม - 31 ธันวาคม 51) ยกเลิกเกณฑ์ที่กำหนดให้ผู้ถือหน่วยลงทุนกองทุนรวม LTF ไถ่ถอนได้ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง เพื่อให้ผู้ถือหน่วยสามารถวางแผนการขายคืนหน่วยลงทุนได้ตามความเหมาะสม ตลอดจนผลักดันให้มีการช่วยเหลือผู้ออมที่กำลังจะเกษียณ โดยขอให้สามารถคงเงินออมไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้อีกระยะหนึ่งโดยไม่ต้องเสียสิทธิประโยชน์ทางภาษี
สำหรับ ผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ก.ล.ต.ก็ได้มีมาตรการช่วยลดความผันผวนและการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นโดยผ่อนคลายกฎเกณฑ์ในเรื่องการซื้อหุ้นคืน (treasury stock) ของบริษัทจดทะเบียน เพื่อให้ทำได้สะดวกรวดเร็วและทันต่อสถานการณ์ทั้งยังช่วยสร้างเสถียรภาพให้กับราคาหุ้นและเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ลงทุนได้นั่นเองในส่วนของการระดมทุนของภาคธุรกิจผ่านตลาดทุน ก.ล.ต. ก็ได้ชูมาตรการ "ง่ายขึ้น เร็วขึ้น ถูกลง" เพื่ออำนวยความสะดวกให้บริษัทจดทะเบียนที่ประสบกับความลำบากในการกู้เงินทั้งจากภายในและภายนอกประเทศในช่วงที่สภาพคล่องตึงตัวนี้ ให้สามารถออกหุ้นกู้ขายแก่ผู้ลงทุนสถาบันต่างประเทศและออกใบสำคัญแสดงสิทธิขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมได้ โดยไม่ต้องยื่นขออนุญาตแต่สามารถยื่น filing แบบง่ายได้ รวมทั้งมีการลดค่าธรรมเนียมการออกหุ้นกู้ให้ด้วย
มาตรการอีกส่วนที่ ก.ล.ต. ดำเนินการควบคู่ไปกับมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงินโลก คือมาตรการเพื่อพัฒนาตลาดทุนไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดทุนโลกได้ในระยะยาว เช่น การพัฒนาสินค้าและธุรกรรมทางการเงินใหม่ๆ เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ลงทุน รวมทั้งยกระดับมาตรฐานความน่าเชื่อถือของตลาดทุนไทยให้ทัดเทียมสากล เป็นต้น ซึ่งคอลัมน์ ร่วมคิด-ชวนคุย กับ ก.ล.ต. ในครั้งต่อๆ ไป จะขอพูดคุยถึงเรื่องเหล่านี้กันต่อให้ครบถ้วนกระบวนความ แล้วพบกันในวันจันทร์หน้า
ร่วมคิด – ชวนคุย กับ ก.ล.ต. จึงขอนำเรื่องราวเกี่ยวกับแนวโน้มของภาวะตลาดทุนไทยในปีศักราชใหม่ 2552 นี้ และมาตรการใหม่ๆ ที่ ก.ล.ต.จะนำมาใช้เพื่อผลักดันและพัฒนาตลาดทุนไทยที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุน รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมสำหรับการลงทุนในปีนี้ด้วย มาเล่าสู่กันฟัง
ก่อนที่จะไปพูดถึงมาตรการพัฒนาตลาดทุนในปี 2552 เราลองมาย้อนรอยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแวดวงตลาดทุนไทยในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมากันก่อน สืบเนื่องจากวิกฤตการณ์สถาบันการเงินโลก อันเป็นผลพวงมาจากวิกฤตเศรษฐกิจของสหรัฐที่เกิดขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมานั้น ทำให้สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ของโลกหลายรายต้องเผชิญกับปัญหาทางการเงินอย่างหนัก และส่งผลกระทบให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของ ทั่วโลกปรับตัวลดลงไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของไทยด้วย ที่ปรับลดลงถึง 50% การที่มีการปรับลงเช่นนั้นส่วนหนึ่งก็เกิดจากการที่นักลงทุนต่างชาติมีการดึงเม็ดเงินลงทุนต่างประเทศกลับไปเพื่อปรับสภาพคล่องของตนเอง โดยขายหุ้นในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งในส่วนของประเทศไทยคิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.5 แสนล้านบาทเลยทีเดียว
ในช่วงเกิดวิกฤติการณ์นั้น ก.ล.ต. ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยได้ติดตามสถานการณ์เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบต่อตลาดหลักทรัพย์ไทย รวมทั้งสถานะความเสี่ยงของผู้ประกอบการ ได้แก่โบรกเกอร์ และ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน อย่างใกล้ชิด โดยติดตามดูสภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ สภาวะการไถ่ถอนหน่วยลงทุน รวมทั้งการดำรงฐานะการเงินและการให้บริการของผู้ประกอบการ เพื่อพิจารณาออกมาตรการรองรับได้ทันการณ์เมื่อมีเหตุจำเป็น ซึ่งจากการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พบว่า ผลกระทบจากวิกฤตดังกล่าวไม่รุนแรงมากนัก
นอกจากนี้ บริษัทหลักทรัพย์ก็ยังมีความมั่นคงทางการเงินอยู่มาก กล่าวคือ ทั้งระบบมีเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิจำนวนสูงถึง 51,700 ล้านบาท ซึ่งเกินกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้มาก (ข้อมูล ณ วันที่ 18 ธันวาคม 2551) สำหรับธุรกิจจัดการกองทุนนั้น ก็พบว่า กองทุนรวมไทยไม่ได้รับผลกระทบรุนแรงมากนัก เนื่องจากมีการลงทุนในสถาบันการเงินต่างประเทศที่มีปัญหาในสัดส่วนที่น้อยมาก นอกจากนี้ การไถ่ถอนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมก็ยังอยู่ในระดับปกติด้วย
นอกเหนือจากการติดตามสถานการณ์แล้ว ก.ล.ต. ก็ยังมี การออกมาตรการเพื่อช่วยลดความผันผวนและกระตุ้นให้เกิดการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ด้วย ซึ่งโดยหลักการก็เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ลงทุนตลอดจนส่งเสริมให้ผู้ลงทุนมีช่องทางลงทุนในภาวะที่ตลาดซบเซานี้ เช่น ผลักดันให้มีการขยายวงเงินหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้ซื้อกองทุนรวม RMF หรือ LTF จากไม่เกิน 500,000 บาทเป็น 700,000 บาท (สำหรับผู้ที่ซื้อระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม - 31 ธันวาคม 51) ยกเลิกเกณฑ์ที่กำหนดให้ผู้ถือหน่วยลงทุนกองทุนรวม LTF ไถ่ถอนได้ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง เพื่อให้ผู้ถือหน่วยสามารถวางแผนการขายคืนหน่วยลงทุนได้ตามความเหมาะสม ตลอดจนผลักดันให้มีการช่วยเหลือผู้ออมที่กำลังจะเกษียณ โดยขอให้สามารถคงเงินออมไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้อีกระยะหนึ่งโดยไม่ต้องเสียสิทธิประโยชน์ทางภาษี
สำหรับ ผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ก.ล.ต.ก็ได้มีมาตรการช่วยลดความผันผวนและการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นโดยผ่อนคลายกฎเกณฑ์ในเรื่องการซื้อหุ้นคืน (treasury stock) ของบริษัทจดทะเบียน เพื่อให้ทำได้สะดวกรวดเร็วและทันต่อสถานการณ์ทั้งยังช่วยสร้างเสถียรภาพให้กับราคาหุ้นและเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ลงทุนได้นั่นเองในส่วนของการระดมทุนของภาคธุรกิจผ่านตลาดทุน ก.ล.ต. ก็ได้ชูมาตรการ "ง่ายขึ้น เร็วขึ้น ถูกลง" เพื่ออำนวยความสะดวกให้บริษัทจดทะเบียนที่ประสบกับความลำบากในการกู้เงินทั้งจากภายในและภายนอกประเทศในช่วงที่สภาพคล่องตึงตัวนี้ ให้สามารถออกหุ้นกู้ขายแก่ผู้ลงทุนสถาบันต่างประเทศและออกใบสำคัญแสดงสิทธิขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมได้ โดยไม่ต้องยื่นขออนุญาตแต่สามารถยื่น filing แบบง่ายได้ รวมทั้งมีการลดค่าธรรมเนียมการออกหุ้นกู้ให้ด้วย
มาตรการอีกส่วนที่ ก.ล.ต. ดำเนินการควบคู่ไปกับมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงินโลก คือมาตรการเพื่อพัฒนาตลาดทุนไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดทุนโลกได้ในระยะยาว เช่น การพัฒนาสินค้าและธุรกรรมทางการเงินใหม่ๆ เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ลงทุน รวมทั้งยกระดับมาตรฐานความน่าเชื่อถือของตลาดทุนไทยให้ทัดเทียมสากล เป็นต้น ซึ่งคอลัมน์ ร่วมคิด-ชวนคุย กับ ก.ล.ต. ในครั้งต่อๆ ไป จะขอพูดคุยถึงเรื่องเหล่านี้กันต่อให้ครบถ้วนกระบวนความ แล้วพบกันในวันจันทร์หน้า