ตัวเลขทุนสำรองเงินตราต่างประเทศล่าสุดบ่งชี้ว่า ธนาคารกลางของหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเคยปกป้องค่าเงินอย่างแข็งขันเมื่อ 2-3 เดือนก่อนหน้านี้ เริ่มหันมาดำเนินนโยบายปล่อยค่าเงินท้องถิ่นให้อ่อนตัวลง ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นการส่งออก
เดือนธันวาคมที่ผ่านมา ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของพวกประเทศในภูมิภาคเอเชีย ไม่รวมจีน เพิ่มสูงขึ้น 1.9 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน เป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 6 เดือน และเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 หลังจากลดต่ำลงในช่วงเวลา 4 เดือนก่อนหน้านั้น
เป็นที่น่าสังเกตว่า ทุนสำรองฯของกลุ่มประเทศเอเชียเพิ่มสูงขึ้นทั้ง ๆ นี้พวกประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ อย่างเช่น รัสเซียและบราซิล ยังคงเทขายเงินดอลลาร์ออกอย่างต่อเนื่อง เพื่อพยุงค่าเงินของตัวเองไม่ให้อ่อนตัวลงมากเกินไป
ตัวเลขทุนสำรองฯที่เพิ่มสูงขึ้นบ่งชี้ว่า รัฐบาลของพวกประเทศเอเชียเหล่านี้ซื้อเงินดอลลาร์ในตลาดมากขึ้นเพื่อกดค่าเงินประเทศตนเองให้อ่อนตัวลง และเป็นสัญญาณว่าบางประเทศกำลังดำเนินนโยบายสนับสนุนการอ่อนตัวของค่าเงินประเทศตน ซึ่งตรงกันข้ามกับทิศทางนโยบายเมื่อปีที่แล้ว
ในช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วงปี 2008 ธนาคารกลางของประเทศเอเชียพากันเทขายเงินดอลลาร์ออก เพื่อรักษาเสถียรภาพค่าเงินประเทศตนเองในขณะที่วิกฤตการณ์สินเชื่อซับไพรม์ในสหรัฐส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวแผ่ขยายไปทั่วโลก จนหลายฝ่ายเกรงกันว่าบางประเทศ รวมทั้งเกาหลีใต้และอินโดนีเซียอาจเทขายเงินดอลลาร์ออกไปทั้งหมด
นักสังเกตการณ์หลายคนกล่าวว่า ไต้หวัน สิงคโปร์ และอาจรวมถึงประเทศไทยด้วย กำลังยืนอยู่แถวหน้าของการเปลี่ยนแปลงทิศทางนโยบายค่าเงินในภูมิภาคเอเชียครั้งนี้ นักวิเคราะห์ของ เอชเอสบีซี กล่าวว่า ภูมิภาคเอเชียกำลังเปลี่ยนแปลงนโยบายค่าเงิน โดยหันไปสนับสนุนการอ่อนตัวของค่าเงินของประเทศตนเอง
เดือนธันวาคมที่ผ่านมา ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของพวกประเทศในภูมิภาคเอเชีย ไม่รวมจีน เพิ่มสูงขึ้น 1.9 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน เป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 6 เดือน และเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 หลังจากลดต่ำลงในช่วงเวลา 4 เดือนก่อนหน้านั้น
เป็นที่น่าสังเกตว่า ทุนสำรองฯของกลุ่มประเทศเอเชียเพิ่มสูงขึ้นทั้ง ๆ นี้พวกประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ อย่างเช่น รัสเซียและบราซิล ยังคงเทขายเงินดอลลาร์ออกอย่างต่อเนื่อง เพื่อพยุงค่าเงินของตัวเองไม่ให้อ่อนตัวลงมากเกินไป
ตัวเลขทุนสำรองฯที่เพิ่มสูงขึ้นบ่งชี้ว่า รัฐบาลของพวกประเทศเอเชียเหล่านี้ซื้อเงินดอลลาร์ในตลาดมากขึ้นเพื่อกดค่าเงินประเทศตนเองให้อ่อนตัวลง และเป็นสัญญาณว่าบางประเทศกำลังดำเนินนโยบายสนับสนุนการอ่อนตัวของค่าเงินประเทศตน ซึ่งตรงกันข้ามกับทิศทางนโยบายเมื่อปีที่แล้ว
ในช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วงปี 2008 ธนาคารกลางของประเทศเอเชียพากันเทขายเงินดอลลาร์ออก เพื่อรักษาเสถียรภาพค่าเงินประเทศตนเองในขณะที่วิกฤตการณ์สินเชื่อซับไพรม์ในสหรัฐส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวแผ่ขยายไปทั่วโลก จนหลายฝ่ายเกรงกันว่าบางประเทศ รวมทั้งเกาหลีใต้และอินโดนีเซียอาจเทขายเงินดอลลาร์ออกไปทั้งหมด
นักสังเกตการณ์หลายคนกล่าวว่า ไต้หวัน สิงคโปร์ และอาจรวมถึงประเทศไทยด้วย กำลังยืนอยู่แถวหน้าของการเปลี่ยนแปลงทิศทางนโยบายค่าเงินในภูมิภาคเอเชียครั้งนี้ นักวิเคราะห์ของ เอชเอสบีซี กล่าวว่า ภูมิภาคเอเชียกำลังเปลี่ยนแปลงนโยบายค่าเงิน โดยหันไปสนับสนุนการอ่อนตัวของค่าเงินของประเทศตนเอง