วอลล์สตรีทเจอร์นัลเอเชีย - ตัวเลขทุนสำรองเงินตราต่างประเทศล่าสุดบ่งชี้ว่า ธนาคารกลางของหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเคยปกป้องค่าเงินอย่างแข็งขันเมื่อ 2-3 เดือนก่อนหน้านี้ เริ่มหันมาดำเนินนโยบายปล่อยค่าเงินท้องถิ่นให้อ่อนตัวลง ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นการส่งออก
เดือนธันวาคมที่ผ่านมา ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของพวกประเทศในภูมิภาคเอเชีย ไม่รวมจีน เพิ่มสูงขึ้น 1.9 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน เป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 6 เดือน และเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 หลังจากลดต่ำลงในช่วงเวลา 4 เดือนก่อนหน้านั้น
เป็นที่น่าสังเกตว่า ทุนสำรองฯของกลุ่มประเทศเอเชียเพิ่มสูงขึ้นทั้ง ๆ นี้พวกประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ อย่างเช่น รัสเซียและบราซิล ยังคงเทขายเงินดอลลาร์ออกอย่างต่อเนื่อง เพื่อพยุงค่าเงินของตัวเองไม่ให้อ่อนตัวลงมากเกินไป
ตัวเลขทุนสำรองฯที่เพิ่มสูงขึ้นบ่งชี้ว่า รัฐบาลของพวกประเทศเอเชียเหล่านี้ซื้อเงินดอลลาร์ในตลาดมากขึ้นเพื่อกดค่าเงินประเทศตนเองให้อ่อนตัวลง และเป็นสัญญาณว่าบางประเทศกำลังดำเนินนโยบายสนับสนุนการอ่อนตัวของค่าเงินประเทศตน ซึ่งตรงกันข้ามกับทิศทางนโยบายเมื่อปีที่แล้ว
ในช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วงปี 2008 ธนาคารกลางของประเทศเอเชียพากันเทขายเงินดอลลาร์ออก เพื่อรักษาเสถียรภาพค่าเงินประเทศตนเองในขณะที่วิกฤตการณ์สินเชื่อซับไพรม์ในสหรัฐส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวแผ่ขยายไปทั่วโลก จนหลายฝ่ายเกรงกันว่าบางประเทศ รวมทั้งเกาหลีใต้และอินโดนีเซียอาจเทขายเงินดอลลาร์ออกไปทั้งหมด
นักสังเกตการณ์หลายคนกล่าวว่า ไต้หวัน สิงคโปร์ และอาจรวมถึงประเทศไทยด้วย กำลังยืนอยู่แถวหน้าของการเปลี่ยนแปลงทิศทางนโยบายค่าเงินในภูมิภาคเอเชียครั้งนี้ นักวิเคราะห์ของ เอชเอสบีซี กล่าวว่า ภูมิภาคเอเชียกำลังเปลี่ยนแปลงนโยบายค่าเงิน โดยหันไปสนับสนุนการอ่อนตัวของค่าเงินของประเทศตนเอง
ขณะนี้ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า จะต้องปล่อยให้ค่าเงินท้องถิ่นอ่อนตัวลงไปมากน้อยเพียงใด จึงจะสามารถบรรเทาปัญหาของผู้ประกอบการในภาคธุรกิจส่งออกในภูมิภาคนี้ได้ ทั้งนี้ค่าเงินท้องถิ่นที่อ่อนตัวลงจะทำให้สินค้าส่งออกมีราคาต่ำลงในตลาดต่างประเทศ แต่เนื่องจากปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองกำลังแผ่ขยายไปทั่วโลก ดังนั้น ความต้องการสินค้าในตลาดส่งออกขนาดใหญ่จึงอ่อนตัวลงมากโดยไม่มีทีท่าจะกระเตื้องขึ้นมาง่ายๆ
ณ สิ้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ตัวเลขทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของธนาคารกลาง 11 ประเทศเอเชียรวมกันอยู่ที่ระดับ 2.407 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2.362 ล้านล้านดอลลาร์
ตัวเลขดังกล่าวหมายรวมถึงธนาคารกลางของ ญี่ปุ่น อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ มาเลเซีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ประเทศไทย และฮ่องกงด้วย
ธนาคารกลางของทุกประเทศดังกล่าวข้างต้น ยกเว้นมาเลเซีย รายงานตัวเลขทุนสำรองฯเดือนธันวาคมเพิ่มสูงขึ้นจากเดือนพฤศจิกายนเหมือนกันหมด
ญี่ปุ่นซึ่งมีทุนสำรองฯมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากจีน รายงานว่าทุนสำรองฯในช่วงเวลาดังกล่าวยังทรงตัวอยู่ในระดับเดิม ซึ่งหมายความว่าทุนสำรองฯในประเทศอื่น ๆ เพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก
ก่อนหน้านี้ในเดือนพฤศจิกายน ตัวเลขทุนสำรองฯของกลุ่มประเทศเอเชียก็เพิ่มสูงขึ้นจากเดือนตุลาคมถึง 1.2 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ในช่วงเวลา 3 เดือนก่อนหน้านั้นทุนสำรองฯของกลุ่มประเทศเอเชียลดต่ำลงถึง 7.4 เปอร์เซ็นต์
ทบวงการเงินฮ่องกงซึ่งทำหน้าที่เสมือนธนาคารกลางของดินแดนแห่งนี้รายงานว่า ตัวเลขทุนสำรองฯพุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่ในเดือนธันวาคม และยังคงดำเนินนโยบายขายเงินท้องถิ่นออกต่อไป เพื่อทำให้ค่าเงินดอลลาร์ฮ่องกงเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกับเงินดอลลาร์สหรัฐ
ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และประเทศไทยก็รายงานตัวเลขทุนสำรองฯพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนธันวาคมเช่นเดียวกัน โดยทุนสำรองฯของฟิลิปปินส์เพิ่มขึ้น 5.1 เปอร์เซ็นต์ ประเทศไทยเพิ่มขึ้น 4.3 เปอร์เซ็นต์ และไต้หวันเพิ่มขึ้น 3.9 เปอร์เซ็นต์
ฟิลิปปินส์ให้เหตุผลว่า ตัวเลขทุนสำรองฯที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นผลมาจากการเพิ่มสูงขึ้นของราคาทองคำ แต่ธนาคารกลางของประเทศไทยไม่ได้แจ้งเหตุผลเรื่องนี้แต่อย่างใด.
เดือนธันวาคมที่ผ่านมา ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของพวกประเทศในภูมิภาคเอเชีย ไม่รวมจีน เพิ่มสูงขึ้น 1.9 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน เป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 6 เดือน และเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 หลังจากลดต่ำลงในช่วงเวลา 4 เดือนก่อนหน้านั้น
เป็นที่น่าสังเกตว่า ทุนสำรองฯของกลุ่มประเทศเอเชียเพิ่มสูงขึ้นทั้ง ๆ นี้พวกประเทศเศรษฐกิจเฟื่องฟูใหม่ อย่างเช่น รัสเซียและบราซิล ยังคงเทขายเงินดอลลาร์ออกอย่างต่อเนื่อง เพื่อพยุงค่าเงินของตัวเองไม่ให้อ่อนตัวลงมากเกินไป
ตัวเลขทุนสำรองฯที่เพิ่มสูงขึ้นบ่งชี้ว่า รัฐบาลของพวกประเทศเอเชียเหล่านี้ซื้อเงินดอลลาร์ในตลาดมากขึ้นเพื่อกดค่าเงินประเทศตนเองให้อ่อนตัวลง และเป็นสัญญาณว่าบางประเทศกำลังดำเนินนโยบายสนับสนุนการอ่อนตัวของค่าเงินประเทศตน ซึ่งตรงกันข้ามกับทิศทางนโยบายเมื่อปีที่แล้ว
ในช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วงปี 2008 ธนาคารกลางของประเทศเอเชียพากันเทขายเงินดอลลาร์ออก เพื่อรักษาเสถียรภาพค่าเงินประเทศตนเองในขณะที่วิกฤตการณ์สินเชื่อซับไพรม์ในสหรัฐส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวแผ่ขยายไปทั่วโลก จนหลายฝ่ายเกรงกันว่าบางประเทศ รวมทั้งเกาหลีใต้และอินโดนีเซียอาจเทขายเงินดอลลาร์ออกไปทั้งหมด
นักสังเกตการณ์หลายคนกล่าวว่า ไต้หวัน สิงคโปร์ และอาจรวมถึงประเทศไทยด้วย กำลังยืนอยู่แถวหน้าของการเปลี่ยนแปลงทิศทางนโยบายค่าเงินในภูมิภาคเอเชียครั้งนี้ นักวิเคราะห์ของ เอชเอสบีซี กล่าวว่า ภูมิภาคเอเชียกำลังเปลี่ยนแปลงนโยบายค่าเงิน โดยหันไปสนับสนุนการอ่อนตัวของค่าเงินของประเทศตนเอง
ขณะนี้ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า จะต้องปล่อยให้ค่าเงินท้องถิ่นอ่อนตัวลงไปมากน้อยเพียงใด จึงจะสามารถบรรเทาปัญหาของผู้ประกอบการในภาคธุรกิจส่งออกในภูมิภาคนี้ได้ ทั้งนี้ค่าเงินท้องถิ่นที่อ่อนตัวลงจะทำให้สินค้าส่งออกมีราคาต่ำลงในตลาดต่างประเทศ แต่เนื่องจากปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองกำลังแผ่ขยายไปทั่วโลก ดังนั้น ความต้องการสินค้าในตลาดส่งออกขนาดใหญ่จึงอ่อนตัวลงมากโดยไม่มีทีท่าจะกระเตื้องขึ้นมาง่ายๆ
ณ สิ้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ตัวเลขทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของธนาคารกลาง 11 ประเทศเอเชียรวมกันอยู่ที่ระดับ 2.407 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2.362 ล้านล้านดอลลาร์
ตัวเลขดังกล่าวหมายรวมถึงธนาคารกลางของ ญี่ปุ่น อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ มาเลเซีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ประเทศไทย และฮ่องกงด้วย
ธนาคารกลางของทุกประเทศดังกล่าวข้างต้น ยกเว้นมาเลเซีย รายงานตัวเลขทุนสำรองฯเดือนธันวาคมเพิ่มสูงขึ้นจากเดือนพฤศจิกายนเหมือนกันหมด
ญี่ปุ่นซึ่งมีทุนสำรองฯมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากจีน รายงานว่าทุนสำรองฯในช่วงเวลาดังกล่าวยังทรงตัวอยู่ในระดับเดิม ซึ่งหมายความว่าทุนสำรองฯในประเทศอื่น ๆ เพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก
ก่อนหน้านี้ในเดือนพฤศจิกายน ตัวเลขทุนสำรองฯของกลุ่มประเทศเอเชียก็เพิ่มสูงขึ้นจากเดือนตุลาคมถึง 1.2 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ในช่วงเวลา 3 เดือนก่อนหน้านั้นทุนสำรองฯของกลุ่มประเทศเอเชียลดต่ำลงถึง 7.4 เปอร์เซ็นต์
ทบวงการเงินฮ่องกงซึ่งทำหน้าที่เสมือนธนาคารกลางของดินแดนแห่งนี้รายงานว่า ตัวเลขทุนสำรองฯพุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่ในเดือนธันวาคม และยังคงดำเนินนโยบายขายเงินท้องถิ่นออกต่อไป เพื่อทำให้ค่าเงินดอลลาร์ฮ่องกงเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกับเงินดอลลาร์สหรัฐ
ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และประเทศไทยก็รายงานตัวเลขทุนสำรองฯพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนธันวาคมเช่นเดียวกัน โดยทุนสำรองฯของฟิลิปปินส์เพิ่มขึ้น 5.1 เปอร์เซ็นต์ ประเทศไทยเพิ่มขึ้น 4.3 เปอร์เซ็นต์ และไต้หวันเพิ่มขึ้น 3.9 เปอร์เซ็นต์
ฟิลิปปินส์ให้เหตุผลว่า ตัวเลขทุนสำรองฯที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นผลมาจากการเพิ่มสูงขึ้นของราคาทองคำ แต่ธนาคารกลางของประเทศไทยไม่ได้แจ้งเหตุผลเรื่องนี้แต่อย่างใด.