คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง. เปิดเผยรายงานเบื้องต้นของเจ้าหน้าที่ สตง.ประจำภูมิภาค หลังจากตรวจสอบเอกสารการเบิกจ่ายงบประมาณในโครงการสร้างฝายแบบผสมผสาน หรือ ฝายแม้ว ตั้งแต่เดือนตุลาคม - พฤศจิกายน โดยพบว่า ราครวัสดุประเภทเดียวกันในการสร้างฝาย มีการจัดซื้อในราคาที่แตกต่างกัน มีการจ่ายค่าจ้างแรงงานหลายอัตรา ทั้งที่แรงงานมีความชำนาญเหมือนกัน การจัดซื้อวัสดุไม่มีการระบุรายละเอียด และมีการแบ่งซื้อหลายครั้ง เพื่อให้ยอดการซื้อมีจำนวนน้อย
ขณะที่การลงพื้นที่ดูสภาพฝาย พบข้อน่าสังเกตคือ ลักษณะของวัสดุ ทั้งไม้ไผ่และหินที่ใช้ก่อสร้างฝาย เป็นวัสดุในพื้นที่นั้นมีอยู่แล้ว ขณะที่ชาวบ้านที่รับจ้าง เปิดเผยว่า เป็นการจ้างงานแบบเหมาจ่าย ฝายละ 700-1,000 บาท และชาวบ้านที่เป็นผู้รับเหมา ไม่เคยลงรายมือชื่อในเอกสารการรับเงินกับเจ้าหน้าที่ นอกจากนี้ยังพบว่า คอนกรีต และไม้ไผ่ มีสภาพใหม่เหมือนเพิ่งสร้างเสร็จ และพื้นที่ที่สร้างฝายไม่มีสภาพเป็นร่องน้ำ
ผู้ว่าฯ สตง. ยอมรับว่า ปัจจุบันยังคงมีเรื่องร้องเรียนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการระดมชาวบ้านเร่งสร้างฝายให้ครบก่อนที่ สตง.จะเข้าไปตรวจสอบ ส่วนกรณีที่อ้างว่า มีการสร้างฝายแม้วในพื้นที่เข้าถึงยากเนื่องจากอยู่ในป่าลึก สตง.ได้เตรียมเจ้าหน้าที่ชายที่พร้อมจะเข้าไปในทุกพื้นที่ เพื่อพิสูจน์ว่า มีการสร้างฝายจริงหรือไม่ แต่คาดว่าต้องใช้เวลาพอสมควร
ทั้งนี้ ผู้ว่าฯ สตง. กล่าวว่า การสรุปความผิดอาจจะสาวไม่ถึงนักการเมือง จึงฝากเตือนข้าราชการประจำว่า หากทำตามนักการเมืองมากกว่ารักษาผลประโยชน์ของประชาชน จะกลายเป็นแพะรับบาปในที่สุด
ขณะที่การลงพื้นที่ดูสภาพฝาย พบข้อน่าสังเกตคือ ลักษณะของวัสดุ ทั้งไม้ไผ่และหินที่ใช้ก่อสร้างฝาย เป็นวัสดุในพื้นที่นั้นมีอยู่แล้ว ขณะที่ชาวบ้านที่รับจ้าง เปิดเผยว่า เป็นการจ้างงานแบบเหมาจ่าย ฝายละ 700-1,000 บาท และชาวบ้านที่เป็นผู้รับเหมา ไม่เคยลงรายมือชื่อในเอกสารการรับเงินกับเจ้าหน้าที่ นอกจากนี้ยังพบว่า คอนกรีต และไม้ไผ่ มีสภาพใหม่เหมือนเพิ่งสร้างเสร็จ และพื้นที่ที่สร้างฝายไม่มีสภาพเป็นร่องน้ำ
ผู้ว่าฯ สตง. ยอมรับว่า ปัจจุบันยังคงมีเรื่องร้องเรียนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการระดมชาวบ้านเร่งสร้างฝายให้ครบก่อนที่ สตง.จะเข้าไปตรวจสอบ ส่วนกรณีที่อ้างว่า มีการสร้างฝายแม้วในพื้นที่เข้าถึงยากเนื่องจากอยู่ในป่าลึก สตง.ได้เตรียมเจ้าหน้าที่ชายที่พร้อมจะเข้าไปในทุกพื้นที่ เพื่อพิสูจน์ว่า มีการสร้างฝายจริงหรือไม่ แต่คาดว่าต้องใช้เวลาพอสมควร
ทั้งนี้ ผู้ว่าฯ สตง. กล่าวว่า การสรุปความผิดอาจจะสาวไม่ถึงนักการเมือง จึงฝากเตือนข้าราชการประจำว่า หากทำตามนักการเมืองมากกว่ารักษาผลประโยชน์ของประชาชน จะกลายเป็นแพะรับบาปในที่สุด