นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารเชื้อเพลิงชีวภาพ (กกช.) ว่า ขณะนี้การก่อสร้างท่อก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 3 ของ ปตท. เสร็จเรียบร้อยแล้วในแหล่งพัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย (เจดีเอ) หรือ เอ18 สามารถนำก๊าซขึ้นมาใช้ได้ 400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ส่งเข้าระบบผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าจะนะ 100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และโรงไฟฟ้าระยอง 300 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
ขณะนี้ไทยมีก๊าซใช้อยู่ที่ 3,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และจากการผลิตก๊าซจากแหล่งก๊าซในประเทศมีอยู่ 2,835 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เมื่อรวมกับการจัดซื้อก๊าซจากสหภาพพม่าอีก 1,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ส่งผลให้ในอนาคตไทยจะมีก๊าซใช้ 3,835 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จึงมั่นใจได้ว่าปริมาณสำรองก๊าซของไทยไว้ใช้ในประเทศเพียงพอกับความต้องการได้ถึง 20 ปี (ปี 2569) ในอัตราวันละ 2,500 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า แม้ว่าในอนาคตไทยจะมีก๊าซใช้เพียงพอ แต่ก็มีโอกาสหมดลง จึงจำเป็นต้องสำรวจหาแหล่งก๊าซใหม่ๆในภูมิภาคเอเชียเป็นหลักและแหล่งก๊าซในตะวันออกกลางด้วย หรือการจัดหาแหล่งเชื้อเพลิงอื่นๆเพิ่มเติม ป้องกันปัญหาขาดแคลนเชื้อเพลิงในอนาคต อย่างการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ที่คาดว่าจะได้ความชัดเจนว่าจะก่อสร้างหรือไม่ก่อสร้างในอีก 3 ปีข้างหน้า แต่ต้องมีความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์ มีความปลอดภัย และประชาชนยอมรับ
ขณะนี้ไทยมีก๊าซใช้อยู่ที่ 3,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และจากการผลิตก๊าซจากแหล่งก๊าซในประเทศมีอยู่ 2,835 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เมื่อรวมกับการจัดซื้อก๊าซจากสหภาพพม่าอีก 1,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ส่งผลให้ในอนาคตไทยจะมีก๊าซใช้ 3,835 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จึงมั่นใจได้ว่าปริมาณสำรองก๊าซของไทยไว้ใช้ในประเทศเพียงพอกับความต้องการได้ถึง 20 ปี (ปี 2569) ในอัตราวันละ 2,500 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า แม้ว่าในอนาคตไทยจะมีก๊าซใช้เพียงพอ แต่ก็มีโอกาสหมดลง จึงจำเป็นต้องสำรวจหาแหล่งก๊าซใหม่ๆในภูมิภาคเอเชียเป็นหลักและแหล่งก๊าซในตะวันออกกลางด้วย หรือการจัดหาแหล่งเชื้อเพลิงอื่นๆเพิ่มเติม ป้องกันปัญหาขาดแคลนเชื้อเพลิงในอนาคต อย่างการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ที่คาดว่าจะได้ความชัดเจนว่าจะก่อสร้างหรือไม่ก่อสร้างในอีก 3 ปีข้างหน้า แต่ต้องมีความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์ มีความปลอดภัย และประชาชนยอมรับ