ศ.ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (START) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงกรณีที่นักวิชาการออกมาระบุว่าประเทศไทยมีโอกาสเกิดหิมะตก ว่า ประเทศไทยมีโอกาสจะเกิดหิมะตกน้อยมากและเกิดขึ้นบางบริเวณเท่านั้น อย่างเช่นแถบภูเขาสูงทางภาคเหนือของประเทศ ซึ่งภายใน 100 ปี จะพบเพียง 1 ครั้งเท่านั้น ซึ่งการจะเกิดหิมะตกได้ในประเทศไทยต้องพิจารณาจากมวลอากาศเย็นที่มีความชื้นเพียงพอ ประกอบกับปัจจัยด้านปรากฏการณ์ลานินญา และมีอุณหภูมิต่ำกว่าติดลบ ประมาณ -1 หรือ -2 องศาเซลเซียสลงไป มีผลทำให้ฝนจะตกหนักและถี่ขึ้น หากเกิดพร้อมกันก็มีโอกาสเกิดหิมะตกได้ แต่เป็นไปได้ยากมาก ส่วนใหญ่หากเกิดขึ้นก็จะเป็นเพียงน้ำค้างแข็ง หรือน้ำในแอ่งน้ำแข็งตัวเท่านั้น แต่เป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ
นอกจากนี้ นักวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก ระบุว่า ระหว่างปี พ.ศ.2551-2552 จะไม่เกิดปรากฏการณ์ทั้งลานินญา และเอลนินโญ ดังนั้น โอกาสเกิดหิมะตกในไทยคงเกิดขึ้นยาก อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับประเทศเวียดนามแล้ว มีโอกาสเกิดหิมะตกมากกว่าไทย เนื่องจากมวลอากาศเย็นที่พัดผ่านเข้าประเทศมาจากตอนกลางของจีน ซึ่งเป็นบริเวณที่มีความชื้นมากกว่า
ศ.ดร.อานนท์ กล่าวอีกว่า การเกิดหิมะในประเทศไทยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย สำหรับการที่มีนักวิจัยบางรายระบุว่าอาจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของแกนโลกนั้น เรื่องนี้ยังไม่มีใครระบุได้ชัดเจน เพราะไม่เคยมีการศึกษามาก่อน
นอกจากนี้ นักวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก ระบุว่า ระหว่างปี พ.ศ.2551-2552 จะไม่เกิดปรากฏการณ์ทั้งลานินญา และเอลนินโญ ดังนั้น โอกาสเกิดหิมะตกในไทยคงเกิดขึ้นยาก อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับประเทศเวียดนามแล้ว มีโอกาสเกิดหิมะตกมากกว่าไทย เนื่องจากมวลอากาศเย็นที่พัดผ่านเข้าประเทศมาจากตอนกลางของจีน ซึ่งเป็นบริเวณที่มีความชื้นมากกว่า
ศ.ดร.อานนท์ กล่าวอีกว่า การเกิดหิมะในประเทศไทยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย สำหรับการที่มีนักวิจัยบางรายระบุว่าอาจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของแกนโลกนั้น เรื่องนี้ยังไม่มีใครระบุได้ชัดเจน เพราะไม่เคยมีการศึกษามาก่อน