วันพรุ่งนี้ (21 ต.ค.) คณะรัฐมนตรีเตรียมพิจารณาแก้ไขราคารับจำนำข้าวเปลือกนาปี โดยกำหนดราคาข้าวตันละ 12,000 บาท จากเดิม 14,000 บาท
นายชัยพร พรมพันธ์ ชาวนา จ.สุพรรณบุรี ไม่เห็นด้วยกับราคารับจำนำที่ลดลง เพราะปกติแล้วชาวนามักไม่ได้ราคาตามประกาศรับจำนำ เพราะต้องหักค่าความชื้น ขณะที่ต้นทุนต่อไร่สูงถึง 6,00-7,000 บาท จากราคาค่าปุ๋ยที่ยังสูงมาก และโรงสีข้าวหลายแห่งกดราคารับซื้อข้าวจากชาวนา เหลือตันละ 8,500-9,000 บาท จึงเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งเปิดโครงการรับจำนำข้าวด้วย
ขณะที่ผู้ประกอบการโรงสีข้าวรายหนึ่ง ยอมรับว่า ได้ซื้อข้าวจากชาวนาในราคา 12,000-13,000 บาท เพื่อเตรียมเข้าโครงการรับจำนำ ดังนั้นหากรัฐบาลประกาศราคารับซื้อตันละ 12,000 บาท จะทำให้โรงสีหลายแห่งขาดทุน
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า การปรับลดราคารับจำนำ เหลือตันละ 12,000 บาท จะช่วยลดแรงกดดันจากการแข่งขันในตลาดโลก และลดปัญหาการทุจริตในการระบายข้าว แต่อาจจะไม่ช่วยผู้ส่งออกสามารถระบายข้าวได้ทันที เนื่องจากข้าวไทยยังมีราคาสูงกว่าข้าวเวียดนาม กว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 3,300 บาท ขณะที่ผลผลิตข้าวของอินเดีย ซึ่งมีคุณภาพสูง และราคาถูก จะเริ่มออกสู่ตลาดปีนี้ อาจทำให้ไทยเสียโอกาสจากการส่งออกข้าว
ส่วนการระบายข้าวในสต๊อกรัฐบาลนั้น หากรัฐบาลระบายเฉพาะข้าวเก่า จะทำให้ผู้ส่งออกสนใจเข้าร่วมประมูล แต่ถ้ามีการซื้อข้าวเก่าพ่วงข้าวใหม่ที่เพิ่งรับจำนำ ราคาส่งออกยังสูงกว่าคู่แข่ง ทำให้ผู้ส่งออกอาจไม่ร่วมประมูล
การประชุมคณะรัฐมนตรี วันพรุ่งนี้ จะมีการพิจารณาโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี 2551/2552 โดยกำหนดราคารับจำนำ ข้าวหอมมะลิตันละ 16,000 บาท ข้าวขาว ตันละ 12,000 บาท และข้าวเหนียว ตันละ 8,000-9,000 บาท พร้อมขยายระยะเวลาการถ่ายถอนคืนจาก 90 วัน เป็น 120 วัน
นายชัยพร พรมพันธ์ ชาวนา จ.สุพรรณบุรี ไม่เห็นด้วยกับราคารับจำนำที่ลดลง เพราะปกติแล้วชาวนามักไม่ได้ราคาตามประกาศรับจำนำ เพราะต้องหักค่าความชื้น ขณะที่ต้นทุนต่อไร่สูงถึง 6,00-7,000 บาท จากราคาค่าปุ๋ยที่ยังสูงมาก และโรงสีข้าวหลายแห่งกดราคารับซื้อข้าวจากชาวนา เหลือตันละ 8,500-9,000 บาท จึงเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งเปิดโครงการรับจำนำข้าวด้วย
ขณะที่ผู้ประกอบการโรงสีข้าวรายหนึ่ง ยอมรับว่า ได้ซื้อข้าวจากชาวนาในราคา 12,000-13,000 บาท เพื่อเตรียมเข้าโครงการรับจำนำ ดังนั้นหากรัฐบาลประกาศราคารับซื้อตันละ 12,000 บาท จะทำให้โรงสีหลายแห่งขาดทุน
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า การปรับลดราคารับจำนำ เหลือตันละ 12,000 บาท จะช่วยลดแรงกดดันจากการแข่งขันในตลาดโลก และลดปัญหาการทุจริตในการระบายข้าว แต่อาจจะไม่ช่วยผู้ส่งออกสามารถระบายข้าวได้ทันที เนื่องจากข้าวไทยยังมีราคาสูงกว่าข้าวเวียดนาม กว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 3,300 บาท ขณะที่ผลผลิตข้าวของอินเดีย ซึ่งมีคุณภาพสูง และราคาถูก จะเริ่มออกสู่ตลาดปีนี้ อาจทำให้ไทยเสียโอกาสจากการส่งออกข้าว
ส่วนการระบายข้าวในสต๊อกรัฐบาลนั้น หากรัฐบาลระบายเฉพาะข้าวเก่า จะทำให้ผู้ส่งออกสนใจเข้าร่วมประมูล แต่ถ้ามีการซื้อข้าวเก่าพ่วงข้าวใหม่ที่เพิ่งรับจำนำ ราคาส่งออกยังสูงกว่าคู่แข่ง ทำให้ผู้ส่งออกอาจไม่ร่วมประมูล
การประชุมคณะรัฐมนตรี วันพรุ่งนี้ จะมีการพิจารณาโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี 2551/2552 โดยกำหนดราคารับจำนำ ข้าวหอมมะลิตันละ 16,000 บาท ข้าวขาว ตันละ 12,000 บาท และข้าวเหนียว ตันละ 8,000-9,000 บาท พร้อมขยายระยะเวลาการถ่ายถอนคืนจาก 90 วัน เป็น 120 วัน