นางธนนุช ตรีทิพยบุตร เลขาธิการสำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่า ผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรล่าสุด ในเดือนสิงหาคม 2551 พบว่ามีผู้ว่างงานประมาณ 450,000 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานในภาพรวมการทำงานร้อยละ 1.2 ลดลงจากเดือนกรกฎาคม ประมาณ 40,000 คน โดยกรุงเทพมหานคร มีอัตราการว่างงานสูงสุดถึงร้อยละ 1.9 หรือกว่า 5,000 คน รองลงมาคือภาคกลางร้อยละ 1.4 ภาคใต้ร้อยละ 1.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 1.0 และภาคเหนือร้อยละ 0.9 ตามลำดับ
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบภาวะการว่างงานปีนี้กับปีที่แล้วพบว่า อัตราการว่างงานในกรุงเทพมหานคร เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ภาคใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ขณะที่ภาคเหนือลดลงร้อยละ 0.2 และภาคกลางลดลงร้อยละ 0.1 โดยจำนวนผู้ว่างงานทั้งหมดเป็นผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อน 190,000 คน และเป็นผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน 260,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ว่างงานจากภาคการบริการ 130,000 คน ภาคการผลิต 90,000 คน และภาคเกษตรกรรม 40,000 คน และจากผลการสำรวจยังพบว่าผู้ที่จบการศึกษาในระดับ อุดมศึกษาว่างงานสูงสุด 130,000 คน รองลงมาเป็นผู้มีการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 120,000 คน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 110,000 คน ระดับประถมศึกษา 60,000 คน และผู้ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 30,000 คน ตามลำดับ
นางธนนุช กล่าวอีกว่า สำหรับผู้มีงานทำ มีจำนวน 37.89 ล้านคน แยกเป็นผู้ทำงานนอกภาคเกษตรกรรม 22.40 ล้านคน หรือร้อยละ 59.1 และภาคเกษตรกรรม 15.49 ล้านคน หรือร้อยละ 40.9 โดยผู้มีงานทำในภาพรวมเพิ่มขึ้น 490,000 คน แยกเป็นผู้มีงานทำนอกภาคเกษตรกรรม เพิ่มขึ้นในสาขาก่อสร้าง 190,000 คน สาขาขายส่งและขายปลีกเพิ่มขึ้น 180,000 คน สาขาการขนส่งเพิ่มขึ้น 90,000 คน สาขาการบริหารราชการและการป้องกันประเทศเพิ่มขึ้น 70,000 คน สาขาการโรงแรมและภัตตาคารเพิ่มขึ้น 40,000 คน ส่วนสาขาการผลิตลดลง 290,000 คน ที่เหลืออยู่ในสาขาอื่นๆ สำหรับผู้มีงานทำในภาคเกษตรกรรมลดลง 70,000 คน
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบภาวะการว่างงานปีนี้กับปีที่แล้วพบว่า อัตราการว่างงานในกรุงเทพมหานคร เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ภาคใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ขณะที่ภาคเหนือลดลงร้อยละ 0.2 และภาคกลางลดลงร้อยละ 0.1 โดยจำนวนผู้ว่างงานทั้งหมดเป็นผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อน 190,000 คน และเป็นผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน 260,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ว่างงานจากภาคการบริการ 130,000 คน ภาคการผลิต 90,000 คน และภาคเกษตรกรรม 40,000 คน และจากผลการสำรวจยังพบว่าผู้ที่จบการศึกษาในระดับ อุดมศึกษาว่างงานสูงสุด 130,000 คน รองลงมาเป็นผู้มีการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 120,000 คน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 110,000 คน ระดับประถมศึกษา 60,000 คน และผู้ไม่มีการศึกษาและต่ำกว่าประถมศึกษา 30,000 คน ตามลำดับ
นางธนนุช กล่าวอีกว่า สำหรับผู้มีงานทำ มีจำนวน 37.89 ล้านคน แยกเป็นผู้ทำงานนอกภาคเกษตรกรรม 22.40 ล้านคน หรือร้อยละ 59.1 และภาคเกษตรกรรม 15.49 ล้านคน หรือร้อยละ 40.9 โดยผู้มีงานทำในภาพรวมเพิ่มขึ้น 490,000 คน แยกเป็นผู้มีงานทำนอกภาคเกษตรกรรม เพิ่มขึ้นในสาขาก่อสร้าง 190,000 คน สาขาขายส่งและขายปลีกเพิ่มขึ้น 180,000 คน สาขาการขนส่งเพิ่มขึ้น 90,000 คน สาขาการบริหารราชการและการป้องกันประเทศเพิ่มขึ้น 70,000 คน สาขาการโรงแรมและภัตตาคารเพิ่มขึ้น 40,000 คน ส่วนสาขาการผลิตลดลง 290,000 คน ที่เหลืออยู่ในสาขาอื่นๆ สำหรับผู้มีงานทำในภาคเกษตรกรรมลดลง 70,000 คน