สำนักงานสถิติแห่งชาติ แจงกลุ่มคนตกงาน ตั้งแต่ปี 2539-2551 เผยยังน่าเป็นห่วงอย่างต่อเนื่องในปี 2552 มีแนวโน้มคนตกงานสูงขึ้น พบภาคใต้มีอัตราการว่างงานสูงสุด ขณะที่อีสานว่างงานน้อยสุด คาดปี 52 บัณฑิตจบใหม่ว่างงาน 2 แสนคน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้สำรวจภาวะการทำงานของประชากร เดือนธันวาคม พ.ศ.2551 พบว่า ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป 52.45 ล้านคน เป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงาน 37.98 ล้านคน ผู้ว่างงาน 5.4แสนคน
ส่วนจำนวนผู้ว่างงานในช่วง เดือนธันวาคม พ.ศ.2551 มีจำนวนทั้งสิ้น 5.4 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงานร้อนละ 1.4 แบ่งออกเป็นรายภาคในภาคใต้มีอัตราการว่างงานสูงที่สุดถึง 2.8 รองลงมาเป็นกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 1.6 ภาคกลางร้อยละ 1.5 ภาคเหนือร้อยละ 1.1 ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการว่างงานน้อยที่สุดคือ ร้อยละ 0.9
เมื่อเปรียบเทียบอัตราการว่างงานในช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2550 พบว่า อัตราการว่างงานมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 0.6 อัตราการเพิ่มขึ้นของแรงงานที่ว่างงานแบ่งเป็นรายภาค พบว่าในภาคใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 กรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ส่วนภาคกลางเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 และในเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มขึ้นเท่ากันคือร้อยละ 0.3
ทั้งนี้ การอัตราการว่างงานในแต่ละกลุ่มอายุ พบว่า กลุ่มเยาวชน (อายุ 15-24) มีจำนวนถึง 2.6 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 4.8 และกลุ่มวัยทำงาน (อายุ 25 ปีขึ้นไป)จำนวน 2.8 แสนคนอัตราการว่างงานร้อยละ0.8 ส่วนของการว่างงานในกลุ่มวัยเยาวชนนั้นจะมีมากกว่ากลุ่มอื่นเนื่องจากส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เพิ่งจบการศึกษาใหม่ ทำให้โอกาสการบรรจุเข้าทำงานมีน้อยกว่าและยังขาดประสบการณ์ในการทำงาน ซึ่งการคาดการณ์ในปี 2552 นี้คาดว่าจะมีนักศึกษาจบใหม่ที่ตกงานเป็นจำนวนสูงถึง 2 แสนคน
ด้านของผู้ว่างงานตามประสบการณ์การทำงาน ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 พบว่าจากจำนวนผู้ว่างงาน 5.4 แสนคนเป็นผู้ที่ไม่เคยทำงานมาก่อน 1.5 แสนคน และผู้ที่เคยทำงานมาก่อนเป็นผู้ว่างงานจากภาคเกษตรกรรม 3 แสนคน ซึ่งประกอบด้วยภาคการผลิต 1.4 แสนคน ภาคการบริการ 1.6 แสนคน ส่วนผู้ที่ว่างงานจากภาคเกษตรกรรมมีจำนวน 9 หมื่นคน
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า จากการเปรียบเทียบอัตราการว่างงาน จากข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรตั้งแต่ พ.ศ.2539 ถึง พ.ศ.2551 จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าในช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศในช่วง พ.ศ.2541 ส่งผลให้มีผู้ว่างงานสูงถึง 1.4ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 4.4 แต่หลังจากนั้นการว่างงานลดลงอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549-2550 อัตราการว่างงานเริ่มชะลอตัวลดลง จนในปี 2551 อัตราการว่างงานคงที่
ทั้งนี้ การสรุปการว่างงานของประชากร ในเดือนธันวาคม พ.ศ.2551 ผู้มีงานทำทั้งสิ้น 37.98 ล้านคน เพิ่มขึ้น 5.5 แสนคน หรือเพิ่มร้อยละ 1.4 ส่วนภาวะการว่างงานมีจำนวน 5.4 แสนคน คิดเป็นอัตราร้อยละ 1.4 และแนวโน้มการว่างงานที่จะเพิ่มมากขึ้นมีถึง 2.2 แสนคน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 แต่หากเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมา ผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 2 หมื่นคน (เพิ่มขึ้นจาก 5.2 แสนคนเป็น5.4 แสนคน) เห็นได้ว่าภาวะการว่างงานมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้สำรวจภาวะการทำงานของประชากร เดือนธันวาคม พ.ศ.2551 พบว่า ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป 52.45 ล้านคน เป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงาน 37.98 ล้านคน ผู้ว่างงาน 5.4แสนคน
ส่วนจำนวนผู้ว่างงานในช่วง เดือนธันวาคม พ.ศ.2551 มีจำนวนทั้งสิ้น 5.4 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงานร้อนละ 1.4 แบ่งออกเป็นรายภาคในภาคใต้มีอัตราการว่างงานสูงที่สุดถึง 2.8 รองลงมาเป็นกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 1.6 ภาคกลางร้อยละ 1.5 ภาคเหนือร้อยละ 1.1 ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการว่างงานน้อยที่สุดคือ ร้อยละ 0.9
เมื่อเปรียบเทียบอัตราการว่างงานในช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2550 พบว่า อัตราการว่างงานมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 0.6 อัตราการเพิ่มขึ้นของแรงงานที่ว่างงานแบ่งเป็นรายภาค พบว่าในภาคใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 กรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ส่วนภาคกลางเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 และในเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มขึ้นเท่ากันคือร้อยละ 0.3
ทั้งนี้ การอัตราการว่างงานในแต่ละกลุ่มอายุ พบว่า กลุ่มเยาวชน (อายุ 15-24) มีจำนวนถึง 2.6 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 4.8 และกลุ่มวัยทำงาน (อายุ 25 ปีขึ้นไป)จำนวน 2.8 แสนคนอัตราการว่างงานร้อยละ0.8 ส่วนของการว่างงานในกลุ่มวัยเยาวชนนั้นจะมีมากกว่ากลุ่มอื่นเนื่องจากส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เพิ่งจบการศึกษาใหม่ ทำให้โอกาสการบรรจุเข้าทำงานมีน้อยกว่าและยังขาดประสบการณ์ในการทำงาน ซึ่งการคาดการณ์ในปี 2552 นี้คาดว่าจะมีนักศึกษาจบใหม่ที่ตกงานเป็นจำนวนสูงถึง 2 แสนคน
ด้านของผู้ว่างงานตามประสบการณ์การทำงาน ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 พบว่าจากจำนวนผู้ว่างงาน 5.4 แสนคนเป็นผู้ที่ไม่เคยทำงานมาก่อน 1.5 แสนคน และผู้ที่เคยทำงานมาก่อนเป็นผู้ว่างงานจากภาคเกษตรกรรม 3 แสนคน ซึ่งประกอบด้วยภาคการผลิต 1.4 แสนคน ภาคการบริการ 1.6 แสนคน ส่วนผู้ที่ว่างงานจากภาคเกษตรกรรมมีจำนวน 9 หมื่นคน
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า จากการเปรียบเทียบอัตราการว่างงาน จากข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรตั้งแต่ พ.ศ.2539 ถึง พ.ศ.2551 จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าในช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศในช่วง พ.ศ.2541 ส่งผลให้มีผู้ว่างงานสูงถึง 1.4ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 4.4 แต่หลังจากนั้นการว่างงานลดลงอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549-2550 อัตราการว่างงานเริ่มชะลอตัวลดลง จนในปี 2551 อัตราการว่างงานคงที่
ทั้งนี้ การสรุปการว่างงานของประชากร ในเดือนธันวาคม พ.ศ.2551 ผู้มีงานทำทั้งสิ้น 37.98 ล้านคน เพิ่มขึ้น 5.5 แสนคน หรือเพิ่มร้อยละ 1.4 ส่วนภาวะการว่างงานมีจำนวน 5.4 แสนคน คิดเป็นอัตราร้อยละ 1.4 และแนวโน้มการว่างงานที่จะเพิ่มมากขึ้นมีถึง 2.2 แสนคน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 แต่หากเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมา ผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 2 หมื่นคน (เพิ่มขึ้นจาก 5.2 แสนคนเป็น5.4 แสนคน) เห็นได้ว่าภาวะการว่างงานมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้น