นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ เลกูเรเตอร์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการวันนี้ (16 ก.ย.) ยังไม่มีข้อยุติถึงอัตราการเพิ่มขึ้นของค่าเอฟทีงวดใหม่ โดยอนุกรรมการเอฟทีจะสรุปกันในวันที่ 18 กันยายนนี้ แต่ที่ประชุมได้มีข้อยุติเรื่องการลดต้นทุน โดยจะนำเงินจากค่าก๊าซที่มีการจ่ายล่วงหน้าเมื่อปี 2551 มาใช้ โดยจะลดต้นทุนได้ประมาณ 10-11 สตางค์ต่อหน่วย ขณะต้นทุนค่าไฟฟ้าที่จะต้องเพิ่มขึ้นจริง จะอยู่ที่ประมาณ 40 สตางค์ต่อหน่วย จึงต้องหันมาใช้แนวทางอื่น ที่จะเข้ามาลดต้นทุน เพื่อเป็นการลดภาระให้กับประชาชน โดยทิศทางค่าไฟฟ้างวดนี้จะปรับเพิ่มขึ้นมากกว่า 10 สตางค์ต่อหน่วย ส่วนค่าไฟฟ้าที่เพิ่มจริงในส่วนที่เหลือ จะนำไปคำนวณเฉลี่ยสำหรับค่าเอฟทีในงวดต่อไป ซึ่งยอมรับว่า ทาง กฟผ.จะต้องเข้ามาร่วมรับภาระในงวดนี้ก่อน และจะได้รับการจ่ายเงินคืนอีกในงวดต่อๆ ไป
สำหรับต้นทุนค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในงวดนี้ ประเด็นหลักเกิดขึ้นจากราคาก๊าซธรรมชาติ ที่เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า ต้นทุนขยับขึ้นมาที่ประมาณ 230 บาทต่อล้านบีทียู ตามราคาน้ำมันเตาที่ปรับสูงขึ้นในรอบ 6-12 เดือนที่ผ่านมา
นายนอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า นโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ให้มีการพิจารณาว่า จะทำอย่างไร จะเป็นการลดภาระประชาชน จึงได้มีการเกลี่ยค่าเอฟทีออกมาในเรื่องนี้
สำหรับต้นทุนค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในงวดนี้ ประเด็นหลักเกิดขึ้นจากราคาก๊าซธรรมชาติ ที่เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า ต้นทุนขยับขึ้นมาที่ประมาณ 230 บาทต่อล้านบีทียู ตามราคาน้ำมันเตาที่ปรับสูงขึ้นในรอบ 6-12 เดือนที่ผ่านมา
นายนอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า นโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ให้มีการพิจารณาว่า จะทำอย่างไร จะเป็นการลดภาระประชาชน จึงได้มีการเกลี่ยค่าเอฟทีออกมาในเรื่องนี้