นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง "ชาวต่างประเทศมองประเทศไทยอย่างไร หลังเกิดเหตุปะทะกันรุนแรงและการประกาศภาวะฉุกเฉิน" กรณีศึกษาตัวอย่างนักธุรกิจ นักลงทุนและนักท่องเที่ยวต่างชาติ จำนวน 532 ราย ระหว่างวันที่ 2-5 กันยายน 2551 พบว่า ชาวต่างประเทศรับทราบความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกับรัฐบาล เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 38.5 ในช่วงก่อนเกิดเหตุปะทะกันรุนแรง มาอยู่ที่ร้อยละ 88.7 ในช่วงหลังเกิดเหตุปะทะกันและประกาศภาวะฉุกเฉิน ซึ่งเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 50.2 และร้อยละ 59.3 คิดว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่ปกติธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่ร้อยละ 40.7 คิดว่าไม่ใช่เรื่องปกติธรรมดา และประมาณครึ่งหรือร้อยละ 49.5 ได้รับผลกระทบหลังจากเหตุปะทะขณะที่ร้อยละ 50.5 ไม่ได้รับผลกระทบใดๆ
เมื่อวัดความพึงพอใจจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่าความพึงพอใจของชาวต่างประเทศลดต่ำลงในวงจำกัด 3 ด้าน คือ ด้านสถานการณ์การเมือง ชาวต่างประเทศพอใจลดต่ำสุดจาก 6.27 มาอยู่ที่ 4.96 ด้านสภาวะเศรษฐกิจลดจาก 6.59 มาอยู่ที่ 5.91 และด้านความเป็นธรรมในสังคมลดจาก 6.02 มาอยู่ที่ 5.57
อย่างไรก็ตาม ด้านอื่นๆ กลับเพิ่มขึ้นได้แก่ พอใจต่อประชาชนคนไทยเพิ่มจาก 8 มาอยู่ที่ 8.20 ด้านวัฒนธรรมไทยเพิ่มจาก 7.86 มาอยู่ที่ 8.12 ด้านอาหารไทยเพิ่มจาก 8 มาอยู่ที่ 8.16 ด้านสถานที่ท่องเที่ยวเพิ่มจาก 7.14 มาอยู่ที่ 7.43 ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้นจาก 7.28 มาอยู่ที่ 7.32 ด้านการบริการของด่านตรวจคนเข้าเมืองเพิ่มจาก 7.13 มาอยู่ที่ 7.25 เมื่อสอบถามถึงความสุขมวลรวมของชาวต่างประเทศในประเทศไทย เปรียบเทียบก่อนและหลังเกิดเหตุปะทะรุนแรงและประกาศภาวะฉุกเฉิน พบว่า ความสุขมวลรวมของชาวต่างประเทศกลับไม่แตกต่างคือ จาก 8.02 มาอยู่ที่ 8.06
นอกจากนี้ เมื่อถามว่าจะกลับมาเที่ยวประเทศไทยอีกหรือไม่ ส่วนใหญ่ตอบว่า จะกลับมาอีก คือร้อยละ 96.7 ก่อนเกิดเหตุปะทะ และร้อยละ 97.0 หลังเหตุปะทะและประกาศภาวะฉุกเฉินระบุว่า จะกลับมาอีก และเมื่อถามว่าจะชักชวนคนอื่นๆ ในประเทศมาเที่ยวเมืองไทยอีกหรือไม่ พบว่า ร้อยละ 97.6 ก่อนเกิดเหตุปะทะ และเกือบร้อยละ 100 หรือร้อยละ 98.9 ระบุจะยังคงชักชวนคนอื่นๆ ในประเทศกลับมาเที่ยวประเทศไทยอีก
เมื่อวัดความพึงพอใจจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่าความพึงพอใจของชาวต่างประเทศลดต่ำลงในวงจำกัด 3 ด้าน คือ ด้านสถานการณ์การเมือง ชาวต่างประเทศพอใจลดต่ำสุดจาก 6.27 มาอยู่ที่ 4.96 ด้านสภาวะเศรษฐกิจลดจาก 6.59 มาอยู่ที่ 5.91 และด้านความเป็นธรรมในสังคมลดจาก 6.02 มาอยู่ที่ 5.57
อย่างไรก็ตาม ด้านอื่นๆ กลับเพิ่มขึ้นได้แก่ พอใจต่อประชาชนคนไทยเพิ่มจาก 8 มาอยู่ที่ 8.20 ด้านวัฒนธรรมไทยเพิ่มจาก 7.86 มาอยู่ที่ 8.12 ด้านอาหารไทยเพิ่มจาก 8 มาอยู่ที่ 8.16 ด้านสถานที่ท่องเที่ยวเพิ่มจาก 7.14 มาอยู่ที่ 7.43 ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้นจาก 7.28 มาอยู่ที่ 7.32 ด้านการบริการของด่านตรวจคนเข้าเมืองเพิ่มจาก 7.13 มาอยู่ที่ 7.25 เมื่อสอบถามถึงความสุขมวลรวมของชาวต่างประเทศในประเทศไทย เปรียบเทียบก่อนและหลังเกิดเหตุปะทะรุนแรงและประกาศภาวะฉุกเฉิน พบว่า ความสุขมวลรวมของชาวต่างประเทศกลับไม่แตกต่างคือ จาก 8.02 มาอยู่ที่ 8.06
นอกจากนี้ เมื่อถามว่าจะกลับมาเที่ยวประเทศไทยอีกหรือไม่ ส่วนใหญ่ตอบว่า จะกลับมาอีก คือร้อยละ 96.7 ก่อนเกิดเหตุปะทะ และร้อยละ 97.0 หลังเหตุปะทะและประกาศภาวะฉุกเฉินระบุว่า จะกลับมาอีก และเมื่อถามว่าจะชักชวนคนอื่นๆ ในประเทศมาเที่ยวเมืองไทยอีกหรือไม่ พบว่า ร้อยละ 97.6 ก่อนเกิดเหตุปะทะ และเกือบร้อยละ 100 หรือร้อยละ 98.9 ระบุจะยังคงชักชวนคนอื่นๆ ในประเทศกลับมาเที่ยวประเทศไทยอีก