รศ.ดร.ศรัณย์ วรรธนัจฉริยา ประธานกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา กล่าวว่า ปัจจุบันทรัพยากรประมงทะเลของไทยลดลงอย่างมาก เนื่องจากมีการทำการประมงมากเกินกว่าระดับการผลิตของธรรมชาติ (Overfishing) ทั้งนี้ประเทศไทยมีเรือประมงในน่านน้ำไทยทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน รวมทั้งสิ้นประมาณ 60,000 ลำ นับว่ามีมากเมื่อเทียบกับปริมาณสัตว์น้ำและพื้นที่ทำการประมง ซึ่งจำนวนเรือประมงที่มากเกินไป ทำให้การจับสัตว์น้ำหรือการทำการประมงในช่วงที่ผ่านมาประสบปัญหาการขาดทุน จากต้นทุนน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้การจับสัตว์น้ำในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พบว่า ทรัพยากรประมงในน่านน้ำไทยมีปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากการทำการประมงโดยเรือประมงและการทำการประมงพื้นบ้าน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมชายฝั่ง และแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำถูกทำลายหรือเสื่อมโทรมลง จากกิจกรรมของมนุษย์ที่ใช้ทรัพยากรอย่างไม่เหมาะสม
ดังนั้น การแก้ไขปัญหาทรัพยากรประมงให้กลับคืนมา ต้องศึกษาวิจัยในเชิงบูรณาการจากหลายหน่วยงาน โดยมีนักวิจัยในแต่ละพื้นที่ หรือเจ้าของพื้นที่ที่มีปัญหาร่วมทำการวิจัยและเป็นผู้ดูแล หรือมีส่วนร่วมในการควบคุมกฎระเบียบ ให้เป็นไปตามระบบและเหมาะสม ซึ่งจะเป็นแนวทางการวิจัยและพัฒนาด้านทรัพยากรประมงของประเทศ ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือยุทธศาสตร์ของชาติด้วย
คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา จึงกำหนดจัดการประชุมระดมความคิดเพื่อกำหนดกรอบการวิจัย เรื่อง "การวิจัยและพัฒนาด้านทรัพยากรประมง" ขึ้น ในเช้าวันนี้ (14 ส.ค.) เวลา 09.00 น. ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น เพื่อให้ได้กรอบงานวิจัยที่จะนำไปสู่การสนับสนุนงานวิจัยด้านทรัพยากรประมงต่อไป
ดังนั้น การแก้ไขปัญหาทรัพยากรประมงให้กลับคืนมา ต้องศึกษาวิจัยในเชิงบูรณาการจากหลายหน่วยงาน โดยมีนักวิจัยในแต่ละพื้นที่ หรือเจ้าของพื้นที่ที่มีปัญหาร่วมทำการวิจัยและเป็นผู้ดูแล หรือมีส่วนร่วมในการควบคุมกฎระเบียบ ให้เป็นไปตามระบบและเหมาะสม ซึ่งจะเป็นแนวทางการวิจัยและพัฒนาด้านทรัพยากรประมงของประเทศ ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือยุทธศาสตร์ของชาติด้วย
คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา จึงกำหนดจัดการประชุมระดมความคิดเพื่อกำหนดกรอบการวิจัย เรื่อง "การวิจัยและพัฒนาด้านทรัพยากรประมง" ขึ้น ในเช้าวันนี้ (14 ส.ค.) เวลา 09.00 น. ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น เพื่อให้ได้กรอบงานวิจัยที่จะนำไปสู่การสนับสนุนงานวิจัยด้านทรัพยากรประมงต่อไป