นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า จากข้อมูลองค์การสหประชาชาติ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่าอัตราการพึ่งพิงของประชากรผู้สูงอายุต่อวัยแรงงาน มีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง จากในปี 2550 ที่มีจำนวนอัตราการพึ่งพิงของผู้สูงอายุร้อยละ 10 มาเป็นเกือบเท่าตัวในปี 2553 ถึงร้อยละ 19.6 และเป็นเกือบ 3 เท่าตัว ในปี 2568 สูงถึงร้อยละ 29.6 แสดงให้เห็นว่าตั้งแต่ปี 2568 อัตราส่วนการพึ่งพิงในวัยสูงอายุจะทวีเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่าสังคมไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ
ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนมีรายได้เพียงพอสำหรับอนาคต ทุกคน รวมถึงหน่วยงาน ควรหันมาส่งเสริมวินัยการออม ทั้งการออมด้วยตนเอง และการออมผ่านระบบบังคับ ตั้งแต่อยู่ในวัยทำงาน เพราะหากไม่ส่งเสริมให้คนออมเพิ่มขึ้นตั้งแต่อยู่ในวัยทำงาน จะส่งผลกระทบและสร้างความเสี่ยงที่จะต้องเผชิญกับปัญหาความแร้นแค้นทางเศรษฐกิจในบั้นปลายชีวิตได้
ขณะที่กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เปิดให้สมาชิกเข้าร่วมโครงการออมเพิ่ม โดยเลือกออมเพิ่มมากกว่าเดิมได้ตั้งแต่ร้อยละ 1 - 12 เมื่อรวมกับเงินสะสมเดิมที่นำส่งตามกำหนดในกฎกระทรวงแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินเดือน รัฐบาลยังคงส่งเงินสมทบและเงินชดเชยในอัตราเดิม คือร้อยละ 3 และร้อยละ 2 ของเงินเดือน ซึ่งเงินส่วนเพิ่มนี้สมาชิกจะได้รับเมื่อพ้นสมาชิกภาพเท่านั้น ไม่สามารถขอคืนระหว่างที่เป็นสมาชิกได้
ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนมีรายได้เพียงพอสำหรับอนาคต ทุกคน รวมถึงหน่วยงาน ควรหันมาส่งเสริมวินัยการออม ทั้งการออมด้วยตนเอง และการออมผ่านระบบบังคับ ตั้งแต่อยู่ในวัยทำงาน เพราะหากไม่ส่งเสริมให้คนออมเพิ่มขึ้นตั้งแต่อยู่ในวัยทำงาน จะส่งผลกระทบและสร้างความเสี่ยงที่จะต้องเผชิญกับปัญหาความแร้นแค้นทางเศรษฐกิจในบั้นปลายชีวิตได้
ขณะที่กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เปิดให้สมาชิกเข้าร่วมโครงการออมเพิ่ม โดยเลือกออมเพิ่มมากกว่าเดิมได้ตั้งแต่ร้อยละ 1 - 12 เมื่อรวมกับเงินสะสมเดิมที่นำส่งตามกำหนดในกฎกระทรวงแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินเดือน รัฐบาลยังคงส่งเงินสมทบและเงินชดเชยในอัตราเดิม คือร้อยละ 3 และร้อยละ 2 ของเงินเดือน ซึ่งเงินส่วนเพิ่มนี้สมาชิกจะได้รับเมื่อพ้นสมาชิกภาพเท่านั้น ไม่สามารถขอคืนระหว่างที่เป็นสมาชิกได้