นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการ คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า สศช.ได้จัดทำการคาดการณ์ประชากรของไทยในช่วง 30 ปี ตั้งแต่ปี 2543-2573 ใหม่ โดยพบว่าประชากรไทยเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงจาก 62.42 ล้านคนในปี 2543 เป็น 70.65 ล้านคน ในปี 2568 และเริ่มลดเหลือ 70.63 ล้านคนในปี 2573 เนื่องจากภาวะเจริญพันธุ์ที่ลดลงจาก1.81 ในปี 2543 เป็น 1.60 ในปี 2549 และลดเหลือ 1.35 ในปี 2573
ทั้งนี้ การประมาณการประชากรในอนาคตเป็นข้อมูลสำคัญ สำหรับการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ ทั้งในระดับชาติ และการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด กลุ่มจังหวัด ซึ่งจำเป็นต้องใช้ข้อมูลด้านประชากรเป็นฐานในการกำหนดนโยบายและมาตรการต่างๆ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงประชากรมีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการพัฒนา จึงต้องจัดทำการคาดประมาณประชากรที่สามารถแสดงให้เห็นถึงแนวโน้ม และขนาดของประชากรในอนาคตในช่วง 20-30 ปีข้างหน้า เพื่อช่วยให้การกำหนดนโยบายเป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม
การจัดทำการคาดการณ์ประชากรของไทย ใช้ข้อมูลจากสำมะโนประชากร และเคหะปี 2543 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นฐานของการคาดประมาณประชากร ซึ่งก่อนหน้านี้ ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) ได้มีการจัดทำการคาดประมาณประชากรในช่วงปี 2543-2568 ไป แล้ว แต่เนื่องจากภาวะเจริญพันธุ์ ภาวะการตาย และการย้ายถิ่น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการคาดประมาณประชากรเปลี่ยนแปลงไป จึงทำให้ สศช. ต้องทบทวนและจัดทำการคาดการณ์ขึ้นใหม่ เพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนอื่นๆที่เกี่ยวข้องให้สอดรับกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง และเพื่อการเผยแพร่ เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน
สำหรับการประมาณการประชากรของไทยครั้งนี้ ได้จัดทำเป็น 3 ระดับ คือ การคาดประมาณประชากรระดับประเทศ พ.ศ. 2543-2573 ภายใต้ข้อสมมติภาวะเจริญพันธุ์ระดับปานกลาง และระดับสูง และข้อสมมติภาวะการตาย การคาดประมาณประชากรระดับภาคพ.ศ. 2543-2568 และการคาดประมาณประชากรระดับจังหวัดพ.ศ. 2543-2563
โดยผลการคาดประมาณประชากร ระดับประเทศ พ.ศ. 2543 - 2573 ภายใต้ข้อสมมติด้านภาวะเจริญพันธุ์ระดับปานกลาง พบว่า ภาวะเจริญพันธุ์ลดลงจาก 1.81 ในปี พ.ศ. 2543 เหลือ 1.35 ในปี พ.ศ. 2573ส่งผลให้ประชากรทั่วราชอาณาจักรเพิ่มจำนวนขึ้นจาก 62.24 ล้านคนในปี พ.ศ. 2543 เป็น 70.65 ล้านคนในปี พ.ศ. 2568 และเริ่มลดลงเหลือ 70.63 ในปีพ.ศ. 2573 โดยระหว่างปี พ.ศ. 2543-2548 อัตราการเพิ่มของประชากรเป็นร้อยละ 0.92 ต่อปี หลังจากนั้น ประชากรมีการเพิ่มในอัตราที่ลดลง คือ ร้อยละ 0.68, 0.50, 0.32, 0.16 และ -0.01 ในช่วงปี พ.ศ. 2548-2553, พ.ศ. 2553-2558, พ.ศ. 2558-2563, พ.ศ. 2563-2568 และพ.ศ. 2568-2573 เป็นผลจากภาวะเจริญพันธุ์ที่ลดลง ทำให้มีเด็กเกิดลดลง ในขณะที่ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น ทำให้มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น จนในช่วง 5 ปีสุดท้ายของการประมาณการ มีเด็กเกิดน้อยกว่าประชากรที่ตาย ทำให้ขนาดประชากรลดลง
สำหรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไทยในอนาคต พบว่า ในช่วงระยะเวลา 30 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2543-2573 สัดส่วนของประชากรวัยแรงงานเปลี่ยนแปลงไม่มากนักคือ ลดลงประมาณร้อยละ 4.54 ในขณะที่สัดส่วนของประชากรวัยเด็ก ลดลงร้อยละ 11.15 ส่วนสัดส่วนของประชากรวัยสูงอายุเพิ่มขึ้นถึงประมาณร้อยละ 15.69 โดยมีรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร คือ ประชากรวัยเด็ก (อายุ 0-14 ปี) มีสัดส่วนลดลงจาก ร้อยละ 24.65 ในปี 2543 เป็นร้อยละ 22.81และร้อยละ 20.51 ในปี 2548 และปี 2553 และลดลงเหลือร้อยละ 13.50 ในปี 2573 ประชากรวัยแรงงาน (อายุ 15-59 ปี) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 65.92 ในปี 2543 เป็นร้อยละ 66.81 ในปี 2548 และเพิ่มขึ้นจนถึงปี 2554 จากนั้นลดลงอย่างต่อเนื่องเหลือร้อยละ 61.38 ในปี 2573 ประชากรวัยสูงอายุ (อายุ60 ปีขึ้นไป) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 9.43 ในปี 2543 เป็นร้อยละ10.38 และร้อยละ 11.90 ในปี 2548 และปี 2553 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 25.12 ในปี 2573 อัตราส่วนภาระพึ่งพิง (DependencyRatio) พบว่า อัตราส่วนพึ่งพิงของประชากรวัยเด็ก ลดลงอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 37.40 และร้อยละ30.34 ในปี 2543 และปี 2553 เป็นร้อยละ 21.99 ในปี 2573
ในขณะที่อัตราส่วนพึ่งพิงของประชากร ผู้สูงอายุ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 14.30 และร้อยละ 17.61 ในปี 2543 และปี 2553 เป็นร้อยละ40.93 ในปี 2573 โครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไป จากสัดส่วนประชากรเด็กที่ลดลง ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ในขณะที่วัยแรงงานเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง จะส่งผลให้ในอนาคตประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเร็วขึ้น วัยแรงงานจะต้องรับภาระเลี้ยงดูทั้งเด็กและผู้สูงอายุมากขึ้น ดังนั้น จึงต้องมีนโยบายและมาตรการต่างๆ ในการพัฒนาคุณภาพประชากร ซึ่งขณะนี้ สศช.ได้นำผลการคาดประมาณประชากรดังกล่าวมาประกอบการจัดทำแนวคิดการกำหนดนโยบายประชากร กับการพัฒนาประเทศในระยะต่อไป
ทั้งนี้ การประมาณการประชากรในอนาคตเป็นข้อมูลสำคัญ สำหรับการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ ทั้งในระดับชาติ และการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด กลุ่มจังหวัด ซึ่งจำเป็นต้องใช้ข้อมูลด้านประชากรเป็นฐานในการกำหนดนโยบายและมาตรการต่างๆ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงประชากรมีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการพัฒนา จึงต้องจัดทำการคาดประมาณประชากรที่สามารถแสดงให้เห็นถึงแนวโน้ม และขนาดของประชากรในอนาคตในช่วง 20-30 ปีข้างหน้า เพื่อช่วยให้การกำหนดนโยบายเป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม
การจัดทำการคาดการณ์ประชากรของไทย ใช้ข้อมูลจากสำมะโนประชากร และเคหะปี 2543 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นฐานของการคาดประมาณประชากร ซึ่งก่อนหน้านี้ ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) ได้มีการจัดทำการคาดประมาณประชากรในช่วงปี 2543-2568 ไป แล้ว แต่เนื่องจากภาวะเจริญพันธุ์ ภาวะการตาย และการย้ายถิ่น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการคาดประมาณประชากรเปลี่ยนแปลงไป จึงทำให้ สศช. ต้องทบทวนและจัดทำการคาดการณ์ขึ้นใหม่ เพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนอื่นๆที่เกี่ยวข้องให้สอดรับกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง และเพื่อการเผยแพร่ เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน
สำหรับการประมาณการประชากรของไทยครั้งนี้ ได้จัดทำเป็น 3 ระดับ คือ การคาดประมาณประชากรระดับประเทศ พ.ศ. 2543-2573 ภายใต้ข้อสมมติภาวะเจริญพันธุ์ระดับปานกลาง และระดับสูง และข้อสมมติภาวะการตาย การคาดประมาณประชากรระดับภาคพ.ศ. 2543-2568 และการคาดประมาณประชากรระดับจังหวัดพ.ศ. 2543-2563
โดยผลการคาดประมาณประชากร ระดับประเทศ พ.ศ. 2543 - 2573 ภายใต้ข้อสมมติด้านภาวะเจริญพันธุ์ระดับปานกลาง พบว่า ภาวะเจริญพันธุ์ลดลงจาก 1.81 ในปี พ.ศ. 2543 เหลือ 1.35 ในปี พ.ศ. 2573ส่งผลให้ประชากรทั่วราชอาณาจักรเพิ่มจำนวนขึ้นจาก 62.24 ล้านคนในปี พ.ศ. 2543 เป็น 70.65 ล้านคนในปี พ.ศ. 2568 และเริ่มลดลงเหลือ 70.63 ในปีพ.ศ. 2573 โดยระหว่างปี พ.ศ. 2543-2548 อัตราการเพิ่มของประชากรเป็นร้อยละ 0.92 ต่อปี หลังจากนั้น ประชากรมีการเพิ่มในอัตราที่ลดลง คือ ร้อยละ 0.68, 0.50, 0.32, 0.16 และ -0.01 ในช่วงปี พ.ศ. 2548-2553, พ.ศ. 2553-2558, พ.ศ. 2558-2563, พ.ศ. 2563-2568 และพ.ศ. 2568-2573 เป็นผลจากภาวะเจริญพันธุ์ที่ลดลง ทำให้มีเด็กเกิดลดลง ในขณะที่ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น ทำให้มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น จนในช่วง 5 ปีสุดท้ายของการประมาณการ มีเด็กเกิดน้อยกว่าประชากรที่ตาย ทำให้ขนาดประชากรลดลง
สำหรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไทยในอนาคต พบว่า ในช่วงระยะเวลา 30 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2543-2573 สัดส่วนของประชากรวัยแรงงานเปลี่ยนแปลงไม่มากนักคือ ลดลงประมาณร้อยละ 4.54 ในขณะที่สัดส่วนของประชากรวัยเด็ก ลดลงร้อยละ 11.15 ส่วนสัดส่วนของประชากรวัยสูงอายุเพิ่มขึ้นถึงประมาณร้อยละ 15.69 โดยมีรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร คือ ประชากรวัยเด็ก (อายุ 0-14 ปี) มีสัดส่วนลดลงจาก ร้อยละ 24.65 ในปี 2543 เป็นร้อยละ 22.81และร้อยละ 20.51 ในปี 2548 และปี 2553 และลดลงเหลือร้อยละ 13.50 ในปี 2573 ประชากรวัยแรงงาน (อายุ 15-59 ปี) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 65.92 ในปี 2543 เป็นร้อยละ 66.81 ในปี 2548 และเพิ่มขึ้นจนถึงปี 2554 จากนั้นลดลงอย่างต่อเนื่องเหลือร้อยละ 61.38 ในปี 2573 ประชากรวัยสูงอายุ (อายุ60 ปีขึ้นไป) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 9.43 ในปี 2543 เป็นร้อยละ10.38 และร้อยละ 11.90 ในปี 2548 และปี 2553 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 25.12 ในปี 2573 อัตราส่วนภาระพึ่งพิง (DependencyRatio) พบว่า อัตราส่วนพึ่งพิงของประชากรวัยเด็ก ลดลงอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 37.40 และร้อยละ30.34 ในปี 2543 และปี 2553 เป็นร้อยละ 21.99 ในปี 2573
ในขณะที่อัตราส่วนพึ่งพิงของประชากร ผู้สูงอายุ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 14.30 และร้อยละ 17.61 ในปี 2543 และปี 2553 เป็นร้อยละ40.93 ในปี 2573 โครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไป จากสัดส่วนประชากรเด็กที่ลดลง ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ในขณะที่วัยแรงงานเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง จะส่งผลให้ในอนาคตประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเร็วขึ้น วัยแรงงานจะต้องรับภาระเลี้ยงดูทั้งเด็กและผู้สูงอายุมากขึ้น ดังนั้น จึงต้องมีนโยบายและมาตรการต่างๆ ในการพัฒนาคุณภาพประชากร ซึ่งขณะนี้ สศช.ได้นำผลการคาดประมาณประชากรดังกล่าวมาประกอบการจัดทำแนวคิดการกำหนดนโยบายประชากร กับการพัฒนาประเทศในระยะต่อไป