นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน เปิดเผยว่า ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศมีโอกาสที่จะปรับขึ้นอีก 1-2 บาทในระยะนี้ หากราคาน้ำมันในตลาดโลกยังไม่ปรับลดลง เนื่องจากเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่า ทำให้เงินไหลออกจากตลาดหุ้นตลาดเงินไปเก็งกำไรในสินค้าโภคภัณฑ์ โดยมีความเป็นไปได้ที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะแตะระดับ 150 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรลภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ และมีความเป็นไปได้ที่ดีเซลจะปรับถึง 48-49 บาทต่อลิตร ซึ่งใกล้ระดับ 50 บาททุกที
นายมนูญ กล่าวว่า ต้องรอดูการตัดสินใจของกระทรวงพลังงานว่าจะต่ออายุการลดการอุดหนุนการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและอนุรักษ์พลังงานน้ำมันดีเซล 90 สตางค์ต่อลิตร ซึ่งกำลังจะครบกำหนดสิ้นเดือน ก.ค.นี้ต่อไปอีกหรือไม่ หากไม่ต่อราคาดีเซลจะต้องปรับขึ้นอย่างน้อย 90 สตางค์ โดยยังไม่รวมการปรับขึ้นของราคาตลาดโลก อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ากระทรวงพลังงานจะบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนด้วยการขยายระยะเวลาลดการอุดหนุนต่อไปอีก แต่เห็นว่าควรจะลดการอุดหนุนจาก 90 เหลือ 60 สตางค์เท่านั้น โดยควรเก็บเงินเข้ากองทุนฯ 30 สตางค์ต่อลิตรตามปกติ เพราะขณะนี้สถานะเงินกองทุนไม่มีเงินไหลเข้า ดังนั้น ควรยกเลิกส่วนนี้
ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน กล่าวอีกว่า นโยบายดูแลพลังงานของรัฐบาลปัจจุบันถือว่าอยู่ในระดับเหมาะสม เพราะแทรกแซงกลไกตลาดน้อย ไม่ได้ใช้เงินกองทุนฯ มากเกินไปเหมือนในอดีต ขณะเดียวกันมาตรการต่อยอดพลังงานทดแทนอยู่ในระดับที่ใช้ได้ เช่น การพัฒนาน้ำมันอี 85 แต่นโยบายประหยัดพลังงานควรจะเข้มข้นมากกว่านี้ ไม่ว่านโยบายขอความร่วมมือหรือนโยบายเชิงบังคับ ซึ่งถือว่ามาตรการที่รัฐออกมา ส่วนใหญ่ไม่ค่อยเห็นผล เพราะหากราคาน้ำมันยังปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องรัฐควรเตรียมรับมือไม่ประมาท หากไทยเตรียมมาตรการรับมือไว้ตั้งแต่ราคาน้ำมันระดับ 100 ดอลลาร์ฯ ประเทศไทยก็คงไม่ลำบาก
นายมนูญ กล่าวว่า ต้องรอดูการตัดสินใจของกระทรวงพลังงานว่าจะต่ออายุการลดการอุดหนุนการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและอนุรักษ์พลังงานน้ำมันดีเซล 90 สตางค์ต่อลิตร ซึ่งกำลังจะครบกำหนดสิ้นเดือน ก.ค.นี้ต่อไปอีกหรือไม่ หากไม่ต่อราคาดีเซลจะต้องปรับขึ้นอย่างน้อย 90 สตางค์ โดยยังไม่รวมการปรับขึ้นของราคาตลาดโลก อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ากระทรวงพลังงานจะบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนด้วยการขยายระยะเวลาลดการอุดหนุนต่อไปอีก แต่เห็นว่าควรจะลดการอุดหนุนจาก 90 เหลือ 60 สตางค์เท่านั้น โดยควรเก็บเงินเข้ากองทุนฯ 30 สตางค์ต่อลิตรตามปกติ เพราะขณะนี้สถานะเงินกองทุนไม่มีเงินไหลเข้า ดังนั้น ควรยกเลิกส่วนนี้
ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน กล่าวอีกว่า นโยบายดูแลพลังงานของรัฐบาลปัจจุบันถือว่าอยู่ในระดับเหมาะสม เพราะแทรกแซงกลไกตลาดน้อย ไม่ได้ใช้เงินกองทุนฯ มากเกินไปเหมือนในอดีต ขณะเดียวกันมาตรการต่อยอดพลังงานทดแทนอยู่ในระดับที่ใช้ได้ เช่น การพัฒนาน้ำมันอี 85 แต่นโยบายประหยัดพลังงานควรจะเข้มข้นมากกว่านี้ ไม่ว่านโยบายขอความร่วมมือหรือนโยบายเชิงบังคับ ซึ่งถือว่ามาตรการที่รัฐออกมา ส่วนใหญ่ไม่ค่อยเห็นผล เพราะหากราคาน้ำมันยังปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องรัฐควรเตรียมรับมือไม่ประมาท หากไทยเตรียมมาตรการรับมือไว้ตั้งแต่ราคาน้ำมันระดับ 100 ดอลลาร์ฯ ประเทศไทยก็คงไม่ลำบาก