ซึ่งการไต่สวนฉุกเฉินถอดถอนมติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบให้ทำข้อตกลงเรื่องการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกเมื่อช่วงเช้าเมื่อวาน มีพยานฟ้องผู้ฟ้องคือ นายสุวัตร อภัยภักดิ์ และนายนิติธร ล้ำเหลือ เข้าชี้แจงโดยนำเอกสารหลักฐาน 21 รายการ ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ปราสาทเขาพระวิหาร รวมถึงแผนที่ระบุแนวเขตชายแดน รวมถึงแผนที่พื้นที่ทับซ้อนข้อโต้แย้งทางสังคมจนถึงอดีตและปัจจุบัน วีซีดีรายละเอียดการอภิปรายไม้ไว้วางใจรัฐบาลของพรรคฝ่ายค้าน พร้อมทั้งคำถอนความ โดยทนายความทั้ง 2 ยืนยันว่า เนื้อหาในแถลงการณ์ร่วมระหว่างรัฐบาลไทยกับกัมพูชาเป็นสนธิสัญญา ซึ่งถือว่าการกระทำของนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ขัดต่อหลักการบริหารราชการแผ่นดิน และขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 190 โดยขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อน เพราะจะมีการเสนอคำแถลงการณ์ร่วมนี้ต่อยูเนสโก ในวันที่ 2-10 กรกฎาคม ซึ่งหากการเสนอไปแล้วจะทำให้การแก้ไขเป็นไปได้ยาก และหากว่าศาลมีคำสั่งคุ้มครองก็จะไม่กระทบต่อกัมพูชา ที่จะไปขอขึ้นทะเบียนมรดกโลก
ส่วนในช่วงบ่ายเป็นการไต่สวนพยานผู้ถูกฟ้อง 3 ปาก คือ นายกฤต ไกรกิติ อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย นายเชิดชู รัตนบุตร อัครทูต ณ กรุงปารีส ปฏิบัติราชการกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย และนายพิษณุ สุวรรณชฎ รองอธิบดีกรมเอเชียตะวันออก โดยตุลาการศาลปกครองได้มีการซักถามเกี่ยวกับประเด็นที่มีของแถลงการณ์ร่วมไทย -กัมพูชา และเหตุผลของการแก้ไขคำว่าแผนที่เป็นแผนผัง และแนวเขตในแผนที่นาบท้ายที่ระบุไว้ว่า เป็น เอ็น1 เอ็น2 และ เอ็น3 และถ้าหากศาลมีคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนจะพิพากษาคดี จะส่งผลกระทบกับการบริหารงานของรัฐหรือไม่ โดยศาลใช้เวลาไต่สาวนนายกฤตนานถึง 6 ชั่วโมง และนายกฤต ยืนยันว่า การที่ไทยลงนามในแถลงการณ์ร่วม เป็นการสนับสนุนของไทยต่อประเทศกัมพูชา ที่เป็นสมาชิกในองค์การยูเนสโก ซึ่งเป็นไปตามอนุสัญญามรดกโลกข้อ 11 วรรค 3 ที่ว่าด้วยว่า หากประเทศใดจะขึ้นทะเบียนสถานที่ใดเป็นมรดกโลก จะต้องได้รับคำยืนยันจากรัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวจะไม่ส่งผลใดๆ ต่อสิทธิเหนือดินแดน ที่ไทยกับกัมพูชาอ้างสิทธิในพื้นที่ทับซ้อนกันอยู่
ด้านนายเชิดชู กล่าวว่า หากไม่มีการลงนามในแถลงการณ์ร่วม จะมีผลให้กัมพูชาใช้แผนที่ของกัมพูชา ยึดถือต่อคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งในแผนที่ดังกล่าวมีการรุกล้ำเขตแดนไทย และหากยูเนสโกขึ้นทะเบียนให้ไทยก็จะเสียดินแดน โดยมีความเสี่ยงที่จะเกิดการเผชิญหน้าเพราะไทยจะสูญเสียอาณาเขต พร้อมยืนยันว่า แถลงการณ์ร่วมไม่มีผลผูกพันกับการทำสัญญาระหว่างรัฐต่อรัฐ แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทูต
ขณะที่นายพิษณุ พยานปากสุดท้ายกล่าวว่า ถ้าในการขึ้นทะเบียนมรดกโลกครั้งนี้ ไม่มีแถลงการณ์ร่วมกัมพูชาจะใช้แผนที่เก่าที่มีการรุกล้ำพื้นที่ทับซ้อนรัฐบาลไทยก็สามารถทำการประท้วงได้ แต่เนื่องจากไม่ต้องการให้เกิดปัญหา จึงมีการเจรจาจนไปสู้แถลงการณ์ร่วม
นายนิติธร กล่าวว่า ในช่วงเย็นวันนี้ ศาลน่าจะมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่ง หลังจากเมื่อวานนี้มีการไต่สวนพยานปากสุดท้ายแล้วเสร็จในเวลา 23.00 น. แล้วก็จะมีการส่งคำสั่งไปยังโทรสารเพื่อให้คู่ความทั้ง 2 ฝ่ายรับทราบ
ส่วนในช่วงบ่ายเป็นการไต่สวนพยานผู้ถูกฟ้อง 3 ปาก คือ นายกฤต ไกรกิติ อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย นายเชิดชู รัตนบุตร อัครทูต ณ กรุงปารีส ปฏิบัติราชการกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย และนายพิษณุ สุวรรณชฎ รองอธิบดีกรมเอเชียตะวันออก โดยตุลาการศาลปกครองได้มีการซักถามเกี่ยวกับประเด็นที่มีของแถลงการณ์ร่วมไทย -กัมพูชา และเหตุผลของการแก้ไขคำว่าแผนที่เป็นแผนผัง และแนวเขตในแผนที่นาบท้ายที่ระบุไว้ว่า เป็น เอ็น1 เอ็น2 และ เอ็น3 และถ้าหากศาลมีคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนจะพิพากษาคดี จะส่งผลกระทบกับการบริหารงานของรัฐหรือไม่ โดยศาลใช้เวลาไต่สาวนนายกฤตนานถึง 6 ชั่วโมง และนายกฤต ยืนยันว่า การที่ไทยลงนามในแถลงการณ์ร่วม เป็นการสนับสนุนของไทยต่อประเทศกัมพูชา ที่เป็นสมาชิกในองค์การยูเนสโก ซึ่งเป็นไปตามอนุสัญญามรดกโลกข้อ 11 วรรค 3 ที่ว่าด้วยว่า หากประเทศใดจะขึ้นทะเบียนสถานที่ใดเป็นมรดกโลก จะต้องได้รับคำยืนยันจากรัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวจะไม่ส่งผลใดๆ ต่อสิทธิเหนือดินแดน ที่ไทยกับกัมพูชาอ้างสิทธิในพื้นที่ทับซ้อนกันอยู่
ด้านนายเชิดชู กล่าวว่า หากไม่มีการลงนามในแถลงการณ์ร่วม จะมีผลให้กัมพูชาใช้แผนที่ของกัมพูชา ยึดถือต่อคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งในแผนที่ดังกล่าวมีการรุกล้ำเขตแดนไทย และหากยูเนสโกขึ้นทะเบียนให้ไทยก็จะเสียดินแดน โดยมีความเสี่ยงที่จะเกิดการเผชิญหน้าเพราะไทยจะสูญเสียอาณาเขต พร้อมยืนยันว่า แถลงการณ์ร่วมไม่มีผลผูกพันกับการทำสัญญาระหว่างรัฐต่อรัฐ แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทูต
ขณะที่นายพิษณุ พยานปากสุดท้ายกล่าวว่า ถ้าในการขึ้นทะเบียนมรดกโลกครั้งนี้ ไม่มีแถลงการณ์ร่วมกัมพูชาจะใช้แผนที่เก่าที่มีการรุกล้ำพื้นที่ทับซ้อนรัฐบาลไทยก็สามารถทำการประท้วงได้ แต่เนื่องจากไม่ต้องการให้เกิดปัญหา จึงมีการเจรจาจนไปสู้แถลงการณ์ร่วม
นายนิติธร กล่าวว่า ในช่วงเย็นวันนี้ ศาลน่าจะมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่ง หลังจากเมื่อวานนี้มีการไต่สวนพยานปากสุดท้ายแล้วเสร็จในเวลา 23.00 น. แล้วก็จะมีการส่งคำสั่งไปยังโทรสารเพื่อให้คู่ความทั้ง 2 ฝ่ายรับทราบ