นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน รองประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ปัจจุบันพบกลุ่มผู้พิการทางหูเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน จากเดิมมักเกิดจากหูอักเสบเรื้อรัง และประสาทหูเสื่อมในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งมาจากพฤติกรรมการฟัง เอ็มพี 3 หรือไอพอดเป็นเวลานาน ทำให้การรับรู้ของประสาทหูด้อยลง อย่างไรก็ตาม มาตรการรองรับและช่วยเหลือคนพิการ กลับสวนทางกับจำนวนคนพิการที่เพิ่มขึ้น ส่วนตัวเลขผู้มีภาวะหูอื้อ หูหนวก หูตึงจากการฟังเอ็มพี 3 และไอพอดเป็นเวลานานนั้น ยังไม่มีการสำรวจที่ชัดเจน แต่พบผู้ป่วยเข้ารับการรักษาเพิ่มขึ้นโดยการฟังเสียงดังตั้งแต่ 80 เดซิเบลขึ้นไป มีความเสี่ยงทำให้หูอื้อ หูหนวกได้
ด้านนายแพทย์กิตตินันท์ อนรรฆมณี รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กล่าวถึงสถานการณ์ความพิการในสังคมไทย ว่า จากผลสำรวจความพิการของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2550 พบว่า จำนวนประชากรผู้พิการมีเกือบ 2 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 3 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ ซึ่งความพิการสามารถเกิดขึ้นได้ใกล้ตัวคนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะความพิการที่เกิดจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ พบมากในกลุ่มวัยรุ่น ผู้พิการกลุ่มนี้มีเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่ได้รับการฟื้นฟูจนสามารถช่วยเหลือตนเองได้ แต่ 2 ใน 3 ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ตกเป็นภาระของครอบครัวที่ต้องดูแล
ทั้งนี้ รายงานสถิติการเกิดอุบัติเหตุของสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ พบว่า 1 วัน มีอุบัติเหตุบนท้องถนนเฉลี่ย 300 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บประมาณ 350 คน ในจำนวนนี้กลายเป็นผู้พิการประมาณร้อยละ 10 หรือเฉลี่ยวันละ 35 คนต่อวัน ซึ่งมีมูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่า 26,076 ล้านบาทต่อปี และผลกระทบจากความพิการ พบว่ากลุ่มคนพิการอายุ 15 ปีขึ้นไป
ด้านนายแพทย์กิตตินันท์ อนรรฆมณี รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กล่าวถึงสถานการณ์ความพิการในสังคมไทย ว่า จากผลสำรวจความพิการของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2550 พบว่า จำนวนประชากรผู้พิการมีเกือบ 2 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 3 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ ซึ่งความพิการสามารถเกิดขึ้นได้ใกล้ตัวคนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะความพิการที่เกิดจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ พบมากในกลุ่มวัยรุ่น ผู้พิการกลุ่มนี้มีเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่ได้รับการฟื้นฟูจนสามารถช่วยเหลือตนเองได้ แต่ 2 ใน 3 ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ตกเป็นภาระของครอบครัวที่ต้องดูแล
ทั้งนี้ รายงานสถิติการเกิดอุบัติเหตุของสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ พบว่า 1 วัน มีอุบัติเหตุบนท้องถนนเฉลี่ย 300 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บประมาณ 350 คน ในจำนวนนี้กลายเป็นผู้พิการประมาณร้อยละ 10 หรือเฉลี่ยวันละ 35 คนต่อวัน ซึ่งมีมูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่า 26,076 ล้านบาทต่อปี และผลกระทบจากความพิการ พบว่ากลุ่มคนพิการอายุ 15 ปีขึ้นไป