หมอเตือนเด็กไทยฟังเอ็มพี 3-ไอพอด นาน เสี่ยงพิการทางหู สลดคนพิการเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 35 คนต่อวัน รวมเกือบ 2 ล้านคน ตั้งเป็นจังหวัดคนพิการได้เลย ผุดไอเดียเก็บภาษีจากสินค้าก่อความพิการ ทั้ง ไอพอด รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ เหล้า บุหรี่ ฯลฯ นำเงินพัฒนาศักยภาพและบริการคนพิการ เล็งดึงภาษีเหล้า 0.5% จากทั้งหมดเป็นสินค้าชนิดแรกสสส.เตรียมจัดเทศกาลหนังสั้นคนพิการ 20-21 มิ.ย.นี้
วันนี้ (17 มิ.ย.) ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แผนงานสร้างเสริมสุขภาพคนพิการในสังคมไทย ได้จัดแถลงข่าว “เทศกาลภาพยนตร์และการสัมมนาเรื่องความพิการ” นพ.วิชัย โชควิวัฒน รองประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ขณะนี้แนวโน้มของคนพิการเพิ่มมากขึ้น ตามปัจจัยอื่นๆ อาทิ ผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น การเจ็บป่วยด้วยป่วยโรคเบาหวาน ไขมันในเส้นเลือด นำสู่การพิการ อัมพาต รวมปัจจัยด้านอุบัติเหตุจราจร แต่สิ่งที่น่าสนใจ คือ ความพิการทางหู ซึ่งจากเดิมมักเกิดจากหูอักเสบเรื้อรัง และประสาทหูเสื่อมในกลุ่มผู้สูงอายุ แต่ขณะนี้ในกลุ่มเด็กและเยาวชน ก็มีความเสี่ยงต่อภาวะความพิการทางหูด้วยเช่นกัน ซึ่งมาจากพฤติกรรมการฟังเอ็มพี 3 หรือไอพอด เป็นเวลานาน ทำให้การรับรู้ของประสาทหูด้อยลง
“แม้ว่าไทยจะมี พ.ร.บ.ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 แล้ว แต่ในความเป็นจริงยังขาดงบประมาณที่รัฐสนับสนุน จึงจำเป็นต้องหาแหล่งเงินทุน ดังนั้น รัฐจำเป็นต้องหาแหล่งเงินทุนใหม่จากภาษีของสินค้าและบริการที่ก่อให้เกิดความพิการ ได้แก่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รถยนต์ จักรยานยนต์ ฯลฯ ซึ่งที่ผ่านมาธนาคารพัฒนาเอเชีย ได้ประมาณการณ์ไว้ว่า คนไทยจะมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนการเพิ่มขึ้นของรถยนต์” นพ.วิชัย กล่าว
นพ.วิชัย กล่าวต่อว่า ขณะที่มาตรการรองรับและช่วยเหลือคนพิการ กลับสวนทางกับจำนวนคนพิการที่เพิ่มขึ้น แต่สสส.ขณะเดียวกันในการจัดการปัญหาของคนพิการ คือ การป้องกันไม่ให้เกิดคนพิการเพิ่มขึ้น เพราะขณะนี้มีผู้พิการเพิ่มขึ้นวันละ 35 คนต่อวัน และคนพิการที่มีมากเกือบ 2 ล้านคนนั้นจะหาทางช่วยพัฒนาศักยภาพอย่างไรเพื่อให้เข้าสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ไปพร้อมๆกับการช่วยเหลือผู้อื่นด้วย
ด้าน นพ.กิตตินันท์ อนรรฆมณี รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กล่าวว่า ผลสำรวจความพิการของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2550 พบว่าจำนวนประชากรผู้พิการ มีอยู่ประมาณ 1.9 ล้านคน หรือ 2.9% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่าเป็นจังหวัดๆ หนึ่งก็ว่าได้ ซึ่งความพิการสามารถเกิดขึ้นได้ใกล้ตัวคนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะความพิการที่เกิดจากอุบัติเหตุ
“ในรายงานสถิติการเกิดอุบัติเหตุของสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ พบว่า การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน เฉลี่ย 300 ครั้งต่อวัน มีผู้บาดเจ็บ 350 ราย ในจำนวนนี้กลายเป็นผู้พิการ ประมาณ 10% หรือเฉลี่ยวันละ 35 รายต่อวัน ซึ่งมีมูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่า 26,076 ล้านบาทต่อปี และผลกระทบจากความพิการ พบว่า กลุ่มคนพิการอายุ 15 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่ตกอยู่ในภาวะว่างงาน สูงถึง 1.2 ล้านคน หรือ 64.8% ขณะกลุ่มคนพิการที่มีงานทำ มีเพียง 6 แสนคนเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานฝีมือด้านการเกษตรและการบริการ” นพ.กิตตินันท์ กล่าว
ด้าน พญ.วัชรา ริ้วไพบูลย์ ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมสุขภาพคนพิการในสังคมไทย กล่าวว่า ขณะนี้กำลังศึกษาถึงผลกระทบจากการฟังเครื่องเล่นเอ็มพีสามทั้งหลาย รวมถึงไอพอดด้วยว่า ฟังติดต่อกันนานเพียงใด และระดับเสียงเพียงใดถึงจะมีผลต่อประสาทการได้ยิน ซึ่งแนวโน้มทางวิทยาศาสตร์ ระบุว่า การที่มีเสียงกระตุ้นประสาทรับรู้ตลอดเวลา ทำให้เซลล์ประสาทหูเสื่อมได้ เช่นเดียวกันกับคนงานในโรงงานขนาดใหญ่ หรือบริเวณท้องถนนที่มีเสียงดังมากๆ แต่ปัจจัยดังกล่าวไม่สามารถควบคุมให้เสียงค่อยได้
“แนวคิดเรื่องการเก็บภาษีสินค้าที่ทำให้เกิดความพิการเพื่อนำมาเป็นแหล่งเงินทุนในการพัฒนาการบริการและศักยภาพของคนพิการนั้น อาจจะต้องมีการเก็บภาษีเครื่องเล่นเอ็มพี 3 และไอพอดด้วย แต่ทั้งนี้ ต้องมีการศึกษาวิจัยแนวทางปฏิบัติให้ชัดเจน อีกครั้งเพราะอาจมีเสียงคัดค้านจากผู้ประกอบการเครื่องเล่นเอ็มพี แต่หากจะมีการเก็บภาษีสินค้าที่ทำให้เกิดความพิการอย่างแรก น่าจะเป็นภาษีจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งนี้ อาจประมาณ 0.5% ของภาษีทั้งหมดก็ได้”พญ.วัชรา กล่าว
พญ.วัชรา กล่าวว่า ในวันที่ 20-21 มิ.ย.แผนงานสร้างเสริมสุขภาพคนพิการในสังคมไทย จะจัดเวทีเสวนา ในหัวข้อ “เทศกาลภาพยนตร์และการสัมมนาเรื่องความพิการ” ที่โรงแรมเซนทารา เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 22 โดยจะมีการนำเสนอหนังสั้นคนพิการ จำนวน 5 เรื่อง ที่ผ่านการคัดเลือกของคณะกรรมการ ที่มุ่งเผยเรื่องราวชีวิตของคนพิการในแง่มุมที่แตกต่าง เพื่อสร้างความเข้าใจ และ การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเกื้อกูลกัน พร้อมกับการประกาศผลและมอบรางวัลหนังสั้นยอดเยี่ยม และรางวัลหนังสั้นยอดนิยมที่ได้รับการโหวตจากผู้เข้าชมเว็บไซต์ www.thaihealth.or.th
“นอกจากนี้ จะมีการจัดสัมมนาว่าด้วยเรื่องความพิการ โดยมีหัวข้อที่น่าสนใจ ได้แก่ พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการ ระบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ และ ศาสนาพุทธกับคนพิการ ซึ่งจะมีหนังสั้นคุณภาพเรื่อง “นิพพาน” ให้ได้รับชมอีกด้วย เป็นต้น” พญ.วัชรา กล่าว
วันนี้ (17 มิ.ย.) ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แผนงานสร้างเสริมสุขภาพคนพิการในสังคมไทย ได้จัดแถลงข่าว “เทศกาลภาพยนตร์และการสัมมนาเรื่องความพิการ” นพ.วิชัย โชควิวัฒน รองประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ขณะนี้แนวโน้มของคนพิการเพิ่มมากขึ้น ตามปัจจัยอื่นๆ อาทิ ผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น การเจ็บป่วยด้วยป่วยโรคเบาหวาน ไขมันในเส้นเลือด นำสู่การพิการ อัมพาต รวมปัจจัยด้านอุบัติเหตุจราจร แต่สิ่งที่น่าสนใจ คือ ความพิการทางหู ซึ่งจากเดิมมักเกิดจากหูอักเสบเรื้อรัง และประสาทหูเสื่อมในกลุ่มผู้สูงอายุ แต่ขณะนี้ในกลุ่มเด็กและเยาวชน ก็มีความเสี่ยงต่อภาวะความพิการทางหูด้วยเช่นกัน ซึ่งมาจากพฤติกรรมการฟังเอ็มพี 3 หรือไอพอด เป็นเวลานาน ทำให้การรับรู้ของประสาทหูด้อยลง
“แม้ว่าไทยจะมี พ.ร.บ.ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 แล้ว แต่ในความเป็นจริงยังขาดงบประมาณที่รัฐสนับสนุน จึงจำเป็นต้องหาแหล่งเงินทุน ดังนั้น รัฐจำเป็นต้องหาแหล่งเงินทุนใหม่จากภาษีของสินค้าและบริการที่ก่อให้เกิดความพิการ ได้แก่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รถยนต์ จักรยานยนต์ ฯลฯ ซึ่งที่ผ่านมาธนาคารพัฒนาเอเชีย ได้ประมาณการณ์ไว้ว่า คนไทยจะมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนการเพิ่มขึ้นของรถยนต์” นพ.วิชัย กล่าว
นพ.วิชัย กล่าวต่อว่า ขณะที่มาตรการรองรับและช่วยเหลือคนพิการ กลับสวนทางกับจำนวนคนพิการที่เพิ่มขึ้น แต่สสส.ขณะเดียวกันในการจัดการปัญหาของคนพิการ คือ การป้องกันไม่ให้เกิดคนพิการเพิ่มขึ้น เพราะขณะนี้มีผู้พิการเพิ่มขึ้นวันละ 35 คนต่อวัน และคนพิการที่มีมากเกือบ 2 ล้านคนนั้นจะหาทางช่วยพัฒนาศักยภาพอย่างไรเพื่อให้เข้าสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ไปพร้อมๆกับการช่วยเหลือผู้อื่นด้วย
ด้าน นพ.กิตตินันท์ อนรรฆมณี รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กล่าวว่า ผลสำรวจความพิการของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2550 พบว่าจำนวนประชากรผู้พิการ มีอยู่ประมาณ 1.9 ล้านคน หรือ 2.9% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่าเป็นจังหวัดๆ หนึ่งก็ว่าได้ ซึ่งความพิการสามารถเกิดขึ้นได้ใกล้ตัวคนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะความพิการที่เกิดจากอุบัติเหตุ
“ในรายงานสถิติการเกิดอุบัติเหตุของสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ พบว่า การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน เฉลี่ย 300 ครั้งต่อวัน มีผู้บาดเจ็บ 350 ราย ในจำนวนนี้กลายเป็นผู้พิการ ประมาณ 10% หรือเฉลี่ยวันละ 35 รายต่อวัน ซึ่งมีมูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่า 26,076 ล้านบาทต่อปี และผลกระทบจากความพิการ พบว่า กลุ่มคนพิการอายุ 15 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่ตกอยู่ในภาวะว่างงาน สูงถึง 1.2 ล้านคน หรือ 64.8% ขณะกลุ่มคนพิการที่มีงานทำ มีเพียง 6 แสนคนเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานฝีมือด้านการเกษตรและการบริการ” นพ.กิตตินันท์ กล่าว
ด้าน พญ.วัชรา ริ้วไพบูลย์ ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมสุขภาพคนพิการในสังคมไทย กล่าวว่า ขณะนี้กำลังศึกษาถึงผลกระทบจากการฟังเครื่องเล่นเอ็มพีสามทั้งหลาย รวมถึงไอพอดด้วยว่า ฟังติดต่อกันนานเพียงใด และระดับเสียงเพียงใดถึงจะมีผลต่อประสาทการได้ยิน ซึ่งแนวโน้มทางวิทยาศาสตร์ ระบุว่า การที่มีเสียงกระตุ้นประสาทรับรู้ตลอดเวลา ทำให้เซลล์ประสาทหูเสื่อมได้ เช่นเดียวกันกับคนงานในโรงงานขนาดใหญ่ หรือบริเวณท้องถนนที่มีเสียงดังมากๆ แต่ปัจจัยดังกล่าวไม่สามารถควบคุมให้เสียงค่อยได้
“แนวคิดเรื่องการเก็บภาษีสินค้าที่ทำให้เกิดความพิการเพื่อนำมาเป็นแหล่งเงินทุนในการพัฒนาการบริการและศักยภาพของคนพิการนั้น อาจจะต้องมีการเก็บภาษีเครื่องเล่นเอ็มพี 3 และไอพอดด้วย แต่ทั้งนี้ ต้องมีการศึกษาวิจัยแนวทางปฏิบัติให้ชัดเจน อีกครั้งเพราะอาจมีเสียงคัดค้านจากผู้ประกอบการเครื่องเล่นเอ็มพี แต่หากจะมีการเก็บภาษีสินค้าที่ทำให้เกิดความพิการอย่างแรก น่าจะเป็นภาษีจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งนี้ อาจประมาณ 0.5% ของภาษีทั้งหมดก็ได้”พญ.วัชรา กล่าว
พญ.วัชรา กล่าวว่า ในวันที่ 20-21 มิ.ย.แผนงานสร้างเสริมสุขภาพคนพิการในสังคมไทย จะจัดเวทีเสวนา ในหัวข้อ “เทศกาลภาพยนตร์และการสัมมนาเรื่องความพิการ” ที่โรงแรมเซนทารา เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 22 โดยจะมีการนำเสนอหนังสั้นคนพิการ จำนวน 5 เรื่อง ที่ผ่านการคัดเลือกของคณะกรรมการ ที่มุ่งเผยเรื่องราวชีวิตของคนพิการในแง่มุมที่แตกต่าง เพื่อสร้างความเข้าใจ และ การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเกื้อกูลกัน พร้อมกับการประกาศผลและมอบรางวัลหนังสั้นยอดเยี่ยม และรางวัลหนังสั้นยอดนิยมที่ได้รับการโหวตจากผู้เข้าชมเว็บไซต์ www.thaihealth.or.th
“นอกจากนี้ จะมีการจัดสัมมนาว่าด้วยเรื่องความพิการ โดยมีหัวข้อที่น่าสนใจ ได้แก่ พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการ ระบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ และ ศาสนาพุทธกับคนพิการ ซึ่งจะมีหนังสั้นคุณภาพเรื่อง “นิพพาน” ให้ได้รับชมอีกด้วย เป็นต้น” พญ.วัชรา กล่าว