น.พ.สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวเตือนประชาชนระวังภัยจากงูพิษในช่วงฤดูฝน ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้สำรองเซรุ่มแก้พิษงูต่างๆ ที่โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลประจำจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อแก้พิษงูไว้ 7 ชนิด ได้แก่ งูเห่าไทย งูจงอาง งูสามเหลี่ยม งูทับสมิงคลา งูแมวเซา งูกะปะ และงูเขียวหางไหม้ สำหรับในรอบ 5 เดือนนี้ พบว่ามีผู้ถูกงูกัดแล้ว 1,513 ราย ยังไม่มีผู้เสียชีวิต สำหรับในปี 2550 ที่ผ่านมา มีผู้ถูกงูกัดกว่า 8,000 ราย ถูกกัดมากที่สุดในเดือนพฤษภาคม ภาคกลางพบมากที่สุดกว่า 2,000 ราย และส่วนใหญ่เกือบร้อยละ 90 อยู่ในชนบท ซึ่งการสังเกตว่างูที่กัดเป็นงูพิษหรือไม่ ดูได้จากรอยเขี้ยว หากงูมีพิษจะมีเขี้ยวพิษหน้าและหลัง รอยกัดที่พบส่วนใหญ่จะมี 2 รอย ระยะห่างกันประมาณ 0.5-3 เซนติเมตร ส่วนงูไม่มีพิษ จะมีแค่ฟัน ไม่มีเขี้ยว จึงเห็นรอยฟันเป็นรูปครึ่งวงกลม
ทั้งนี้ ในการดูแลเบื้องต้นหลังถูกงูพิษกัด ต้องให้ผู้ที่ถูกกัดนอนนิ่งๆ เคลื่อนไหวให้น้อยที่สุด และใช้ผ้าพันแผลชนิดยืดหยุ่น อาจใช้วิธีขันชะเนาะ คลายทุก 15-20 นาที แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อดูแลรักษาโดยเร็ว
ทั้งนี้ ในการดูแลเบื้องต้นหลังถูกงูพิษกัด ต้องให้ผู้ที่ถูกกัดนอนนิ่งๆ เคลื่อนไหวให้น้อยที่สุด และใช้ผ้าพันแผลชนิดยืดหยุ่น อาจใช้วิธีขันชะเนาะ คลายทุก 15-20 นาที แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อดูแลรักษาโดยเร็ว