นายชัยรัตน์ สงวนชื่อ รักษาการอธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.)ในฐานะประธานคณะทำงานศึกษาการปรับอัตราค่าโดยสารของรถแท็กซี่ กล่าวว่า ในวันที่ 11 มิถุนายน คณะทำงานจะมีการหารือร่วมกับผู้ประกอบการสหกรณ์แท็กซี่ หลังจากเข้ายื่นหนังสือถึงนายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงคมนาคม เพื่อเรียกร้องขอขึ้นค่าโดยสาร จากมิเตอร์เริ่มต้น 35 บาท เป็น 40 บาท เป็น 40 บาท และปรับราคาทุกกิโลเมตรด้วย หรือเฉลี่ยคิดเป็นการขอค่าโดยสารประมาณร้อยละ 20 โดยในการเจรจานั้น คณะทำงานจะยืนยันให้การปรับราคานั้น คงอัตราเริ่มต้น 35 บาทไว้ และให้ไปปรับราคาตามระยะทางแต่ละกิโลเมตรแทน ซึ่งเมื่อรวมตามระยะทางและลักษณะการใช้บริการรถแท็กซี่ของประชาชนแล้ว ผู้ประกอบการแท็กซี่จะได้รับการปรับราคาสูงสุดบางระยะถึงร้อยละ 15 ซึ่งถือว่าเป็นระดับราคาค่าที่เหมาะสม ไม่เป็นภาระกับผู้ใช้รถแท็กซี่ในเส้นทางสั้นๆ
ในการเจรจากับผู้ประกอบการแท็กซี่นั้น จะมีการเสนอทางออกให้ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนในการเดินรถด้วย เพราะการปรับราคาเพียงอย่างเดียวไม่ใช่ทางออกของการแก้ปัญหา เพราะหากมีการปรับราคามากๆ สุดท้ายผู้โดยสารจะลดลง และผู้ประกอบการจะได้รับผลกระทบเอง โดยการแก้ปัญหาให้ผู้ขับรถแท็กซี่ ตามผลศึกษา ที่เคยมีจากสถาบันวิจัยศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น นอกจากการปรับราคาแล้ว ยังมีทางออกเรื่องการพัฒนาจุดจอดในพื้นที่ เพื่อลดการวิ่งเที่ยวเปล่า รวมทั้งแนวทางการจำกัดเพดาน การจดทะเบียนรถแท็กซี่ไว้ที่ 70,000 คัน และให้เพิ่มการจดทะเบียนรถใหม่ เท่ากับจำนวนรถที่ออกจากระบชบ ในส่วนนี้ ก็จะทำให้ไม่มีปริมาณรถแท็กซี่มากไปเมื่อเทียบกับความต้องการ
ทั้งนี้ หากจะมีการอนุมัติให้ผู้ประกอบการรถแท็กซี่ปรับราคานั้น จะเป็นการการพิจารณาจากปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น โดยจะมีปัจจัยเรื่องค่าพลังงานเพียงเล็กน้อย ตามที่ผู้ประกอบการกล่าวอ้างว่า ได้รับการปรับราคาครั้งหลังสุดถึง 16 ปีมาแล้ว เมื่อราคาค่าก๊าซแอลพีจี มีราคาเพียง 6 บาทต่อกิโลเท่านั้น
สำหรับตัวเลขผู้ประกอบการรถแท็กซี่ปัจจุบัน ณ สิ้นปี 2550 มีรถแท็กซี่ในระบบทั้งสิ้น 73,000 คัน โดยแบ่งเป็น รถแท็กซี่ที่ใช้เอ็นจีวี.22,000 คัน และรถที่ใช้ก๊าซแอลพิจีประมาณ 51,000 คัน
ในการเจรจากับผู้ประกอบการแท็กซี่นั้น จะมีการเสนอทางออกให้ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนในการเดินรถด้วย เพราะการปรับราคาเพียงอย่างเดียวไม่ใช่ทางออกของการแก้ปัญหา เพราะหากมีการปรับราคามากๆ สุดท้ายผู้โดยสารจะลดลง และผู้ประกอบการจะได้รับผลกระทบเอง โดยการแก้ปัญหาให้ผู้ขับรถแท็กซี่ ตามผลศึกษา ที่เคยมีจากสถาบันวิจัยศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น นอกจากการปรับราคาแล้ว ยังมีทางออกเรื่องการพัฒนาจุดจอดในพื้นที่ เพื่อลดการวิ่งเที่ยวเปล่า รวมทั้งแนวทางการจำกัดเพดาน การจดทะเบียนรถแท็กซี่ไว้ที่ 70,000 คัน และให้เพิ่มการจดทะเบียนรถใหม่ เท่ากับจำนวนรถที่ออกจากระบชบ ในส่วนนี้ ก็จะทำให้ไม่มีปริมาณรถแท็กซี่มากไปเมื่อเทียบกับความต้องการ
ทั้งนี้ หากจะมีการอนุมัติให้ผู้ประกอบการรถแท็กซี่ปรับราคานั้น จะเป็นการการพิจารณาจากปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น โดยจะมีปัจจัยเรื่องค่าพลังงานเพียงเล็กน้อย ตามที่ผู้ประกอบการกล่าวอ้างว่า ได้รับการปรับราคาครั้งหลังสุดถึง 16 ปีมาแล้ว เมื่อราคาค่าก๊าซแอลพีจี มีราคาเพียง 6 บาทต่อกิโลเท่านั้น
สำหรับตัวเลขผู้ประกอบการรถแท็กซี่ปัจจุบัน ณ สิ้นปี 2550 มีรถแท็กซี่ในระบบทั้งสิ้น 73,000 คัน โดยแบ่งเป็น รถแท็กซี่ที่ใช้เอ็นจีวี.22,000 คัน และรถที่ใช้ก๊าซแอลพิจีประมาณ 51,000 คัน