ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชนใน 15 จังหวัดของประเทศ ทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ สมุทรสาคร ระยอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม ชลบุรี นครพนม ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ขอนแก่น ภูเก็ต และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 3,487 คน เกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนต่อเหตุการณ์บ้านเมืองขณะนี้เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ผลปรากฏว่า ประชาชนอยากเห็นบ้านเมืองสงบสุขเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 88.8 ในเดือนมีนาคม มาอยู่ที่ร้อยละ 94.1 ในเดือนพฤษภาคม
นอกจากนี้ ประชาชนยังอยากเห็นสื่อมวลชนเสนอข่าวให้คนไทยรู้สึกดีต่อกันเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 81.7 มาอยู่ที่ร้อยละ 86.5 และพบว่าประชาชนวิตกกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 62.4 มาอยู่ที่ร้อยละ 79.6 ประชาชนวิตกกังวลต่อเหตุการณ์บ้านเมือง เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 58.2 มาอยู่ที่ร้อยละ 85.5 และคิดว่าการแบ่งขั้วทางการเมือง ทำให้สังคมไทยแตกแยกเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากร้อยละ 57.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 60.3 และมองว่า สังคมไทยกำลังเข้าใกล้สภาพบ้านป่าเมืองเถื่อน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 53.9 ในเดือนมีนาคม มาอยู่ที่ร้อยละ 74.8 ในการสำรวจครั้งล่าสุดนี้
เมื่อถามว่า ณ วันนี้ กล้าพูดประโยคต่อไปนี้ ได้เต็มที่หรือไม่ ผลสำรวจพบว่า คนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.8 ไม่กล้าพูดเต็มที่ว่า สังคมไทยเป็นสังคมที่สงบสุข รองลงมา คือ ร้อยละ 65.1 ไม่กล้าพูดว่า วันนี้ คนไทยรักกัน ร้อยละ 64 ไม่กล้าพูดว่าผู้ใหญ่ในสังคมไทยมีความเมตตากรุณา ร้อยละ 63.8 ไม่กล้าพูดว่า มาเที่ยวเมืองไทย มีแต่รอยยิ้ม อย่างไรก็ตาม คนไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.4 กล้าพูดว่า ถ้าเลือกเกิดได้อยากเกิดเป็นคนไทยอีก
เมื่อสอบถามถึงแนวโน้มความรุนแรง ของการชุมนุมในอีก 6 เดือนข้างหน้า ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.3 คิดว่าจะรุนแรงเพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.1 คิดว่าจะเท่าเดิม และร้อยละ 5.6 เท่านั้นที่คิดว่าจะลดลง เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อการลอกเลียนแบบใช้ความรุนแรง ในกลุ่มเด็กและเยาวชนไทยในอีก 5 ปีข้างหน้า พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.4 คิดว่าจะรุนแรงเพิ่มขึ้น ร้อยละ 23.2 คิดว่าจะเท่าเดิม และร้อยละ 4.4 เท่านั้นที่คิดว่าจะลดลง ส่วนสาเหตุของการใช้ความรุนแรงในการชุมนุม พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.1 ระบุมาจากการท้าทาย ยั่วยุ ข่มขู่ รองลงมาคือ ร้อยละ 72.2 ระบุการขาดสติ ไม่ยับยั้งชั่งใจ ร้อยละ 70.8 ระบุการกระทำของมือที่ 3 กลุ่มสร้างสถานการณ์
เมื่อถามถึงทางออกของปัญหาวุ่นวาย ทางการเมืองขณะนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.2 ระบุความมีสติสัมปชัญญะ ใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ รองลงมาคือร้อยละ 75.4 การยอมถอยคนละก้าว ร้อยละ 72.7 ระบุรู้จักการให้อภัย ร้อยละ 69.3 ระบุการให้โอกาสแก่กันและกัน
นอกจากนี้ ประชาชนยังอยากเห็นสื่อมวลชนเสนอข่าวให้คนไทยรู้สึกดีต่อกันเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 81.7 มาอยู่ที่ร้อยละ 86.5 และพบว่าประชาชนวิตกกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 62.4 มาอยู่ที่ร้อยละ 79.6 ประชาชนวิตกกังวลต่อเหตุการณ์บ้านเมือง เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 58.2 มาอยู่ที่ร้อยละ 85.5 และคิดว่าการแบ่งขั้วทางการเมือง ทำให้สังคมไทยแตกแยกเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากร้อยละ 57.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 60.3 และมองว่า สังคมไทยกำลังเข้าใกล้สภาพบ้านป่าเมืองเถื่อน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 53.9 ในเดือนมีนาคม มาอยู่ที่ร้อยละ 74.8 ในการสำรวจครั้งล่าสุดนี้
เมื่อถามว่า ณ วันนี้ กล้าพูดประโยคต่อไปนี้ ได้เต็มที่หรือไม่ ผลสำรวจพบว่า คนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.8 ไม่กล้าพูดเต็มที่ว่า สังคมไทยเป็นสังคมที่สงบสุข รองลงมา คือ ร้อยละ 65.1 ไม่กล้าพูดว่า วันนี้ คนไทยรักกัน ร้อยละ 64 ไม่กล้าพูดว่าผู้ใหญ่ในสังคมไทยมีความเมตตากรุณา ร้อยละ 63.8 ไม่กล้าพูดว่า มาเที่ยวเมืองไทย มีแต่รอยยิ้ม อย่างไรก็ตาม คนไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.4 กล้าพูดว่า ถ้าเลือกเกิดได้อยากเกิดเป็นคนไทยอีก
เมื่อสอบถามถึงแนวโน้มความรุนแรง ของการชุมนุมในอีก 6 เดือนข้างหน้า ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.3 คิดว่าจะรุนแรงเพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.1 คิดว่าจะเท่าเดิม และร้อยละ 5.6 เท่านั้นที่คิดว่าจะลดลง เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อการลอกเลียนแบบใช้ความรุนแรง ในกลุ่มเด็กและเยาวชนไทยในอีก 5 ปีข้างหน้า พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.4 คิดว่าจะรุนแรงเพิ่มขึ้น ร้อยละ 23.2 คิดว่าจะเท่าเดิม และร้อยละ 4.4 เท่านั้นที่คิดว่าจะลดลง ส่วนสาเหตุของการใช้ความรุนแรงในการชุมนุม พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.1 ระบุมาจากการท้าทาย ยั่วยุ ข่มขู่ รองลงมาคือ ร้อยละ 72.2 ระบุการขาดสติ ไม่ยับยั้งชั่งใจ ร้อยละ 70.8 ระบุการกระทำของมือที่ 3 กลุ่มสร้างสถานการณ์
เมื่อถามถึงทางออกของปัญหาวุ่นวาย ทางการเมืองขณะนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.2 ระบุความมีสติสัมปชัญญะ ใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ รองลงมาคือร้อยละ 75.4 การยอมถอยคนละก้าว ร้อยละ 72.7 ระบุรู้จักการให้อภัย ร้อยละ 69.3 ระบุการให้โอกาสแก่กันและกัน