กรมเจรจาการค้าฯ กระตุ้นเอสเอ็มอีไทยเร่งบุกตลาดอินเดีย ชี้เป็นประเทศใหญ่ ประชากรมหาศาล อัตราเติบโตทาง ศก. ขยายต่อเนื่องทุกปี อีกทั้งไทยมีข้อได้เปรียบจากการทำเปิดเสรีการค้าระหว่างกัน เตือนต้องศึกษารายละเอียดต่างๆ ให้พร้อมเสียก่อน
นางบุณิกา แจ่มใส ผู้อำนวยการส่วนเอเชียใต้ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวในงานสัมมนา “ตะลุยภารตะ ขุมทรัพย์การค้า” ณ โรงแรมรอยัลซิตี้ จ.ภูเก็ต ว่า อินเดียเป็นประเทศขนาดใหญ่ มีประชากรเป็นอันดับสองรองจากประเทศจีน และมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจขยายตังสูงอย่างต่อเนื่อง โดยมี GDP ร้อยละ 8 ต่อปี เศรษฐกิจเติบโตเป็นอันดับที่ 12 ของโลก และเป็นอันดับสองในเอเชียรองจากจีน
อีกทั้ง นโยบายของประเทศไทยกับอินเดีย สอดคล้องกัน คืออินเดียมีนโยบาย Look West ในขณะที่ไทยมีนโยบาย Look East ซึ่งทั้ง 2 ฝ่าย ได้เปิดการค้าเสรีทวิภาคี โดยยกเลิกภาษีสินค้า 0% จำนวน 82 รายการ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 2549 อาทิ เงาะ ลำไย มังคุด ทุเรียน องุ่น ข้าวสาลี อาหารทะเลกระป๋อง (ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน ปลาแมกเคอเรล และปู อัญมณีและเครื่องประดับ เม็ดพลาสติก เครื่องปรับอากาศ พัดลม ตู้เย็น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ เป็นต้น ซึ่งภายหลังจากลดภาษีสินค้า 82 รายการ ส่งผลให้การค้าขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น
ในปี 2550 การค้ารวมไทย-อินเดียมีมูลค่า 4,730.56 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 38% โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า 598.27 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปัจจุบันอยู่ระหว่างเจรจาลด และยกเลิกภาษีสินค้าส่วนที่เหลือกว่า3,000 รายการ
อย่างไรก็ตาม การค้ากับอินเดีย มีปัญหา และอุปสรรค เช่น อินเดียเก็บภาษีนำเข้าในอัตราสูง และยังมีการเก็บภาษีอื่นๆภายในประเทศ สำหรับระบบพิธีการศุลกากรมีความยุ่งยาก ซับซ้อน และล่าช้า ด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร ทำให้เกิดอุปสรรคต่อการขนถ่ายสินค้า และมีพื้นที่ขนาดใหญ่ การขนส่งสินค้าใช้เวลานานและมีค่าใช้จ่ายสูง นอกจากนี้มีการลอกเลียนแบบสินค้าเกิดขึ้นจำนวนมากและรวดเร็ว ซึ่งการเจรจาการค้าจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยลดอุปสรรคและบรรเทาปัญหาลงได้
ทั้งนี้ ปัจจุบัน มูลค่าการค้ากับอินเดียยังมีน้อยอยู่ เมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียน ฉะนั้น อยากให้ผู้ประกอบการไทย ต้องมองเห็นเป็นโอกาส เพราะในอินเดียมีศักยภาพในการเติบโต ภายใต้กรอบความร่วมมือของทั้งสองฝ่ายในหลายทั้งในระดับทวิภาคี และระดับภูมิภาค อาทิ อาเซียน – อินเดีย BIMSTEC, ASEM, WTO ประกอบกับสัมพันธ์กับอินเดียมาช้านานในเรื่องวัฒนธรรม ศาสนา และความใกล้ชิด
นางบุณิกา แจ่มใส ผู้อำนวยการส่วนเอเชียใต้ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวในงานสัมมนา “ตะลุยภารตะ ขุมทรัพย์การค้า” ณ โรงแรมรอยัลซิตี้ จ.ภูเก็ต ว่า อินเดียเป็นประเทศขนาดใหญ่ มีประชากรเป็นอันดับสองรองจากประเทศจีน และมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจขยายตังสูงอย่างต่อเนื่อง โดยมี GDP ร้อยละ 8 ต่อปี เศรษฐกิจเติบโตเป็นอันดับที่ 12 ของโลก และเป็นอันดับสองในเอเชียรองจากจีน
อีกทั้ง นโยบายของประเทศไทยกับอินเดีย สอดคล้องกัน คืออินเดียมีนโยบาย Look West ในขณะที่ไทยมีนโยบาย Look East ซึ่งทั้ง 2 ฝ่าย ได้เปิดการค้าเสรีทวิภาคี โดยยกเลิกภาษีสินค้า 0% จำนวน 82 รายการ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 2549 อาทิ เงาะ ลำไย มังคุด ทุเรียน องุ่น ข้าวสาลี อาหารทะเลกระป๋อง (ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน ปลาแมกเคอเรล และปู อัญมณีและเครื่องประดับ เม็ดพลาสติก เครื่องปรับอากาศ พัดลม ตู้เย็น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ เป็นต้น ซึ่งภายหลังจากลดภาษีสินค้า 82 รายการ ส่งผลให้การค้าขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น
ในปี 2550 การค้ารวมไทย-อินเดียมีมูลค่า 4,730.56 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 38% โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า 598.27 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปัจจุบันอยู่ระหว่างเจรจาลด และยกเลิกภาษีสินค้าส่วนที่เหลือกว่า3,000 รายการ
อย่างไรก็ตาม การค้ากับอินเดีย มีปัญหา และอุปสรรค เช่น อินเดียเก็บภาษีนำเข้าในอัตราสูง และยังมีการเก็บภาษีอื่นๆภายในประเทศ สำหรับระบบพิธีการศุลกากรมีความยุ่งยาก ซับซ้อน และล่าช้า ด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร ทำให้เกิดอุปสรรคต่อการขนถ่ายสินค้า และมีพื้นที่ขนาดใหญ่ การขนส่งสินค้าใช้เวลานานและมีค่าใช้จ่ายสูง นอกจากนี้มีการลอกเลียนแบบสินค้าเกิดขึ้นจำนวนมากและรวดเร็ว ซึ่งการเจรจาการค้าจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยลดอุปสรรคและบรรเทาปัญหาลงได้
ทั้งนี้ ปัจจุบัน มูลค่าการค้ากับอินเดียยังมีน้อยอยู่ เมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียน ฉะนั้น อยากให้ผู้ประกอบการไทย ต้องมองเห็นเป็นโอกาส เพราะในอินเดียมีศักยภาพในการเติบโต ภายใต้กรอบความร่วมมือของทั้งสองฝ่ายในหลายทั้งในระดับทวิภาคี และระดับภูมิภาค อาทิ อาเซียน – อินเดีย BIMSTEC, ASEM, WTO ประกอบกับสัมพันธ์กับอินเดียมาช้านานในเรื่องวัฒนธรรม ศาสนา และความใกล้ชิด