โพลเผยอารมณ์ความรู้สึกคนไทย ต่อบ้านเมือง ส่วนใหญ่ไม่กล้าพูดเต็มปากว่า สังคมไทยสงบสุข-คนไทยรักกัน-ผู้ใหญ่ในสังคมไทยมีความเมตตากรุณา-มาเที่ยวเมืองไทย มีแต่รอยยิ้ม-รังเกียจรัฐบาลที่ทุจริตคอร์รัปชัน-คนไทยมีจิตใจเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกัน แต่ส่วนใหญ่เกือบ 90% ถ้าเลือกเกิดได้อยากเกิดเป็นคนไทยอีก หวั่นอีก 6 เดือนข้างหน้าเหตุการณ์ชุมนุมรุนแรงเพิ่มขึ้น
ดร.นพดล กรรณิกา หัวหน้าศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง อารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนต่อเหตุการณ์บ้านเมืองขณะนี้ กรณีศึกษาตัวอย่างคนไทยใน 15 จังหวัดของประเทศ ทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ สมุทรสาคร ระยอง อยุธยา นครปฐม ชลบุรี นครพนม ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ขอนแก่น ภูเก็ต และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 3,487 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 25 –31 พฤษภาคม 2551 พบว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 90 ติดตามข่าวการเมืองภายในประเทศเป็นประจำทุกสัปดาห์ในรอบ 30 วันที่ผ่านมา
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อเปรียบเทียบอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนต่อเหตุการณ์บ้านเมืองขณะนี้ ระหว่างเดือนมีนาคมกับเดือนพฤษภาคม พบว่า ประชาชนส่วนอยากเห็นบ้านเมืองสงบสุขเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 88.8 ในเดือนมีนาคม มาอยู่ที่ร้อยละ 94.1 ในเดือนพฤษภาคม ประชาชนอยากเห็นสื่อมวลชนเสนอข่าวให้คนไทยรู้สึกดีต่อกันเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 81.7 มาอยู่ที่ร้อยละ 86.5 ประชาชนเชื่อว่าความสงบสุขจะทำให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตต่างๆ ไปได้จากร้อยละ 80.3 มาอยู่ที่ร้อยละ 83.7 ประชาชนวิตกกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 62.4 ในเดือนมีนาคม มาอยู่ที่ร้อยละ 79.6 ในเดือนพฤษภาคม ประชาชนวิตกกังวลต่อเหตุการณ์บ้านเมืองเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 58.2 มาอยู่ที่ร้อยละ 85.5 และคิดว่าการแบ่งขั้วทางการเมืองทำให้สังคมไทยแตกแยกเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 57.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 60.3 และมองว่าสังคมไทยกำลังเข้าใกล้สภาพบ้านป่าเมืองเถื่อนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 53.9 ในเดือนมีนาคม มาอยู่ที่ร้อยละ 74.8 ในการสำรวจครั้งล่าสุดนี้
เมื่อถามว่า ณ วันนี้ คุณกล้าพูดประโยคต่อไปนี้ได้เต็มที่หรือไม่ ผลสำรวจพบว่า คนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.8 ไม่กล้าพูดเต็มที่ว่า สังคมไทยเป็นสังคมที่สงบสุข รองลงมาคือร้อยละ 65.1 ไม่กล้าพูดว่า วันนี้ คนไทยรักกัน ร้อยละ 64.0 ไม่กล้าพูดว่าผู้ใหญ่ในสังคมไทยมีความเมตตากรุณา ร้อยละ 63.8 ไม่กล้าพูดว่า มาเที่ยวเมืองไทย มีแต่รอยยิ้ม ร้อยละ 60.6 ไม่กล้าพูดว่า คนไทยรังเกียจรัฐบาลที่ทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 51.7 ไม่กล้าพูดว่าคนไทยมีจิตใจเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกัน อย่างไรก็ตาม คนไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.4 กล้าพูดว่า ถ้าเลือกเกิดได้อยากเกิดเป็นคนไทยอีก
“ต้องหาคำตอบในงานวิจัยครั้งต่อไปว่า อะไรหรือปัจจัยใดที่ยังคงทำให้คนไทย แม้อยู่ในสถานการณ์วุ่นวายทางการเมืองและปัญหาเศรษฐกิจเช่นนี้ แต่คนไทยส่วนใหญ่ยังกล้าพูดว่า ถ้าเลือกเกิดได้ยังอยากเกิดเป็นคนไทยอีก และที่น่าสนใจว่าคนไทยจะหายไปประมาณร้อยละ 10 ที่ไม่กล้าพูดเช่นนั้นว่า พวกเขาเหล่านั้นหายไปไหนหรือเพราะอะไรจึงไม่ตอบเหมือนกับคนไทยส่วนใหญ่” ดร.นพดล กล่าวอีกว่า
เมื่อสอบถามถึงแนวโน้มความรุนแรงของการชุมนุมในอีก 6 เดือนข้างหน้า ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.3 คิดว่า จะรุนแรงเพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.1 คิดว่าจะเท่าเดิม และร้อยละ 5.6 เท่านั้นที่คิดว่าจะลดลง เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อการลอกเลียนแบบใช้ความรุนแรงในกลุ่มเด็กและเยาวชนไทยในอีก 5 ปีข้างหน้า พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.4 คิดว่าจะรุนแรงเพิ่มขึ้น ร้อยละ 23.2 คิดว่าจะเท่าเดิม และร้อยละ 4.4 เท่านั้นที่คิดว่าจะลดลง
สำหรับสาเหตุของการใช้ความรุนแรงในการชุมนุม พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.1 ระบุมาจากการท้าทาย ยั่วยุ ข่มขู่ รองลงมาคือ ร้อยละ 72.2 ระบุการขาดสติ ไม่ยับยั้งชั่งใจ ร้อยละ 70.8 ระบุการกระทำของมือที่สาม กลุ่มสร้างสถานการณ์ ร้อยละ 65.2 ระบุ ความเครียด ร้อยละ 64.9 ระบุการกระทำของเจ้าหน้าที่ ร้อยละ 59.0 ระบุการกระทำของฝ่ายผู้ชุมนุม ร้อยละ 57.4 การพกพาและใช้อาวุธ และร้อยละ 56.3 ระบุการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน
เมื่อถามถึงทางออกของปัญหาวุ่นวายทางการเมืองขณะนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.2 ระบุความมีสติสัมปชัญญะ ใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ รองลงมาคือร้อยละ 75.4 การยอมถอยคนละก้าว ร้อยละ 72.7 ระบุ รู้จักการให้อภัย ร้อยละ 69.3 ระบุ การให้โอกาสแก่กันและกัน ร้อยละ 68.3 ระบุ กระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 67.6 ระบุ ความอดทน อดกลั้น ร้อยละ 57.9 ระบุความเสียสละ ร้อยละ 54.2 ระบุ การปลูกจิตสำนึกความรักชาติ ร้อยละ 53.8 ระบุความเข้มงวดของเจ้าหน้าที่รัฐ และร้อยละ 51.1 ระบุ การไม่แทรกแซง ไม่ใช้อำนาจบาตรใหญ่ข่มขู่ เป็นต้น
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ คนไทยส่วนใหญ่ตอนนี้ไม่กล้าพูดได้เต็มที่ว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่สงบสุข ไม่กล้าพูดได้เต็มที่ว่า วันนี้คนไทยรักกัน นอกจากนี้ สภาวะจิตใจของคนไทยก็กำลังย่ำแย่ทั้งเรื่องเศรษฐกิจและการเมือง ดังนั้นจึงขอฝากให้ลองพิจารณาความคิดเห็นของสาธารณชนที่ว่า สาเหตุของการใช้ความรุนแรงในการชุมนุมคือการท้าทาย ยั่วยุ ข่มขู่ การขาดสติ ไม่ยับยั้งชั่งใจ การกระทำของมือที่สาม กลุ่มสร้างสถานการณ์ ความเครียด และการกระทำของเจ้าหน้าที่ โดยทางออกของปัญหาความไม่สงบเหล่านี้ที่ค้นพบคือ ขอให้คนไทยมีสติสัมปชัญญะ ใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ ยอมลดราวาศอก ถอยคนละก้าว การรู้จักให้อภัย การให้โอกาสแก่กันและกัน และพึ่งกระบวนการยุติธรรมเป็นทางออกสุดท้ายหรือเสาหลักสำคัญของประเทศทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ดร.นพดล กรรณิกา หัวหน้าศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง อารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนต่อเหตุการณ์บ้านเมืองขณะนี้ กรณีศึกษาตัวอย่างคนไทยใน 15 จังหวัดของประเทศ ทั้งในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ สมุทรสาคร ระยอง อยุธยา นครปฐม ชลบุรี นครพนม ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ขอนแก่น ภูเก็ต และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 3,487 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 25 –31 พฤษภาคม 2551 พบว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 90 ติดตามข่าวการเมืองภายในประเทศเป็นประจำทุกสัปดาห์ในรอบ 30 วันที่ผ่านมา
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อเปรียบเทียบอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนต่อเหตุการณ์บ้านเมืองขณะนี้ ระหว่างเดือนมีนาคมกับเดือนพฤษภาคม พบว่า ประชาชนส่วนอยากเห็นบ้านเมืองสงบสุขเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 88.8 ในเดือนมีนาคม มาอยู่ที่ร้อยละ 94.1 ในเดือนพฤษภาคม ประชาชนอยากเห็นสื่อมวลชนเสนอข่าวให้คนไทยรู้สึกดีต่อกันเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 81.7 มาอยู่ที่ร้อยละ 86.5 ประชาชนเชื่อว่าความสงบสุขจะทำให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตต่างๆ ไปได้จากร้อยละ 80.3 มาอยู่ที่ร้อยละ 83.7 ประชาชนวิตกกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 62.4 ในเดือนมีนาคม มาอยู่ที่ร้อยละ 79.6 ในเดือนพฤษภาคม ประชาชนวิตกกังวลต่อเหตุการณ์บ้านเมืองเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 58.2 มาอยู่ที่ร้อยละ 85.5 และคิดว่าการแบ่งขั้วทางการเมืองทำให้สังคมไทยแตกแยกเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 57.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 60.3 และมองว่าสังคมไทยกำลังเข้าใกล้สภาพบ้านป่าเมืองเถื่อนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 53.9 ในเดือนมีนาคม มาอยู่ที่ร้อยละ 74.8 ในการสำรวจครั้งล่าสุดนี้
เมื่อถามว่า ณ วันนี้ คุณกล้าพูดประโยคต่อไปนี้ได้เต็มที่หรือไม่ ผลสำรวจพบว่า คนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.8 ไม่กล้าพูดเต็มที่ว่า สังคมไทยเป็นสังคมที่สงบสุข รองลงมาคือร้อยละ 65.1 ไม่กล้าพูดว่า วันนี้ คนไทยรักกัน ร้อยละ 64.0 ไม่กล้าพูดว่าผู้ใหญ่ในสังคมไทยมีความเมตตากรุณา ร้อยละ 63.8 ไม่กล้าพูดว่า มาเที่ยวเมืองไทย มีแต่รอยยิ้ม ร้อยละ 60.6 ไม่กล้าพูดว่า คนไทยรังเกียจรัฐบาลที่ทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 51.7 ไม่กล้าพูดว่าคนไทยมีจิตใจเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกัน อย่างไรก็ตาม คนไทยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.4 กล้าพูดว่า ถ้าเลือกเกิดได้อยากเกิดเป็นคนไทยอีก
“ต้องหาคำตอบในงานวิจัยครั้งต่อไปว่า อะไรหรือปัจจัยใดที่ยังคงทำให้คนไทย แม้อยู่ในสถานการณ์วุ่นวายทางการเมืองและปัญหาเศรษฐกิจเช่นนี้ แต่คนไทยส่วนใหญ่ยังกล้าพูดว่า ถ้าเลือกเกิดได้ยังอยากเกิดเป็นคนไทยอีก และที่น่าสนใจว่าคนไทยจะหายไปประมาณร้อยละ 10 ที่ไม่กล้าพูดเช่นนั้นว่า พวกเขาเหล่านั้นหายไปไหนหรือเพราะอะไรจึงไม่ตอบเหมือนกับคนไทยส่วนใหญ่” ดร.นพดล กล่าวอีกว่า
เมื่อสอบถามถึงแนวโน้มความรุนแรงของการชุมนุมในอีก 6 เดือนข้างหน้า ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.3 คิดว่า จะรุนแรงเพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.1 คิดว่าจะเท่าเดิม และร้อยละ 5.6 เท่านั้นที่คิดว่าจะลดลง เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อการลอกเลียนแบบใช้ความรุนแรงในกลุ่มเด็กและเยาวชนไทยในอีก 5 ปีข้างหน้า พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.4 คิดว่าจะรุนแรงเพิ่มขึ้น ร้อยละ 23.2 คิดว่าจะเท่าเดิม และร้อยละ 4.4 เท่านั้นที่คิดว่าจะลดลง
สำหรับสาเหตุของการใช้ความรุนแรงในการชุมนุม พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.1 ระบุมาจากการท้าทาย ยั่วยุ ข่มขู่ รองลงมาคือ ร้อยละ 72.2 ระบุการขาดสติ ไม่ยับยั้งชั่งใจ ร้อยละ 70.8 ระบุการกระทำของมือที่สาม กลุ่มสร้างสถานการณ์ ร้อยละ 65.2 ระบุ ความเครียด ร้อยละ 64.9 ระบุการกระทำของเจ้าหน้าที่ ร้อยละ 59.0 ระบุการกระทำของฝ่ายผู้ชุมนุม ร้อยละ 57.4 การพกพาและใช้อาวุธ และร้อยละ 56.3 ระบุการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน
เมื่อถามถึงทางออกของปัญหาวุ่นวายทางการเมืองขณะนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.2 ระบุความมีสติสัมปชัญญะ ใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ รองลงมาคือร้อยละ 75.4 การยอมถอยคนละก้าว ร้อยละ 72.7 ระบุ รู้จักการให้อภัย ร้อยละ 69.3 ระบุ การให้โอกาสแก่กันและกัน ร้อยละ 68.3 ระบุ กระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 67.6 ระบุ ความอดทน อดกลั้น ร้อยละ 57.9 ระบุความเสียสละ ร้อยละ 54.2 ระบุ การปลูกจิตสำนึกความรักชาติ ร้อยละ 53.8 ระบุความเข้มงวดของเจ้าหน้าที่รัฐ และร้อยละ 51.1 ระบุ การไม่แทรกแซง ไม่ใช้อำนาจบาตรใหญ่ข่มขู่ เป็นต้น
หัวหน้าศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ คนไทยส่วนใหญ่ตอนนี้ไม่กล้าพูดได้เต็มที่ว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่สงบสุข ไม่กล้าพูดได้เต็มที่ว่า วันนี้คนไทยรักกัน นอกจากนี้ สภาวะจิตใจของคนไทยก็กำลังย่ำแย่ทั้งเรื่องเศรษฐกิจและการเมือง ดังนั้นจึงขอฝากให้ลองพิจารณาความคิดเห็นของสาธารณชนที่ว่า สาเหตุของการใช้ความรุนแรงในการชุมนุมคือการท้าทาย ยั่วยุ ข่มขู่ การขาดสติ ไม่ยับยั้งชั่งใจ การกระทำของมือที่สาม กลุ่มสร้างสถานการณ์ ความเครียด และการกระทำของเจ้าหน้าที่ โดยทางออกของปัญหาความไม่สงบเหล่านี้ที่ค้นพบคือ ขอให้คนไทยมีสติสัมปชัญญะ ใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ ยอมลดราวาศอก ถอยคนละก้าว การรู้จักให้อภัย การให้โอกาสแก่กันและกัน และพึ่งกระบวนการยุติธรรมเป็นทางออกสุดท้ายหรือเสาหลักสำคัญของประเทศทั้งในปัจจุบันและอนาคต