นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยระหว่างนำคณะสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เยือนประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 21-24 พฤษภาคม โดยมีกำหนดจะหารือกับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรายใหญ่ของญี่ปุ่น โดยเฉพาะค่ายรถยนต์อย่าง ฮอนด้าและโตโยต้า ซึ่งจะพยายามให้เร่งรัดการลงทุนโครงการอีโคคาร์ หรือรถประหยัดพลังงานให้เร็วขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากโครงการอีโคคาร์ที่ได้ให้ บีโอไอแก่ผู้ประกอบการไปแล้ว 7 ราย สามารถดำเนินการได้เร็วก็จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้ลงทุน และผู้ต้องการใช้รถประหยัดพลังงาน รวมถึงประเทศไทยที่จะลดการใช้น้ำมันลงได้ อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขการลงทุนคงไม่เปลี่ยนแปลงไปจากที่ให้ไว้เดิม
สำหรับการเดินทางเยือนญี่ปุ่นวันแรก นายสุวิทย์ ได้พบหารือกับผู้บริหาร คันไคเรน (Kankeiren) ซึ่งเป็นองค์กรที่เกิดจากการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทางภาคตะวันตกของญี่ปุ่น โดยเฉพาะในจังหวัดคันไซ และเป็นประธานเปิดการสัมมนาเรื่องปีแห่งการลงทุนไทย หรือ Thailand Investment Year 2008-2009 ที่นครโอซากา ซึ่งได้รับความสนใจจากนักลงทุนญี่ปุ่นเข้าร่วมสัมมนากว่า 200 คน โดยได้เชิญชวนให้ญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น หรือเจเทปา (JTEPA) ซึ่งที่ผ่านมาทั้งไทยและญี่ปุ่นยังใช้ประโยชน์จากข้อตกลงนี้ไม่เต็มที่ ซึ่งขณะนี้บีโอไอกำลังจะตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาสนับสนุนการลงทุนภายใต้กรอบข้อตกลงดังกล่าว โดยจะมีศูนย์ช่วยเหลือนักลงทุนให้สามารถใช้ประโยชน์จากเจเทปาได้มากขึ้น
นอกจากนี้ ยังได้ทำความเข้าใจเรื่องการลดอุปสรรคการลงทุนต่างๆ เช่น การยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 และกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ส่วนปัญหาเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในไทย หลังมีการเลือกตั้งก็ทำให้นักลงทุนมั่นใจมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่านักลงทุนที่ยังไม่เคยเข้ามาลงทุนในไทยมาก่อน อาจวิตกเกี่ยวกับปัญหาการเมืองในไทยบ้าง ซึ่งก็ต้องพยายามทำความเข้าใจ ส่วนนักลงทุนที่ลงทุนในไทยอยู่แล้วจะเข้าใจดี และไม่ค่อยวิตกยังเชื่อมั่นที่จะเดินหน้าลงทุนต่อไป
สำหรับการเดินทางเยือนญี่ปุ่นวันแรก นายสุวิทย์ ได้พบหารือกับผู้บริหาร คันไคเรน (Kankeiren) ซึ่งเป็นองค์กรที่เกิดจากการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทางภาคตะวันตกของญี่ปุ่น โดยเฉพาะในจังหวัดคันไซ และเป็นประธานเปิดการสัมมนาเรื่องปีแห่งการลงทุนไทย หรือ Thailand Investment Year 2008-2009 ที่นครโอซากา ซึ่งได้รับความสนใจจากนักลงทุนญี่ปุ่นเข้าร่วมสัมมนากว่า 200 คน โดยได้เชิญชวนให้ญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น หรือเจเทปา (JTEPA) ซึ่งที่ผ่านมาทั้งไทยและญี่ปุ่นยังใช้ประโยชน์จากข้อตกลงนี้ไม่เต็มที่ ซึ่งขณะนี้บีโอไอกำลังจะตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาสนับสนุนการลงทุนภายใต้กรอบข้อตกลงดังกล่าว โดยจะมีศูนย์ช่วยเหลือนักลงทุนให้สามารถใช้ประโยชน์จากเจเทปาได้มากขึ้น
นอกจากนี้ ยังได้ทำความเข้าใจเรื่องการลดอุปสรรคการลงทุนต่างๆ เช่น การยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 และกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ส่วนปัญหาเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในไทย หลังมีการเลือกตั้งก็ทำให้นักลงทุนมั่นใจมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่านักลงทุนที่ยังไม่เคยเข้ามาลงทุนในไทยมาก่อน อาจวิตกเกี่ยวกับปัญหาการเมืองในไทยบ้าง ซึ่งก็ต้องพยายามทำความเข้าใจ ส่วนนักลงทุนที่ลงทุนในไทยอยู่แล้วจะเข้าใจดี และไม่ค่อยวิตกยังเชื่อมั่นที่จะเดินหน้าลงทุนต่อไป