สำนักข่าวประชาธิปไตยพม่า หรือจีวีบี ซึ่งเป็นสื่อเอกชน ที่ไม่หวังผลกำไรและมีสำนักงานอยู่ในประเทศนอร์เวย เปิดเผยว่า ผู้ประสบภัยพายุในพม่าส่วนใหญ่อยู่รอดด้วยความช่วยเหลือที่หน่วยงานเอกชนไปแจกจ่าย โดยใช้วิธีติดสินบนกองทัพพม่า เพื่อขออนุญาตนำอาหารขึ้นรถบรรทุกไปโยนแจกจ่ายให้ผู้ประสบภัย
ขณะที่สภาพความเป็นอยู่ของประชาชนในแถบลุ่มแม่น้ำอิระวดียังคงประสบปัญหาการรับแจกสิ่งของ โดยศูนย์ช่วยเหลือของทางการยังคงมีบุคลากร และสิ่งของที่ไม่เพียงพอกับความต้องการ
สถานีโทรทัศน์ของทางการพม่า เผยแพร่ภาพของนายจอห์น โฮล์มส รองเลขาธิการสหประชาชาติด้านมนุษยธรรม ที่เดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์ไปยังสถานที่ประสบภัยในลุ่มแม่น้ำอิระวดี ก่อนหน้านี้ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่สิงคโปร์ พม่ายอมที่จะให้เจ้าหน้าที่จากหน่วยบรรเทาทุกข์จากชาติสมาชิก เข้าไปช่วยเหลือ และจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประเทศผู้บริจาคร่วมระหว่างอาเซียนกับสหประชาชาติ ในวันที่ 25 พฤษภาคมที่จะถึงนี้
ขณะที่นายบัน คี-มุน เลขาธิการสหประชาชาติ มีกำหนดเดินทางไปประเทศพม่า ในวันพฤหัสบดีที่จะถึงนี้ เพื่อติดตามดูสถานการณ์ พม่าขณะนี้อยู่ภายใต้แรงกดดันจากนานาชาติ เรื่องการล่าช้าในการให้ความช่วยเหลือ หลังจากที่พายุนาร์กีสพัดถล่มมานานกว่า 2 สัปดาห์ ซึ่งทำให้ยอดผู้เสียชีวิตขึ้นไปอยู่ที่ 77,738 คน และมียอดผู้สูญหาย 55,917 คน
ขณะที่สภาพความเป็นอยู่ของประชาชนในแถบลุ่มแม่น้ำอิระวดียังคงประสบปัญหาการรับแจกสิ่งของ โดยศูนย์ช่วยเหลือของทางการยังคงมีบุคลากร และสิ่งของที่ไม่เพียงพอกับความต้องการ
สถานีโทรทัศน์ของทางการพม่า เผยแพร่ภาพของนายจอห์น โฮล์มส รองเลขาธิการสหประชาชาติด้านมนุษยธรรม ที่เดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์ไปยังสถานที่ประสบภัยในลุ่มแม่น้ำอิระวดี ก่อนหน้านี้ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่สิงคโปร์ พม่ายอมที่จะให้เจ้าหน้าที่จากหน่วยบรรเทาทุกข์จากชาติสมาชิก เข้าไปช่วยเหลือ และจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประเทศผู้บริจาคร่วมระหว่างอาเซียนกับสหประชาชาติ ในวันที่ 25 พฤษภาคมที่จะถึงนี้
ขณะที่นายบัน คี-มุน เลขาธิการสหประชาชาติ มีกำหนดเดินทางไปประเทศพม่า ในวันพฤหัสบดีที่จะถึงนี้ เพื่อติดตามดูสถานการณ์ พม่าขณะนี้อยู่ภายใต้แรงกดดันจากนานาชาติ เรื่องการล่าช้าในการให้ความช่วยเหลือ หลังจากที่พายุนาร์กีสพัดถล่มมานานกว่า 2 สัปดาห์ ซึ่งทำให้ยอดผู้เสียชีวิตขึ้นไปอยู่ที่ 77,738 คน และมียอดผู้สูญหาย 55,917 คน