นายพงศกร อรรณนพพร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังประชุมกำหนดมาตรการ และขอความร่วมมือเฝ้าระวังป้องปรามนักเรียนนักศึกษาก่อเหตุทะเลาะวิวาทในช่วงเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2551 ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) กองบัญชาการตำรวจนครบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่า ตอนนี้ใกล้เปิดเทอมแล้ว และวิทยาลัยอาชีวศึกษามักจะมีปัญหารับน้องรุนแรง ซึ่งที่ผ่านมาถึงขั้นทำให้มีการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ปีนี้จึงห้ามไม่ให้มีการรับน้องอย่างเด็ดขาด แต่ส่งเสริมให้ทำกิจกรรมสร้างสรรค์ เช่น บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ แข่งขันกีฬา เป็นต้น โดยวันที่ 19 พฤษภาคมนี้ ซึ่งเป็นวันสันติภาพโลก จะได้นำคณะนักเรียนนักศึกษาอาชีวะทั้ง 6 แสนคน ไปประกาศตนเป็นศาสนิกชนที่ดีในแต่ละศาสนา
นอกจากนี้ ยังได้มอบนโยบายให้วิทยาลัยอาชีวศึกษาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล วิทยาลัยขนาดใหญ่ในตัวจังหวัด และวิทยาลัยที่เคยเกิดเหตุทะเลาะวิวาท ติดตั้งกล้องวงจรปิดให้ครอบคลุมจุดเสี่ยงทั้งภายใน และรอบบริเวณวิทยาลัย เช่น ห้องน้ำ ป้ายรถเมล์ ซึ่งไม่เพียงป้องกันเหตุทะเลาะวิวาท แต่ยังป้องกันเหตุร้ายอื่นๆ ทั้งยาเสพติด การล่วงละเมิดทางเพศและการลักขโมยได้ด้วย ทั้งนี้หากนักเรียนรวมกลุ่มกันก่อเหตุทะเลาะวิวาท ผู้บริหารวิทยาลัยจะต้องรับผิดชอบและถูกลงโทษ
ด้านนายวีระศักดิ์ วงษ์สมบัติ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า สอศ. ได้แบ่งกลุ่มสถานศึกษาเป็น 4 กลุ่มเพื่อรับผิดชอบพื้นที่ป้องกันนักเรียนนักศึกษาอาชีวศึกษาก่อเหตุทะเลาะวิวาทในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีอาสาสมัครอาชีวะ ทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายทั้งอาจารย์ นักเรียนนักศึกษา ผู้ขับรถสองแถว ผู้ขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง และพ่อค้าแม่ค้า ร่วมกันตรวจตราและแจ้งเหตุนักเรียนทะเลาะวิวาท ที่สายด่วนเสมารักษ์ 1579 และ 191 ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ปรับระบบให้ทำงานได้เร็วขึ้น สามารถไปที่เกิดเหตุภายใน 10 นาที
สำหรับสถิติการแจ้งเหตุนักเรียนตีกันพบว่ามีแนวโน้มลดลงโดยในปี 2549 มีจำนวน 1,978 ครั้ง ปี 2550 ลดลงเหลือ 1,713 ครั้ง
นอกจากนี้ ยังได้มอบนโยบายให้วิทยาลัยอาชีวศึกษาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล วิทยาลัยขนาดใหญ่ในตัวจังหวัด และวิทยาลัยที่เคยเกิดเหตุทะเลาะวิวาท ติดตั้งกล้องวงจรปิดให้ครอบคลุมจุดเสี่ยงทั้งภายใน และรอบบริเวณวิทยาลัย เช่น ห้องน้ำ ป้ายรถเมล์ ซึ่งไม่เพียงป้องกันเหตุทะเลาะวิวาท แต่ยังป้องกันเหตุร้ายอื่นๆ ทั้งยาเสพติด การล่วงละเมิดทางเพศและการลักขโมยได้ด้วย ทั้งนี้หากนักเรียนรวมกลุ่มกันก่อเหตุทะเลาะวิวาท ผู้บริหารวิทยาลัยจะต้องรับผิดชอบและถูกลงโทษ
ด้านนายวีระศักดิ์ วงษ์สมบัติ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า สอศ. ได้แบ่งกลุ่มสถานศึกษาเป็น 4 กลุ่มเพื่อรับผิดชอบพื้นที่ป้องกันนักเรียนนักศึกษาอาชีวศึกษาก่อเหตุทะเลาะวิวาทในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีอาสาสมัครอาชีวะ ทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายทั้งอาจารย์ นักเรียนนักศึกษา ผู้ขับรถสองแถว ผู้ขับรถจักรยานยนต์รับจ้าง และพ่อค้าแม่ค้า ร่วมกันตรวจตราและแจ้งเหตุนักเรียนทะเลาะวิวาท ที่สายด่วนเสมารักษ์ 1579 และ 191 ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ปรับระบบให้ทำงานได้เร็วขึ้น สามารถไปที่เกิดเหตุภายใน 10 นาที
สำหรับสถิติการแจ้งเหตุนักเรียนตีกันพบว่ามีแนวโน้มลดลงโดยในปี 2549 มีจำนวน 1,978 ครั้ง ปี 2550 ลดลงเหลือ 1,713 ครั้ง