xs
xsm
sm
md
lg

ศธ.หวั่นเกิดศึกอาชีวะ เหตุประกาศสงครามผ่านเน็ต

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ศธ.ระดมสมองแก้ปัญหาเด็กตีกัน ผอ.อาชีวศึกษาเผย นักเรียน นักศึกษาประกาศสงคราม “เด็ดหัว”ท้าทายกันผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะช่วงใกล้วันสถาปนาสถาบัน หวั่นเหตุรุนแรงขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจช่วยดูแลอย่างเข้มงวด ตำรวจให้สถาบันคู่กรณีจับคู่แก้ปัญหารายงานผลทุก 10 วัน “พงศกร”เชื่อศาลพิพากษานักศึกษาก่อเหตุวิวาทรุนแรงมีผลทำให้เด็กหวาดกลัวลดพฤติกรรมตีกันลง

เมื่อวันที่ 31 ก.ค. นายพงศกร อรรณนพพร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติงานป้องกันนักเรียน นักศึกษา ก่อเหตุทะเลาะวิวาท ครั้งที่ 2/2551 ซึ่งประกอบด้วยกองบัญชาการตำรวจนครบาล กองกำกับการตำรวจภูธร องค์การขนส่งมวลชนกรงเทพ(ขสมก.) สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน(สช.) สมาคมโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน ตัวแทนผู้ปกครอง และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ทบทวนมาตรการ และแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ ร่วมกัน

ผู้อำนวยการอาชีวศึกษาแห่งหนึ่ง กล่าวว่า ปัจจุบันนี้ นักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษามีการประกาศสงครามกันผ่านทางอินเตอร์เน็ตในเว็บไซต์ต่างๆ โดยมีการเขียนคำท้าทาย หรือประกาศว่าจะยึดสัญลักษณ์ เช่น หัวเข็มขัด เสื้อชอป ของสถาบันฝ่ายตรงข้ามให้ได้ รวมถึงใช้ถ้อยคำยั่วยุรุนแรงว่าจะ “เด็ดหัว” นักศึกษาสถาบันคู่อริ ซึ่งในช่วงที่ใกล้วันสถาปนาของแต่ละสถาบันการทำสงครามทางอินเตอร์เน็ตยิ่งรุนแรง และน่าเป็นห่วง จึงขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดูแลอย่างเข้มงวด ในช่วงวันสถาปนาของสถาบันที่เป็นคู่อริกัน

นายพงศกร กล่าวว่า ข้อมูลการก่อเหตุของนักเรียน นักศึกษาจากศูนย์เทคโนโลยี กองบัญชาการตำรวจนครบาล พบว่า ในปี 2549 มีนักเรียนตีกันกำลังก่อเหตุ จำนวน 1,978 ครั้ง และในปี 2550 ลดลงเหลือ 1,713 ครั้ง ส่วนนักเรียนจับกลุ่มกำลังก่อเหตุ ปี 2549 มีจำนวน 1,390 ครั้ง ปี 2550 ลดลงเหลือ 1,121 ครั้ง อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนมิถุนายน 2551 มีนักเรียนกำลังก่อเหตุ 339 ครั้ง และจับกลุ่มจะก่อเหตุ 208 ครั้ง มีอัตราสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดือนเดียวกันในปี 2550 ซึ่งมีนักเรียนกำลังก่อเหตุ 250 ครั้ง และจับกลุ่มจะก่อเหตุ 184 ครั้ง ดังนั้น ตนจึงได้กำชับให้สถานศึกษาแก้ปัญหาร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และให้รายงานผลต่อคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติงานฯ ทุก 10 วัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเดือนมิถุนายน-กันยายน เป็นช่วงที่มีอัตราการทะเลาะวิวาทค่อนข้างสูง และจากการที่คณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติงานฯ ได้มีมาตรการในการแก้ปัญหาดังกล่าว ทำให้เหตุวิวาทที่เกิดขึ้นไม่รุนแรงเหมือนในอดีตที่ผ่านมา

รมช.ศึกษาธิการ กล่าวอีกว่า สำหรับกรณีที่นักเรียน นักศึกษาประกาศสงครามผ่านทางอินเตอร์เน็ตนั้น ต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิด และติดตามดูพฤติกรรมของกลุ่มนักเรียน เมื่อพบการแจ้งข่าวว่าจะมีการปฏิบัติการต่างๆ ทางเว็บไซต์ เพื่อป้องกันเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้น ส่วนที่ศาลมีคำพิพากษานักศึกษาอาชีวศึกษาที่ก่อเหตุทะเลาะวิวาทออกมานั้น เชื่อว่าน่าจะมีผลให้นักศึกษาหวาดเกรงโทษ และก่อเหตุน้อยลง เพราะที่ผ่านมามีแต่การพูดถึงว่าต้องถูกลงโทษ แต่ยังไม่เคยเห็นเป็นรูปธรรม ส่วนที่มีผู้เสนอว่าการประชุมครั้งต่อไปน่าจะเชิญผู้แทนอัยการ และผู้พิพากษาเข้ามาร่วมพิจารณาปัญหาต่างๆ ด้วยนั้น ตนเห็นด้วยเนื่องจากในกรณีที่เด็กก่อเหตุทะเลาะวิวาทหรือมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม จะได้วางแนวทางพิจารณาโทษคดีความต่างๆ ไปในแนวทางเดียวกัน

ด้าน พล.ต.ต.วิบูลย์ บางท่าไม้ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล กล่าวว่า ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้กำหนดแผนป้องกัน และระงับเหตุนักเรียน นักศึกษาก่อเหตุทะเลาะวิวาท โดยสำรวจและจัดทำข้อมูลสถานศึกษาที่มีนักเรียนก่อเหตุบ่อยครั้ง หรือกลุ่มนักเรียนที่มีแนวโน้มจะกระทำผิด สถานที่ที่จะกระทำผิด โดยให้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงาน ระหว่างสถานศึกษากับตำรวจ เฝ้าระวังติดตามพฤติกรรมนักเรียนใน และนอกสถานศึกษา กวดขันสถานบันเทิงซึ่งเป็นแหล่งมั่วสุม จู่โจมตรวจค้นสถานศึกษาหรือสถานที่ข้างเคียงซึ่งใช้ซุกซ่อนอาวุธ จัดกิจกรรมละลายพฤติกรรมในค่ายทหาร นอกจากนี้ยังได้แบ่งกลุ่มสถานศึกษาเพื่อรับผิดชอบพื้นที่ป้องกันเหตุ 4 กลุ่มตามพื้นที่ และมอบให้สถานศึกษาคู่กรณีที่ก่อเหตุทะเลาะวิวาทกันบ่อยครั้ง ร่วมกันหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา และรายงานผลต่อคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการฯ ภายใน 10 วัน

“สำหรับอัตราการทะเลาะวิวาทที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายนปีนี้นั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่เพียงพอ จากเดิมที่สถานีตำรวจแต่ละแห่งจะส่งเจ้าหน้าที่สายตรวจออกตรวจตราในจุดเสี่ยงต่างๆ ประมาณ 8 ทีม แต่ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ต้องปรับลดลงเหลือเพียง สถานีละ 2 ทีม เนื่องจากต้องจัดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจมาช่วยสนับสนุนดูแลกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ แต่หลังจากนี้คงต้องพิจารณาว่าจะจัดกำลังควบคุมการก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียน นักศึกษาเพิ่มเติมอย่างไร”

นางศิริพรรณ ชุมนุม รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาดังกล่าวในระยะสั้น จะให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาทุกแห่ง ประสานกับสถานีตำรวจในพื้นที่เพื่อทำงานร่วมกันในการเฝ้าระวังเหตุ ส่วนการแก้ปัญหาในระยะยาวสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา(สอศ.) จะร่วมกับ สช. และสมาคมโรงเรียนเอกชน วิเคราะห์ วิจัย และศึกษาปัญหาเชิงลึกเหตุทะเลาะวิวาทที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งใน กทม.และปริมณฑล หลังจากนั้นจะนำเสนอ รมช.ศึกษาธิการ เพื่อขอนโยบายในการแก้ปัญหาต่อไป

นายจรูญ ชูลาภ ที่ปรึกษา รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า การแก้ปัญหาเด็กตีกันนั้น ขออย่าให้เด็กห่างจากครู หากครูเป็นเพื่อนเด็ก ให้ข้อคิดดีๆ กับนักเรียน นักศึกษาเชื่อว่า เด็กจะไม่ไปก่อเหตุอย่างแน่น
กำลังโหลดความคิดเห็น