xs
xsm
sm
md
lg

นักชีววิทยาแนะเก็บข้อมูลประเมินแนวทางรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ดร.กัณฑรีย์ บุญประกอบ นักชีววิทยา จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งอยู่ระหว่างเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา สำหรับร่วมในการศึกษาแบบจำลองสภาพภูมิอากาศ กล่าวว่า ภัยพิบัติที่เกิดจากสภาวะอากาศทั้งในเอเชียและยุโรปขณะนี้ สอดคล้องกับการประเมินของคณะทำงานระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ หรือ ไอพีซีซี ที่ว่า ภัยพิบัติในโลกจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภัยจากน้ำท่วม ทั้งนี้จากสถิติจำนวนครั้งของภัยพิบัติด้านภูมิอากาศเมื่อ 50 ปีก่อน พบมีการเกิดขึ้นเพียง 13 ครั้งต่อ 1 ทศวรรษ แต่ในช่วงทศวรรษหลังสุด เพิ่มจำนวนสูงขึ้นเป็น 70 ครั้งต่อ 1 ทศวรรษ และค่าความเสียหายที่เกิด เพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า คือจากเดิม 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี เป็น 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี
สำหรับในประเทศไทยนั้น ดร.กัณฑรีย์ กล่าวว่า จากข้อมูลในช่วงทศวรรษล่าสุด ทำให้พอคาดการณ์ได้ถึงผลกระทบที่ได้รับจากภาวะโลกร้อน คือ ผลผลิตของพืชเศรษฐกิจที่ลดลงอย่างหนัก จากปัญหาปริมาณน้ำในแหล่งน้ำที่เปลี่ยนแปลงจากเดิม ดังนั้น การเก็บข้อมูลด้านภูมิอากาศ จึงจำเป็นอย่างมาก สำหรับประเมินถึงวิธีการรับมือกับสถานการณ์หลังจากนี้ อาทิ การปลูกพืชให้เหมาะสมกับอุณหภูมิที่เปลี่ยนของแต่ละพื้นที่ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี ทั้งนี้ รัฐบาลควรมุ่งเน้นให้การสนับสนุน ส่งเสริมเรื่องการปรับปรุงพันธุ์พืช โดยเฉพาะข้าว เพราะในอนาคตอาจต้องพัฒนาเป็นพันธุ์ข้าวทนแล้ง หรือข้าวที่ปลูกในที่น้ำขังได้ ส่วนการรณรงค์การใช้ถุงผ้า หรือปิดไฟ เพื่อลดโลกร้อนเป็นสิ่งที่ดี แต่ข้อเท็จจริงปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยจากไทยมีเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น
กำลังโหลดความคิดเห็น