ในช่วงบ่ายวันนี้ (21 เม.ย.) ผู้ประกอบการรถแท็กซี่กว่า 50 คน นำโดยนายวิฑูรย์ แนวพานิช ประธานชุมนุมสหกรณ์บริการเดินรถแห่งประเทศไทย จำกัด เข้ายื่นหนังสือเรียกร้องขอปรับขึ้นค่าโดยสารรถแท็กซี่มิเตอร์ในอัตราร้อยละ 10 ของระยะทาง ต่อนายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เนื่องจากผู้ประกอบการมีต้นทุนด้านน้ำมัน ราคาก๊าซแอลพีจี และต้นทุนค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น แต่แท็กซี่ยังไม่ได้รับการปรับราคาค่าโดยสารขึ้นมากว่า 10 ปีแล้ว จึงต้องการให้รัฐบาลพิจารณาอนุมัติปรับขึ้นค่าแท็กซี่ให้ตามที่ร้องขอ แต่หากรัฐบาลต้องการตรึงค่าโดยสารไว้ เพื่อลดค่าครองชีพให้กับประชาชนก็ต้องการให้รัฐบาลหามาตรการอื่นมาช่วยเหลือผู้ขับขี่รถแท็กซี่ เช่น การจัดหาร้านอาหารธงฟ้าราคาถูกสำหรับคนขับแท็กซี่ หรือการช่วยเหลือด้านสินค้าราคาถูกให้กับผู้ประกอบการแท็กซี่ เพื่อเป็นการช่วยลดค่าครองชีพแทนก็ได้
ซึ่งเรื่องดังกล่าวรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมรับปากจะนำข้อเรียกร้องกลับไปพิจารณาและหาแนวทางช่วยเหลือโดยเร็ว
สำหรับข้อเรียกร้องของผู้ประกอบการรถโดยสาร ทั้งรถร่วม บขส.และรถร่วม ขสมก. ที่ต้องการปรับขึ้นค่าโดยสารอีก 3 สตางค์ต่อกิโลเมตร สำหรับรถร่วมฯ บขส.และ 1 บาท สำหรับรถร่วมฯ ขสมก.นั้น นายทรงศักดิ์ กล่าวว่า จะต้องให้ผู้ประกอบการทำรายงานต้นทุนที่แท้จริงและรวบรวมจำนวนรถโดยสารที่ใช้ก๊าซเอ็นจีวีทั้งหมด เพื่อพิจารณาหาแนวทางช่วยเหลือด้านอื่นก่อนที่จะตัดสินใจว่าสมควรจะปรับขึ้นค่าโดยสารให้หรือไม่ ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าต้องใช้เวลาประมาณ 30 วัน อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าจะไม่มีการปรับขึ้นค่าโดยสารในช่วงเดือนเมษายนนี้อย่างแน่นอน
ส่วนปัญหารถโดยสารสายยาวที่มีปัญหาต้นทุนน้ำมันสูงขึ้นและจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า จะมีการหารือกับผู้ประกอบการเร็วๆ นี้ เพื่อหาทางลดการเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ หรือไม่ก็ให้ผู้ประกอบการปรับลดค่าใช้จ่ายบางส่วน เช่น ค่าอาหารที่อาจต้องยกเลิกการให้บริการไป ซึ่งการยกเลิกดังกล่าวจะช่วยลดต้นทุนลงได้เฉลี่ยถึง 40 บาทต่อเที่ยวต่อคน
ซึ่งเรื่องดังกล่าวรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมรับปากจะนำข้อเรียกร้องกลับไปพิจารณาและหาแนวทางช่วยเหลือโดยเร็ว
สำหรับข้อเรียกร้องของผู้ประกอบการรถโดยสาร ทั้งรถร่วม บขส.และรถร่วม ขสมก. ที่ต้องการปรับขึ้นค่าโดยสารอีก 3 สตางค์ต่อกิโลเมตร สำหรับรถร่วมฯ บขส.และ 1 บาท สำหรับรถร่วมฯ ขสมก.นั้น นายทรงศักดิ์ กล่าวว่า จะต้องให้ผู้ประกอบการทำรายงานต้นทุนที่แท้จริงและรวบรวมจำนวนรถโดยสารที่ใช้ก๊าซเอ็นจีวีทั้งหมด เพื่อพิจารณาหาแนวทางช่วยเหลือด้านอื่นก่อนที่จะตัดสินใจว่าสมควรจะปรับขึ้นค่าโดยสารให้หรือไม่ ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าต้องใช้เวลาประมาณ 30 วัน อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าจะไม่มีการปรับขึ้นค่าโดยสารในช่วงเดือนเมษายนนี้อย่างแน่นอน
ส่วนปัญหารถโดยสารสายยาวที่มีปัญหาต้นทุนน้ำมันสูงขึ้นและจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า จะมีการหารือกับผู้ประกอบการเร็วๆ นี้ เพื่อหาทางลดการเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ หรือไม่ก็ให้ผู้ประกอบการปรับลดค่าใช้จ่ายบางส่วน เช่น ค่าอาหารที่อาจต้องยกเลิกการให้บริการไป ซึ่งการยกเลิกดังกล่าวจะช่วยลดต้นทุนลงได้เฉลี่ยถึง 40 บาทต่อเที่ยวต่อคน