นายวิฑูรย์ แนวพานิช ประธานกรรมการดำเนินการ สหกรณ์แท็กซี่สยาม จำกัด เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้ (21 เม.ย.) แกนนำสหกรณ์จะเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในเวลา 14.00 น. เพื่อยื่นข้อเรียกร้องให้กระทรวงคมนาคม อนุมัติปรับขึ้นค่าโดยสาร ร้อยละ 10-15 ตามผลศึกษา ที่กรมการขนส่งทางบกร่วมกับตัวแทนผู้ประกอบการ ศึกษาไว้ โดยการปรับค่าโดยสารจะไม่ปรับขึ้นค่ามิเตอร์เริ่มต้น โดยคงราคาที่ 35 บาท แต่จะไปปรับเพิ่มขึ้นในส่วนของอัตราเฉลี่ยตามระยะทาง
สำหรับปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการรถแท็กซี่ขอปรับราคา แม้ว่าปัจจุบันรถแท็กซี่ส่วนใหญ่จะใช้แก๊สแอลพีจีเป็นเชื้อเพลิง แต่การกำหนดอัตราค่าโดยสารรถแท็กซี่ในอดีต ที่ราคามิเตอร์เริ่มต้น 35 บาท ได้ทำมาเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี ซึ่งการคำนวณค่ามิเตอร์ ก็ใช้ฐานราคาน้ำมันเป็นตัววัด ซึ่งในสมัยนั้น เมื่อสหกรณ์หารถมาทำแท็กซี่ ก็ซื้อเพียงคันละ 400,000-500,000 บาท โดยสหกรณ์นำรถมาให้คนขับเช่า ก็เก็บค่าเช่าวันละ 400 บาท แต่ปัจจุบัน สหกรณ์ต้องซื้อรถมาทำแท็กซี่คันละ 7 แสนบาท และนำมาให้คนขับเช่าวันละ 500-550 บาท ไม่รวมค่าครองชีพอื่น ๆ ที่สูงขึ้นมาก จึงเป็นความจำเป็นที่ผู้ประกอบการต้องขอปรับค่าโดยสารตามมา
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการแท็กซี่ ไม่ได้กดดันให้รัฐอนุมัติให้ปรับราคาค่าโดยสารเพียงอย่างเดียว และปัจจัยเรื่องปรับค่าโดยสาร สามารถพิจารณาเป็นทางออกสุดท้ายได้ หากภาครัฐมีมาตรการอื่น ๆ ออกมาช่วยเหลือผู้ประกอบการก่อน
นอกจากนี้ ทางสหกรณ์เห็นด้วยว่า หากภาครัฐ อนุมัติให้ผู้ประกอบการรถแท็กซี่ปรับราคา ก็จะช่วยลดปัญหา การปฏิเสธไม่รับผู้โดยสาร การขอไม่วิ่งตามมิเตอร์ และการดัดแปลงมิเตอร์ได้มาก เพราะหากการจัดเก็บค่าโดยสารสะท้อนต้นทุนแท้จริง ก็คงไม่มีใครอยากทำเรื่องดังกล่าว
สำหรับปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการรถแท็กซี่ขอปรับราคา แม้ว่าปัจจุบันรถแท็กซี่ส่วนใหญ่จะใช้แก๊สแอลพีจีเป็นเชื้อเพลิง แต่การกำหนดอัตราค่าโดยสารรถแท็กซี่ในอดีต ที่ราคามิเตอร์เริ่มต้น 35 บาท ได้ทำมาเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี ซึ่งการคำนวณค่ามิเตอร์ ก็ใช้ฐานราคาน้ำมันเป็นตัววัด ซึ่งในสมัยนั้น เมื่อสหกรณ์หารถมาทำแท็กซี่ ก็ซื้อเพียงคันละ 400,000-500,000 บาท โดยสหกรณ์นำรถมาให้คนขับเช่า ก็เก็บค่าเช่าวันละ 400 บาท แต่ปัจจุบัน สหกรณ์ต้องซื้อรถมาทำแท็กซี่คันละ 7 แสนบาท และนำมาให้คนขับเช่าวันละ 500-550 บาท ไม่รวมค่าครองชีพอื่น ๆ ที่สูงขึ้นมาก จึงเป็นความจำเป็นที่ผู้ประกอบการต้องขอปรับค่าโดยสารตามมา
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการแท็กซี่ ไม่ได้กดดันให้รัฐอนุมัติให้ปรับราคาค่าโดยสารเพียงอย่างเดียว และปัจจัยเรื่องปรับค่าโดยสาร สามารถพิจารณาเป็นทางออกสุดท้ายได้ หากภาครัฐมีมาตรการอื่น ๆ ออกมาช่วยเหลือผู้ประกอบการก่อน
นอกจากนี้ ทางสหกรณ์เห็นด้วยว่า หากภาครัฐ อนุมัติให้ผู้ประกอบการรถแท็กซี่ปรับราคา ก็จะช่วยลดปัญหา การปฏิเสธไม่รับผู้โดยสาร การขอไม่วิ่งตามมิเตอร์ และการดัดแปลงมิเตอร์ได้มาก เพราะหากการจัดเก็บค่าโดยสารสะท้อนต้นทุนแท้จริง ก็คงไม่มีใครอยากทำเรื่องดังกล่าว