พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันท์ โฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวถึงกรณีการตรวจสอบเอกสารสิทธิที่ดินเนื้อที่กว่า 2,000 ไร่ ของบริษัท ศรีสุบรรณฟาร์ม จำกัด ว่า เมื่อประมาณปี 2548 นายวิลาส ไกรวงศ์ กำนันตำบลน้ำหัก อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี ได้ถวายฎีกาขอพระราชทานความเป็นธรรมเกี่ยวกับการออกเอกสารสิทธิทับที่สาธารณะบริเวณ ต.น้ำหัก อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี และได้เข้าร้องทุกข์กับดีเอสไอ ขณะนั้น พล.ต.อ.สมบัติ อมรวิวัฒน์ เป็นอธิบดีดีเอสไอ จึงได้มีคำสั่งให้นายสรรเสริญ ปาลวัฒน์วิไชย ผู้บัญชาการสำนักคดีคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ตรวจสอบข้อเท็จจริง เบื้องต้นพบว่า บริษัท ทักษิณปาล์ม จำกัด ได้กว้านซื้อที่ดินใน อ.คีรีรัฐนิคม โดยใช้ชื่อคนงานในบริษัทฯ ซึ่งไม่ใช่เป็นผู้ครอบครองที่ดินจริง มาแสดงตนเป็นผู้ครอบครองที่ดิน และนำมาขอเอกสารสิทธิ น.ส.3 ก. ต่อมาในปี 2529 บริษัท ทักษิณปาล์ม ได้โอนขายที่ดินให้บริษัทไทยมาเลเซียนเกษตร จำกัด ท้ายที่สุด ที่ดินถูกบังคับจำนองโดยกรมบังคับคดีนำมาขายทอดตลาด โดยบริษัท ศรีสุบรรณฟาร์ม จำกัด ได้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี และฟ้องขับไล่ชาวบ้าน ซึ่งอาศัยอยู่ในที่ดินผืนดังกล่าว
พ.ต.อ.ณรัชต์ กล่าวอีกว่า ดีเอสไอได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงมาโดยตลอด แม้ยังไม่ได้รับเป็นคดีพิเศษ แต่พบว่าการออกเอกสาร นส.3 ก. คลาดเคลื่อน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดีเอสไอจึงได้มีหนังสือไปยังกรมที่ดินให้เพิกถอนเอกสารสิทธิที่ดิน 45 แปลง รวมเป็นเนื้อที่ดินประมาณ 700 ไร่เศษ ส่วนที่ดินอีก 81 แปลง เนื้อที่กว่า 2,000 ไร่ อยู่ระหว่างการตรวจสอบของดีเอสไอ สำหรับขั้นตอนการเพิกถอนที่ดิน กรมที่ดินอยู่ในขั้นตอนการรอฟังคำพิพากษาของศาลในคดีการฟ้องขับไล่ เนื่องจากในการพิจารณามีการพิสูจน์แนวเขตว่ามีการออกเอกสารสิทธิทับที่สาธารณะหรือไม่
พ.ต.อ.ณรัชต์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้านี้ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รักษาการอธิบดีดีเอสไอ ออกมาระบุว่า ดีเอสไอไม่ได้รับทำคดีกรณีบริษัท ศรีสุบรรณฟาร์ม เนื่องจากการตรวจสอบในครั้งแรกไม่พบชื่อบริษัท ศรีสุบรรณฯ แต่เมื่อตรวจสอบซ้ำอีกครั้งพบว่า ผู้ร้องได้เข้าร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับบริษัท ทักษิณปาล์ม ซึ่งเป็นผู้เข้ามากว้านซื้อที่ดิน และดำเนินการขอออกเอกสารสิทธิ ต่อมาจึงมีการขายทอดตลาดมาให้บริษัท ศรีสุบรรณฟาร์ม
พ.ต.อ.ณรัชต์ กล่าวอีกว่า ดีเอสไอได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงมาโดยตลอด แม้ยังไม่ได้รับเป็นคดีพิเศษ แต่พบว่าการออกเอกสาร นส.3 ก. คลาดเคลื่อน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดีเอสไอจึงได้มีหนังสือไปยังกรมที่ดินให้เพิกถอนเอกสารสิทธิที่ดิน 45 แปลง รวมเป็นเนื้อที่ดินประมาณ 700 ไร่เศษ ส่วนที่ดินอีก 81 แปลง เนื้อที่กว่า 2,000 ไร่ อยู่ระหว่างการตรวจสอบของดีเอสไอ สำหรับขั้นตอนการเพิกถอนที่ดิน กรมที่ดินอยู่ในขั้นตอนการรอฟังคำพิพากษาของศาลในคดีการฟ้องขับไล่ เนื่องจากในการพิจารณามีการพิสูจน์แนวเขตว่ามีการออกเอกสารสิทธิทับที่สาธารณะหรือไม่
พ.ต.อ.ณรัชต์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้านี้ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รักษาการอธิบดีดีเอสไอ ออกมาระบุว่า ดีเอสไอไม่ได้รับทำคดีกรณีบริษัท ศรีสุบรรณฟาร์ม เนื่องจากการตรวจสอบในครั้งแรกไม่พบชื่อบริษัท ศรีสุบรรณฯ แต่เมื่อตรวจสอบซ้ำอีกครั้งพบว่า ผู้ร้องได้เข้าร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับบริษัท ทักษิณปาล์ม ซึ่งเป็นผู้เข้ามากว้านซื้อที่ดิน และดำเนินการขอออกเอกสารสิทธิ ต่อมาจึงมีการขายทอดตลาดมาให้บริษัท ศรีสุบรรณฟาร์ม