พล.ท.(หญิง) พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรื่องการชะลอการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ว่า มีข่าวดีล่าสุด ราคาแอลพีจีตลาดโลกได้ลดลง 870 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เหลือ 802 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ทำให้ราคาขายปลีกในประเทศไทยเดือนมีนาคมลดลงได้ 8 สตางค์ต่อกิโลกรัม เหลือ 18.13 บาทต่อกิโลกรัม อย่างไรก็ตาม หากมีการปรับสูตรตามแผนเดิมที่เดือนเมษายนนี้ จะอิงราคาในประเทศลดลงจากร้อยละ 95 เป็นร้อยละ 90 และอิงตลาดโลกเพิ่มจากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 10 ราคาอาจจะเพิ่มอีก 1 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ประชาชนยังไม่มีทางเลือกอื่น ๆ คือ ยังไม่สามารถปรับเลิกเครื่องยนต์แอลพีจีสำหรับรถยนต์เป็นเอ็นจีวีได้ เพราะสถานีบริการเอ็นจีวียังไม่พร้อม ดังนั้น ที่ประชุมจึงเห็นร่วมกันจะตรึงราคาแอลพีจีที่ 18.13 บาทต่อกิโลกรัม ไปจนถึงเดือนกรกฎาคม 2551 เพื่อรอให้ ปตท.มีความพร้อมในการเพิ่มสถานีบริการเอ็นจีวี ที่คาดว่าเดือนกรกฎาคมนี้ จะเพิ่มปริมาณจำหน่ายเอ็นจีวีได้จาก 1,300 ตันต่อวัน เป็น 2,100 ตันต่อวัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า หลังจากเดือนกรกฎาคมนี้ จะมีการแบ่งราคาก๊าซหุงต้มออกเป็น 2 ตลาด คือ 1. ตลาดครัวเรือน และ 2. ตลาดภาคขนส่ง/โรงงานอุตสาหกรรม โดยจะมีการปรับราคาในส่วนหลังให้สูงกว่าตลาดครัวเรือน เพื่อนำเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาชดเชยภาคครัวเรือน เพราะถือว่าภาคขนส่งและภาคโรงงานมีทางเลือกใช้พลังงานอื่น ๆ แล้วโดยเฉพาะเอ็นจีวี
อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้พบว่า ความต้องการใช้แอลพีจีสูงขึ้นทุกภาคส่วนทั้งเรื่องการลักลอบส่งออก เพราะราคาของไทยถูกกว่าราคาตลาดโลก และภาคขนส่ง-อุตสาหกรรม ที่เปลี่ยนเชื้อเพลิงมาใช้แอลพีจีมากขึ้น ทำให้คาดว่าตั้งแต่เดือนมีนาคม - มิถุนายน 2551 ประเทศไทยต้องนำเข้าแอลพีจีถึง 30,000 ตันต่อเดือน เพราะคาดว่าจะมีความต้องการใช้ประมาณ 370,000 ตันต่อเดือน แต่ผลิตได้เพียง 340,000 ตันต่อเดือน หรือต้องมีมูลค่านำเข้า 450 ล้านบาท/เดือน รวมมูลค่า 1,800 ล้านบาท ซึ่ง ปตท.พร้อมรับภาระในการนำเข้าแล้ว โดยกระทรวงพลังงานจะมีการนำเงินกองทุนน้ำมันฯ ไปจ่ายคืนภายหลัง และนอกจาก ปตท.แล้ว หากรายอื่น ๆ ต้องการนำเข้าหรือจะช่วยปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์แอลพีจีเป็นเอ็นจีวีก็จะได้เงินชดเชยเช่นกัน ซึ่งเงินชดเชยจะได้ภายหลังเดือนกรกฎาคมนี้ไปแล้ว ที่จะได้จากเงินภาคขนส่ง/อุตสาหกรรมที่ใช้แอลพีจีในอนาคต หลังจากที่ประเทศไทยมีแอลพีจีเหลือก็จะมีการเก็บเงินจากการส่งออกแอลพีจีมาช่วยชดเชยด้วย นอกจากนี้กระทรวงพลังงานยังได้จัดตั้งคณะทำงานประสานงานเพื่อป้องกันการลักลอบส่งออกแอลพีจีด้วย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า หลังจากเดือนกรกฎาคมนี้ จะมีการแบ่งราคาก๊าซหุงต้มออกเป็น 2 ตลาด คือ 1. ตลาดครัวเรือน และ 2. ตลาดภาคขนส่ง/โรงงานอุตสาหกรรม โดยจะมีการปรับราคาในส่วนหลังให้สูงกว่าตลาดครัวเรือน เพื่อนำเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาชดเชยภาคครัวเรือน เพราะถือว่าภาคขนส่งและภาคโรงงานมีทางเลือกใช้พลังงานอื่น ๆ แล้วโดยเฉพาะเอ็นจีวี
อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้พบว่า ความต้องการใช้แอลพีจีสูงขึ้นทุกภาคส่วนทั้งเรื่องการลักลอบส่งออก เพราะราคาของไทยถูกกว่าราคาตลาดโลก และภาคขนส่ง-อุตสาหกรรม ที่เปลี่ยนเชื้อเพลิงมาใช้แอลพีจีมากขึ้น ทำให้คาดว่าตั้งแต่เดือนมีนาคม - มิถุนายน 2551 ประเทศไทยต้องนำเข้าแอลพีจีถึง 30,000 ตันต่อเดือน เพราะคาดว่าจะมีความต้องการใช้ประมาณ 370,000 ตันต่อเดือน แต่ผลิตได้เพียง 340,000 ตันต่อเดือน หรือต้องมีมูลค่านำเข้า 450 ล้านบาท/เดือน รวมมูลค่า 1,800 ล้านบาท ซึ่ง ปตท.พร้อมรับภาระในการนำเข้าแล้ว โดยกระทรวงพลังงานจะมีการนำเงินกองทุนน้ำมันฯ ไปจ่ายคืนภายหลัง และนอกจาก ปตท.แล้ว หากรายอื่น ๆ ต้องการนำเข้าหรือจะช่วยปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์แอลพีจีเป็นเอ็นจีวีก็จะได้เงินชดเชยเช่นกัน ซึ่งเงินชดเชยจะได้ภายหลังเดือนกรกฎาคมนี้ไปแล้ว ที่จะได้จากเงินภาคขนส่ง/อุตสาหกรรมที่ใช้แอลพีจีในอนาคต หลังจากที่ประเทศไทยมีแอลพีจีเหลือก็จะมีการเก็บเงินจากการส่งออกแอลพีจีมาช่วยชดเชยด้วย นอกจากนี้กระทรวงพลังงานยังได้จัดตั้งคณะทำงานประสานงานเพื่อป้องกันการลักลอบส่งออกแอลพีจีด้วย