นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ ได้ศึกษาพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของชาวอิสราเอล 500 คน ที่ป่วยเป็นมะเร็งต่อมน้ำลาย แล้วนำมาเปรียบเทียบกับการใช้โทรศัพท์มือถือของชาวอิสราเอล อีก 1,300 คน ที่ร่างกายปกติ พบว่า พวกที่เอาโทรศัพท์มือถือแนบกับศีรษะข้างใดข้างหนึ่งนานหลายชั่วโมงต่อวันในระหว่างการใช้งาน จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 ที่จะป่วยเป็นมะเร็งต่อมน้ำลาย
ผลการศึกษายังพบว่า คลื่นความถี่วิทยุที่ออกมาจากโทรศัพท์มือถือ เป็นสาเหตุหลักในการทำให้เกิดมะเร็งต่อมน้ำลาย และการใช้โทรศัพท์มือถือติดต่อกันนาน ๆ ในพื้นที่แถบชนบท ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งต่อมน้ำลายมากกว่าการใช้งานในตัวเมือง ซึ่งนักวิจัยคาดว่าอาจเป็นเพราะชนบทมีสัญญาณการรับส่งไม่ค่อยชัดเจน จึงทำให้โทรศัพท์มือถือต้องปล่อยคลื่นความถี่วิทยุออกมามากกว่าปกติ ผู้ใช้งานจึงจะได้ยินเสียงชัด คลื่นความถี่วิทยุที่ปล่อยออกมามาก ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งต่อมน้ำลายให้มีมากขึ้นตามไปด้วย
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยก็ยังต้องศึกษาเรื่องนี้ต่อไป เพราะผลการวิจัยที่ผ่านมาล้วนพบว่า การใช้โทรศัพท์มือถือไม่ได้เป็นต้นเหตุของการก่อมะเร็งแต่อย่างใด ส่วนมะเร็งต่อมน้ำลายนั้นก็เป็นมะเร็งที่พบได้ยาก อย่างที่ประเทศอังกฤษ ในแต่ละปีจะพบผู้ป่วยเป็นมะเร็ง 230,000 คน แต่มีอยู่ 550 คนเท่านั้น ที่ป่วยเป็นมะเร็งต่อมน้ำลาย
ผลการศึกษายังพบว่า คลื่นความถี่วิทยุที่ออกมาจากโทรศัพท์มือถือ เป็นสาเหตุหลักในการทำให้เกิดมะเร็งต่อมน้ำลาย และการใช้โทรศัพท์มือถือติดต่อกันนาน ๆ ในพื้นที่แถบชนบท ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งต่อมน้ำลายมากกว่าการใช้งานในตัวเมือง ซึ่งนักวิจัยคาดว่าอาจเป็นเพราะชนบทมีสัญญาณการรับส่งไม่ค่อยชัดเจน จึงทำให้โทรศัพท์มือถือต้องปล่อยคลื่นความถี่วิทยุออกมามากกว่าปกติ ผู้ใช้งานจึงจะได้ยินเสียงชัด คลื่นความถี่วิทยุที่ปล่อยออกมามาก ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งต่อมน้ำลายให้มีมากขึ้นตามไปด้วย
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยก็ยังต้องศึกษาเรื่องนี้ต่อไป เพราะผลการวิจัยที่ผ่านมาล้วนพบว่า การใช้โทรศัพท์มือถือไม่ได้เป็นต้นเหตุของการก่อมะเร็งแต่อย่างใด ส่วนมะเร็งต่อมน้ำลายนั้นก็เป็นมะเร็งที่พบได้ยาก อย่างที่ประเทศอังกฤษ ในแต่ละปีจะพบผู้ป่วยเป็นมะเร็ง 230,000 คน แต่มีอยู่ 550 คนเท่านั้น ที่ป่วยเป็นมะเร็งต่อมน้ำลาย